ธปท. เร่งรัดแบงก์ช่วยลูกหนี้เชิงรุก -หลังสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจถึงมือเอสเอ็มอี1.6หมื่นล้าน 6,697ราย

24 พ.ค. 2564 | 08:37 น.

ธปท. เร่งรัดแบงก์ช่วยลูกหนี้เชิงรุก -หลังสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจถึงมือเอสเอ็มอี1.6หมื่นล้าน 6,697ราย แนะสื่อสารสาขาเพื่อให้ข้อมูลเชิงรุกและแนวทางช่วยลูกหนี้ พร้อมมีProduct Programเป็นรูปธรรม

ธปท. เร่งรัดแบงก์ช่วยลูกหนี้เชิงรุก -หลังสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจถึงมือเอสเอ็มอี1.6หมื่นล้าน 6,697ราย แนะสื่อสารสาขาเพื่อให้ข้อมูลเชิงรุกและแนวทางช่วยลูกหนี้ พร้อมมีProduct Programเป็นรูปธรรม

หลังจากที่มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อฟื้นฟู (มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูฯ) วงเงิน 2.5แสนล้านบาท และโครงการพักทรัพย์พักหนี้  วงเงิน 1แสนล้านบาทโดยได้ดำเนินการผ่านมาแล้ว 3 สัปดาห์ นับตั้งแต่ 26 เมษายน 2564นั้น ล่าสุดคืบหน้าสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจแล้ว 16,060ล้านบาทจำนวน 6,697ราย และพักทรัพย์พักหนี้ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างเจรจา

 

ธปท. เร่งรัดแบงก์ช่วยลูกหนี้เชิงรุก -หลังสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจถึงมือเอสเอ็มอี1.6หมื่นล้าน 6,697ราย

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)แถลงความคืบหน้ามาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูภาคธุรกิจ โดยระบุว่า ในวันนี้(24พ.ค.) ธปท. และสมาคมธนาคารไทย ได้หารือร่วมกันเพื่อเร่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ให้เร็วขึ้นและกระจายเป็นวงกว้างมากขึ้น หลังจากที่มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อฟื้นฟู (มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูฯ) และโครงการพักทรัพย์พักหนี้ ได้ดำเนินการผ่านมาแล้ว 3 สัปดาห์ นับตั้งแต่ 26 เมษายน 2564

ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ยอดการให้ความช่วยเหลือจากมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูฯ มีทั้งสิ้น 11,542 ล้านบาท ครอบคลุมลูกหนี้ 5,465 ราย คิดเป็นยอดสินเชื่อเฉลี่ย 2.1 ล้านบาทต่อราย โดย 63% กระจายลงไปยัง SMEs ขนาดเล็ก ขณะที่โครงการพักทรัพย์พักหนี้ มีมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับโอน 753.12 ล้านบาท จำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ 2 ราย


ธปท. เร่งรัดแบงก์ช่วยลูกหนี้เชิงรุก -หลังสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจถึงมือเอสเอ็มอี1.6หมื่นล้าน 6,697ราย

“ในวันนี้มีการอนุมัติเพิ่มเติมเข้ามาอีกจำนวน 4,518ล้านบาทจำนวนลูกหนี้ 1,232ราย และพักทรัพย์พักหนี้อีก 2ราย ซึ่งจากการสอบถามสมาคมโรงแรมมีลูกหนี้จำนวนมากสนใจและอยู่ระหว่างการเจรจากับสถาบันการเงิน และยังมีลูกหนี้อีกมากที่ยังได้รับความเดือดร้อน ซึ่งธปท.ได้หารือกับสมาคมธนาคารไทยเพื่อหาแนวทางช่วยลูกหนี้ที่เดือดร้อนได้อย่างรวดเร็ว”

 

ในช่วงที่ผ่านมา การดำเนินมาตรการอาจยังไม่ทันต่อความคาดหวังของผู้ประกอบธุรกิจ ส่วนหนึ่งเกิดจากแนวโน้มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังซบเซา เนื่องจากมาตรการด้านสาธารณสุขที่ยังเข้มงวดเพราะการแพร่ระบาดระลอก 3 ทำให้ความต้องการสำหรับสินเชื่อฟื้นฟูอาจยังไม่มากนัก ประกอบกับโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ เป็นโครงการที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ อีกทั้งยังคงมีรายละเอียดและเงื่อนไขเฉพาะกรณีที่สถาบันการเงินและลูกหนี้จะต้องเจรจาหารือเพิ่มเติม ทำให้การให้ความช่วยเหลือในช่วงต้นจึงอาจจะยังไม่สูงนัก

อย่างไรก็ดี ยังมีลูกหนี้ SMEs อีกจำนวนหนึ่งที่ได้รับความเดือดร้อนและยังไม่ได้รับความช่วยเหลือเพื่อนำสินเชื่อฟื้นฟูไปเป็นสภาพคล่องเยียวยากิจการ ธปท. จึงขอให้สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือเชิงรุกมากขึ้น เพื่อให้การช่วยเหลือถูกกลุ่มเป้าหมายทั่วถึงและทันเวลาสำหรับประคับประคองกิจการที่ถูกซ้ำเติมในการระบาดระลอก 3 จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย แล้วจึงค่อยทยอยปรับสู่การให้สินเชื่อที่มีขนาดวงเงินต่อรายที่เพิ่มขึ้นและระยะเวลาที่ยาวขึ้น

ธปท. และสมาคมธนาคารไทย ตระหนักถึงปัญหาและความเร่งด่วนที่ต้องช่วยเหลือลูกหนี้ให้ได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมมากที่สุด โดยเฉพาะลูกหนี้ SMEs ขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่ยังพอมีศักยภาพและต้องการสภาพคล่องไปประคับประคองกิจการที่ได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากการระบาดระลอกนี้  ในการนี้ ธปท. ได้ให้สถาบันการเงินเร่งรัดกระบวนการพิจารณา และหาข้อสรุปกับลูกหนี้โดยเร็ว รวมถึงสื่อสารทำความเข้าใจกับพนักงานสาขาในการให้ข้อมูลกับผู้ประกอบการ เพื่อให้ความช่วยเหลือได้อย่าง “รวดเร็ว เพียงพอ และตรงจุด” 

ธปท. เร่งรัดแบงก์ช่วยลูกหนี้เชิงรุก -หลังสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจถึงมือเอสเอ็มอี1.6หมื่นล้าน 6,697ราย