ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูล งบประมาณ ปี 2565 จาก ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 ซึ่งสำนักงบประมาณ เผยแพร่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ ของสำนักงบประมาณ https://www.bb.go.th
ซึ่งท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด19 ที่กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยพบว่าส่งผลกระทบไปถึงรายได้ของแต่ละกระทรวง ซึ่งสำนักงบประมาณมีการ "ประมาณการรายได้" ของกระทรวงทั้งหมด 20 กระทรวง ระบุในร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ปี 2565 ที่มีทั้งกระทรวงที่ได้มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีรายได้ลดลงเมื่อเทียบกับงบประมาณ ปี 2564 ดังนี้
กระทรวงที่ประมาณการรายได้เพิ่มขึ้น (เรียงตามจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น) พบข้อมูล ดังนี้
กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงแรงงาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสร์ วิจัย และนวัตกรรม
กระทรวงกลาโหม
สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงที่ประมาณการรายได้ลดลง
กระทรวงการคลัง
กระทรวงพลังงาน
กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงวัฒนธรรม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโครงสร้างงบประมาณปี 2565 มีสาระสำคัญสรุุปดังนี้้
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
รายจ่ายประจำ
รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง
รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย
รายจ่ายลงทุน
รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้
สำหรับนโยบายงบประมาณ ปี 2565 เอกสารร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2565 ระบุว่า การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินภารกิจเพื่่อขับเคลื่่อนการพัฒนาประเทศตามยุุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่่นคงแห่งชาติ แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิิด - 19 พ.ศ. 2564 – 2565
แผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรููปประเทศ (ฉบับปรับปรุุง) นโยบายสำคัญของรัฐบาล ให้ประสบผลสำเร็จ และเกิดผลอย่างเป็นรููปธรรม และสนับสนุุนให้เศรษฐกิจของประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่่อง โดยได้กำหนดนโยบายและแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดัังนี้้
1. ดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุุล ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังและความจำเป็นของการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เกิดการขยายตวัอย่างมปีระสิทธิภาพ
2. ให้ความสำคัญกับการจัดทำงบประมาณแบบบููรณาการในทุุกมิติ ทั้้งมิติกระทรวง/หน่วยงาน มิติบููรณาการเชิงยุุทธศาสตร์ และมิติบููรณาการเชิงพื้้นที่่ให้มีความเชื่่อมโยงสอดคล้องสนับสนุุนซึ่่งกันและกันอย่่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และไม่ซ้ำซ้อน เพื่่อให้การขับเคลื่่อนการดำเนินงานของรัฐบาลเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรููปธรรม ส่่งผลให้การพัฒนาประเทศบรรลุุเป้าหมายตามที่่กำหนดไว้
3. ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่่น เพื่อเพิ่มศักยภาพการถ่ายโอนภารกิจการจัดบริการสาธารณะระดับท้องถิ่นแก่ประชาชนให้มีคุุณภาพชีวิตที่่ดียิ่่งขึ้้น ลดความเหลื่่อมล้ำทางการคลังระหว่่างท้องถิ่่น รวมทั้้งการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และประสิทธิผลการใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่่น ซึ่่งสอดคล้องกับหลักการตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่่น พ.ศ. 2542 และที่่แก้ไขเพิ่่มเติิม ที่่จะต้องให้มีการกระจายอำนาจเพิ่่มขึ้น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรููปรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่่น
4. เพิ่่มประสิทธิภาพการจัดทำงบประมาณให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน ได้แก่ เงินงบประมาณของภาครัฐ เงินกู้การร่วมลงทุุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership) การลงทุุนของรัฐวิสาหกิจ การลงทุุนโดยใช้้เงินจากกองทุุน และการลงทุุนจากต่างประเทศ รวมทั้้งให้หน่่วยรับงบประมาณที่่มีเงินนอกงบประมาณหรือเงินสะสมคงเหลือ พิจารณานำเงินดังกล่าวมาใช้ดำเนินภารกิจของหน่วยงานเป็นลำดับแรก ควบคู่กับการพิจารณาทบทวนเพื่่อชะลอปรับลด หรือยกเลิกการดำเนินโครงการที่่มีความสำคัญในระดับต่ำ หรือหมดความจำเป็น เพื่่อนำงบประมาณดังกล่าวมาสนับสนุุนนโยบายสำคัญ หรือโครงการที่่มีความสำคัญเร่งด่วนมีความพร้อมในการดำเนินการสููง
เพื่่อแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ ลดความเหลื่่อมล้ำทางสังคม และกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการขยายตัว รวมทั้้งให้ความสำคัญกับการนำผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และ 2564 มาประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับศักยภาพการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ
5. ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและความต้องการของประชาชน ทั้งในระดับชาติ ระดับพื้นที่ ภาค กลุ่มจังหวัด จังหวัด และท้องถิ่น รวมทั้งภารกิจ ที่ต้องดำเนินการในพื้นที่ให้มีการกระจายอย่างเป็นธรรม มีความคุ้มค่า ไม่ซ้ำซ้อน โดยยึดหลักความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเกิดผลสัมฤทธิ์ของประเทศ
6. ให้ความสำคัญกับสวัสดิการที่่จำเป็นสำหรับกลุ่มเปราะบางทางสังคม เพื่่อให้้มีรายได้เพีียงพอในการดำรงชีวิต และลดความเสี่่ยงจากการได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้้อไวรัสโคโรนา 2019
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้กำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,100,000 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 17.87 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพื่่อให้หน่วยรับงบประมาณมีงบประมาณรายจ่ายเพียงพอในการขับเคลื่่อนนโยบายและยุุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยมีประมาณการรายได้สุทธิ จำนวน 2,400,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 13.84 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และกำหนดวงเงินกู้เพื่่อชดเชยการขาดดุุลงบประมาณ จำนวน 700,000 ล้านบาท คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 4.04 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่่งการขาดดุุลงบประมาณจำนวนดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่่ไม่ส่งผลกระทบต่อวินัยและฐานะการคลังของประเทศในระยะยาว
ที่มา สำนักงบประมาณ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :