ธปท.ย้ำต้องปรับตัวใน 3ด้าน แนะภาคธุรกิจ-ประชาชนเตรียมสำรองค่าใช้จ่ายรองรับความไม่แน่นอน พร้อมให้นำหนักด้านสิ่งแวดล้อม เปิดเผยข้อมูล รับบริบทใหม่ หวังทุกภาคส่วนออกจากวิกฤตโควิดได้ด้วยแผลเป็นที่น้อยที่สุดเพื่อให้มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งในการปรับตัวเพื่อรองรับกระแสโลกใหม่ “ดิจิทัล-ESG”
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)บรรยายพิเศษในหัวข้อ "มาตรการช่วยเหลือและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยยุคโควิด" ในงานประชุมสามัญประจำปี 2564 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.)โดยระบุว่าการปรับตัวที่จำเป็นต่อการวางรากฐานในอนาคตที่เศรษฐกิจและธุรกิจไทยจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน
สำหรับระยะข้างหน้าแม้จะมีหลายเรื่องที่เป็นกระแสใหม่ อย่างน้อย 2 เรื่องที่จะมาเร็วและแรงซึ่งทุกคนต้องเตรียมรับมือ 1. กระแสดิจิทัล ซึ่งเริ่มเห็นการใช้เทคโนโลยีต่างๆเช่น Digital footprint ในการทำธุรกิจด้วยนวัตกรรมใหม่ๆรวมถึงผู้เล่นรายใหม่ๆที่เข้ามามีบทบาทในเรื่องของดิจิตอลมากขึ้นซึ่งการเตรียมความพร้อมรองรับกระแสดิจิทัลเป็นโจทย์ของสำคัญกับทุกภาคส่วน
2.กระแสกระแส ESG โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อมพี่จะสร้างผลกระทบเร็วและแรงกว่าที่คาดไว้ไม่ใช่แค่เฉพาะเรื่องภาวะโลกร้อนที่ทำให้เกิดภัยแล้งหรือน้ำท่วม แต่จะรวมถึงผลกระทบภาคธุรกิจจากการออกนโยบายต่างๆเพื่อบรรเทาปัญหาเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนของประเทศที่พัฒนาแล้ว
เช่น กรณีที่สหภาพยุโรปออก european Green Deal ซึ่งจะมีการบังคับใช้ Carbon Border Adjustment Mechanism หรือ CBAM ซึ่งจะคล้ายกับภาษีที่จัดเก็บตามCarbon footprint ของสินค้าต่างๆ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ชัดที่สุด ถ้าเราไม่ปรับตัวเช่นสินค้าส่งออกยังมีคาร์บอนฟุตพริ้นท์มากจะได้รับผลกระทบมากเช่นกัน
ดังนั้นทั้งสองกระแสจึงเป็นตัวอย่างของสิ่งที่จะมากระทบกับทุกภาคส่วนซึ่งทุกฝ่ายต้องปรับตัวปรับรูปแบบและกระบวนการทำงานเพื่อให้สามารถรองรับกระแสดังกล่าวซึ่งนับวันจะมีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจมากขึ้น
ที่สำคัญเราจะต้องออกจากวิกฤตนี้ด้วยแผลเป็นที่น้อยที่สุดเพื่อให้มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งในการปรับตัวเพื่อรองรับกระแสโลกใหม่ได้ดีขึ้น
สำหรับภาคธุรกิจภายใต้บริบทที่ปัจจัยภายนอกมีความไม่แน่นอนสูงการวางแผนทางการเงินการบริหารความเสี่ยงการดำเนินกิจการหรือการลงทุนใหม่จะต้องให้น้ำหนักมากขึ้นกับกระแสโลกใหม่ รวมทั้งให้ความสำคัญกับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและกระแสดิจิทัลที่จะทำให้ธุรกิจต้องแข่งขันได้มากขึ้น
ในส่วนของภาคประชาชนต้องเตรียมรับความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เร่งวางแผนทางการเงิน เตรียมเงินสำรองสำหรับการใช้จ่ายยามฉุกเฉินรวมถึงการให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เรียนรู้ทางการเงินให้มากขึ้น ขณะเดียวกันต้องเนื้อเพลงรอเพิ่มความเท่าทันต่อกระแสดิจิทัล เพราะนอกจากจะเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานยังจะช่วยป้องกันการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆที่เพิ่มขึ้น
