สถาบันคุ้มครองเงินฝาก แนะบริหารเงินฝากให้ชนะเงินเฟ้อ

15 พ.ย. 2564 | 09:14 น.
อัปเดตล่าสุด :15 พ.ย. 2564 | 18:21 น.

สคฝ.เผยเดือนก.ย.เงินฝากไหลเข้าแตะ 15.25ล้านล้านบาทเพิ่มขึ้นจากต้นปี อยู่ที่ 14.9ล้านล้านบาท -แนะบริหารเงินฝากรับให้ชนะเงินเฟ้อ

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจและหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ จัดงานสัมมนา Wealth Virtual Forum 2021 ลงทุนอย่างไรให้รวย เมื่อวันที่ 15 พ.ย.2564

สถาบันคุ้มครองเงินฝาก แนะบริหารเงินฝากให้ชนะเงินเฟ้อ

นายทรงพล  ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มเงินฝาก (.สคฝ.) กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ เรื่อง "บริหารเงินฝากอย่างไรเมื่อวงเงินคุ้มครองเหลือ 1 ล้านบาท" โดยระบุว่า  สิ่งที่ท้าทายการลงทุนอย่างไรให้รวยนั้น คือ ลงทุนอย่างไรให้สู้เงินเฟ้อให้ได้   เพราะหากพิจารณาตามอัตราเงินเฟ้อ ปัจจุบันหากฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ผลตอบแทน 1.07% เมื่อหักเงินเฟ้อแล้วยังติดลบ 0.8%  แต่เงินฝากประจำ  หรือพันธบัตรรัฐบาล ทองคำ หรือSET50 ผลตอบแทนจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเวลา 20ปี

ดังนั้น วงเงิน 1ล้านบาทหากเก็บไว้ในบัญชีเงินฝากออทรัพย์จะเหลือไม่ถึง 1ล้านบาท เมื่อหักเงินเฟ้อ สำหรับผู้ฝากเงินที่มีวงเงินฝากเกิน 1ล้านบาท นอกจากกระจายเงินฝากบัญชีออมทรัพย์และเงินฝากประจำแล้ว จึงสามารถบริหาร หรือเลือกจัดพอร์ตเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนโดยรวมที่ดีขึ้นได้

 

 

สำหรับ ภาพรวมของเงินฝากในระบบปีนี้  สคฝ.ได้ดำเนินการคุ้มครองเงินฝาก 1ล้านบาทตั้งแต่วันที่ 11สิงหาคม 2564ที่ผ่านมา  สำหรับบุคคลธรรมดายังเติบโตขึ้น  ซึ่งปีนี้มีความท้าทายสำหรับผู้ฝากเงินซึ่งต้องมีการเบิกถอนเงินฝากออกไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งปีนี้อัตราเติบโตของเงินฝากอาจจะอยู่ที่ 2-3% น้อยกว่าที่ผ่านมาอยู่ที่ 4-6%

 

ส่วนการเคลื่อนย้ายของเงินฝากปีนี้  พบว่า มีเงินฝากไหลเข้าสู่ระบบเป็นระยะโดยต้นปีมีเงินฝากอยู่ที่ 14.9ล้านล้านบาท และปัจจุบันมีจำนวน 15.25ล้านล้านบาทณ สิ้นเดือนกันยายน โดยมีเพียงเดือนมิถุนายนเงินฝากมีอัตราการโตติดลบแต่ย้อนหลัง 10ปีอัตราการเติบโตเงินฝาก 4-6%

ขณะที่วงเงินฝาก 1ล้านบาทนั้นจะมีจำนวนคนผู้ฝากเงินโดยประมาณ 82ล้านคน หรือคิดเป็น 98%อีกประมาณกว่า 1% หรือเกือบ 2%เป็นเงินฝากที่เกิน 1ล้านบาทหรือมีคนฝากประมาณ 2ล้านคน

ทั้งนี้  ในส่วนของผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ได้รับความคุ้มครองนั้น ทั้งหมดต้องเป็นสกุลเงินบาท ไม่ว่าจะเป็นเงินