ก่อนอื่น "ฐานเศรษฐกิจ"จะพาไปทำความเข้าใจสิทธิที่ผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 33 จะได้รับจากกองทุนเงินประกันสังคม ซึ่งให้ความคุ้มครองใน 7 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย , กรณีคลอดบุตร ,กรณีทุพพลภาพ , กรณีเสียชีวิต , กรณีสงเคราะห์บุตร , กรณีชราภาพ และ กรณีว่างงาน
สำหรับมนุษย์เงินเดือน พนักงานบริษัท ซึ่งเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ในแต่ละเดือนจะถูกนายจ้างหักเงิน 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาท * ( คำนวณจากค่าจ้าง 1,650 - 15,000 บาทต่อเดือน) เพื่อนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน
เช่น หากได้รับเงินเดือน 10,000 บาท จะถูกหัก 500 บาทนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม หากได้รับเงินเดือน 15,000 บาท ก็จะถูกหัก 750 บาท นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม แต่ในกรณีที่ได้รับเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท ก็จะถูกหักส่งเข้ากองทุนประกันสังคมที่ 750 บาท ตามเพดานสูงสุดนั่นเอง
หมายเหตุ : ครม.มีมติเห็นชอบลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ให้นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เหลือฝ่ายละร้อยละ 2.5 โดยส่งสมทบสูงสุดจากเดิมที่ 750 บาท เหลือ 375 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ( ตั้งแต่งวด ก.ย.- พ.ย. 64 )
เงิน 5% ถูกหักไปใช้ทำอะไรบ้าง
กรณีการหักเงินส่งสมทบเข้ากองทุทประกันที่ 750 บาท
ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบข้อมูลการส่งเงินสมทบ และสิทธิประกันสังคมผ่านช่องทางดังนี้
ที่มา : www.sso.go.th