ธปท.อนุมัติสินเชื่อฟื้นฟูแตะแสนล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการกว่า 32,746ราย

15 ก.ย. 2564 | 08:11 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ก.ย. 2564 | 15:27 น.

ธปท.อนุมัติสินเชื่อฟื้นฟูแตะ 100,458ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบธุรกิจกว่า 32,746ราย กระจาย 7กลุ่ม “พาณิชย์ อุตสาหกรรมการผลิต ภาคบริการ ก่อสร้าง สาธารณูปโภค เกษตรและการป่าไม้ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์"

คืบหน้าสินเชื่อฟื้นฟู ธปท.อนุมัติแล้ว  100,458ล้านบาทเมื่อวันที่ 6ก.ย.ที่ผ่านมา  ช่วยผู้ประกอบธุรกิจกว่า 32,746ราย  กระจาย 7กลุ่ม  ได้แก่  ธุรกิจการพาณิชย์ 47,800ล้านบาท  อุตสาหกรรมการผลิต 23,261ล้านบาท ภาคบริการ  11,077ล้านบาท ก่อสร้าง 9,634ล้านบาท สาธารณูปโภค 3,680ล้านบาท เกษตรและการป่าไม้ 2,155ล้านบาท และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ 2,127ล้านบาท

 

หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เปิดให้สถาบันการเงินยื่นคำขอสินเชื่อฟื้นฟู เมื่อ 26เมษายน 2564ตามที่ พระราชกำหนด(พ.ร.ก.)การให้ความช่วยเหลือมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ซึ่งครอบคลุมถึงลูกหนี้รายใหม่   ไมโคร  วงเงินสินเชื่อเดิมไม่เกิน 5ล้านบาท, ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีวงเงินสินเชื่อเดิม 5-50ล้านบาท และสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่ วงเงินสินเชื่อเดิม 50-500ล้านบาท 

 

ธปท.อนุมัติสินเชื่อฟื้นฟูแตะแสนล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการกว่า 32,746ราย

โครงการสินเชื่อฟื้นฟูของธปท.เมื่อวันที่ 6กันยายน2564มียอดอนุมัติแล้ว  100,458ล้านบาทจำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ 32,746รายวงเงินเฉลี่ย 3.1ล้านบาทต่อราย  สำหรับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัตินั้น แบ่งตามวงเงินสินเชื่อเดิมเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีวงเงิน46,464ล้านบาทคิดเป็น 46.3% ลูกหนี้ที่ได้รับอนุมัติ 14,562รายรายคิดเป็นสัดส่วน 44.5%

 

รองลงมา เป็นธุรกิจคอร์ปอเรตหรือรายใหญ่ จำนวนเงิน 40,311ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 40.1% ลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 2,625รายประมาณ 8.0%   สำหรับลูกหนี้ไมโครได้รับสินเชื่อจำนวน 8,541ล้านบาท คิดเป็น 8.5%ลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 13,636รายมีสัดส่วน41.6%  และลูกหนี้ใหม่5,143ล้านบาทสัดส่วน 1.0%จำนวน 1,923รายสัดส่วน 5.9%

เมื่อแยกตามประเภทของธุรกิจพบว่า  ธุรกิจพาณิชย์ได้รับอนุมัติสินเชื่อ 47,800ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 47.6% จำนวน 17,185รายสัดส่วน 52.5%    รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมการผลิต วงเงิน 23,261ล้านบาท สัดส่วน23.2%จำนวน 5,075รายสัดส่วน 15.5% ส่วนภาคบริการ ได้รับวงเงิน  11,077ล้านบาทสัดส่วน 11.0%จำนวนราย 4,866รายสัดส่วน 14.9%

สำหรับภาคก่อสร้าง วงเงิน 9,634ล้านบาทสัดส่วน 9.6% จำนวน 5,075รายสัดส่วน  15.5% ด้านสาธารณูปโภควงเงิน 3,680ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 3.7%จำนวน 1,197รายสัดส่วน 3.7%  ประเภทเกษตรและการป่าไม้ 2,155ล้านบาท จำนวน  588ราย และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ 2,127ล้านบาท จำนวน 473ราย

ธปท.อนุมัติสินเชื่อฟื้นฟูแตะแสนล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการกว่า 32,746ราย