สำหรับธนาคารพาณิชย์นอกจากดูแลลูกหนี้ให้ผ่านพ้นวิกฤตแล้ว ธนาคารพาณิชย์ยังต้องปรับตัวเพื่อรองรับบริบทใหม่และต้องจัดทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจให้เป็นไปในรูปแบบที่สอดคล้องกับกระแสของอนาคต เช่น การผนวกเรื่อง ESG เข้ากับกระบวนการให้สินเชื่อ การเปิดเผยข้อมูลเรื่องการดำเนินการด้านความยั่งยืนรวมถึงการมีนโยบายขององค์กรที่ให้ความสำคัญเรื่อง ESGอย่างชัดเจน
นายเศรษฐพุฒิกล่าวเพิ่มเติมว่าธปท.ในฐานะผู้กำกับดูแลระบบธนาคารพาณิชย์ และทำหน้าที่ดูแลเสถียรภาพการเงินของประเทศก็ต้องปรับตัวใน 3 ด้านคือ 1.การดูแลให้บรรยากาศในภาคการเงินให้เอื้อต่อการเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงการปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจ
2.เพิ่มสมดุลระหว่างการเอื้อนวัตกรรมใหม่ ผู้เล่นรายใหม่กับการดูแลให้ระบบการเงินยังสามารถสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้และมีประสิทธิภาพ และ
3.ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชนและ SME ที่ยังเป็นPainpoint สำหรับระบบการเงินไทย
ภาครัฐเองก็ต้องปรับตัว โดยเฉพาะการปรับปรุงระเบียบให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนมากขึ้น และในการดำเนินการแก้ปัญหาวิกฤตโควิดภาครัฐได้ดำเนินนโยบายแบบ Countercyclical เยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดได้ขยายเพดานหนี้สาธารณะสูงขึ้นเป็น 70%แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะดูแลสถานการณ์ให้ได้มากขึ้นและต่อเนื่องแต่ก็ต้องใส่ใจกับการใช้เงินงบประมาณที่เพิ่มขึ้นให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้เศรษฐกิจกลับไปเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพและยั่งยืน
"เราผ่านวิกฤตที่หนักมาแล้วไม่ว่าวิกฤตปี2540,,วิกฤตการเงินโลก วิกฤตน้ำท่วมปี2554 ผมยังเชื่อว่าท้ายที่สุดเราจะผ่านพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ได้ โดยให้คนรอดได้มากที่สุด ลดแผลเป็นให้น้อยที่สุด สิ่งสำคัญทุกภาคส่วนทำหน้าที่ของตัวเองให้ได้ดีและต้องเข้าใจในบทบาทและข้อจำกัดของกันและกันเพื่อไม่ให้เกิดเส้นแบ่งว่าปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นของลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ ลูกจ้างหรือนายจ้างรายเล็กหรือรายใหญ่เพราะทุกคนต่างได้รับผลกระทบ
ดังนั้น การประนีประนอมกันมากขึ้น หันหน้าเข้าหากัน และมองให้รอบด้านจะทำให้เราเห็นทางออกในการก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันได้อีกครั้ง"
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาธปท. ได้ดำเนินมาตรการต่างช่วยเหลือเศรษฐกิจโดยรวม ภาคธุรกิจและประชาชนรายย่อยให้สามารถผ่านพ้นช่วงวิกฤตนี้ไปได้มากที่สุด แต่แน่นอนยังไม่เพียงพอสำหรับระยะข้างหน้าธุรกิจจะประเผชิญกับความท้าทายและต้องเติบโตให้ได้อย่างยั่งยืนโลกใหม่ ซึ่งธปท. พร้อมจะมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนและจูงใจให้ทุกฝ่ายสามารถปรับตัวได้ในช่วงเปลี่ยนผ่านตอนนี้ผมทำธุรกิจใหม่ๆได้ราบรื่นและทันการ