ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยผลสำรวจ การแพร่ระบาดโควิดรอบ3 ดันยอดปริมาณการทำธุรกรรมโอนเงินและชำระเงินผ่านMobile Bankingจะขยายตัวราว 80.2 – 83.5%ต่อปีเร่งขึ้นจากปี 2563 ที่ 79.7% และคาดว่ามูลค่าการทำธรกรรมผ่าน e-Money คาดว่าจะขยายตัวประมาณ 15.5-17.7% ซึ่งสะท้อนการเติบโตเร่งขึ้นจาก 9.9% ในปี 2563 โดยน่าจะมีแรงผลักดันหลักมาจากการใช้ G-Wallet (เป๋าตัง) จากโครงการช่วยเหลือของภาครัฐ
การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นแรงหนุนสำคัญที่ทำให้การทำธุรกรรมผ่าน Mobile Banking และ e-Wallet มีการเร่งการเติบโตสูงขึ้นสะท้อนจากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่พบว่า ผู้บริโภคไทยโดยภาพรวมมีการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile banking และ e-Wallet อยู่ที่ 19 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งเพิ่มมากกว่าการใช้งานในช่วงการระบาดระลอกแรกที่มีอัตราการใช้งานอยู่ที่ 17 ครั้งต่อสัปดาห์ ขณะที่มีผู้บริโภคกว่า 53.9% มีการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น
การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นแรงหนุนสำคัญที่ทำให้การทำธุรกรรมผ่าน Mobile Banking และ e-Wallet มีการเร่งการเติบโตสูงขึ้น สะท้อนจากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่พบว่า ผู้บริโภคไทยโดยภาพรวมมีการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile banking และ e-Wallet อยู่ที่ 19 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งเพิ่มมากกว่าการใช้งานในช่วงการระบาดระลอกแรกที่มีอัตราการใช้งานอยู่ที่ 17 ครั้งต่อสัปดาห์ ขณะที่มีผู้บริโภคกว่า 53.9% มีการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น
• ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2564 คาดว่า ในปี 2564 ปริมาณการทำธุรกรรมโอนเงินและชำระเงินผ่าน Mobile Banking จะขยายตัวราวร้อยละ 80.2 – 83.5 YoY ซึ่งเร่งขึ้นจากปี 2563 ที่ร้อยละ 79.7 เช่นเดียวกับประมาณธุรกรรมผ่าน e-Money ที่คาดว่าจะเติบโตราวร้อยละ 15.8 – 18.0 ซึ่งสูงกว่าปี 2563 ที่ร้อยละ 8.7 ด้านมูลค่าการทำธุรกรรมผ่าน Mobile Banking คาดว่าจะขยายตัวราวร้อยละ 36.5 – 38.0 YoY ใกล้เคียงกับปี 2563 ขณะที่ มูลค่าการทำธรกรรมผ่าน e-Money คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 15.5-17.7 ซึ่งสะท้อนการเติบโตเร่งขึ้นจากร้อยละ 9.9 ในปี 2563 โดยน่าจะมีแรงผลักดันหลักมาจากการใช้ G-Wallet (เป๋าตัง) จากโครงการช่วยเหลือของภาครัฐที่น่าจะมีอย่างต่อเนื่องในปี 2564 อีกทั้ง ยังมีกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีความน่าเชื่อถือและมีศักยภาพที่เข้ามาทำการตลาดมากขึ้นด้วย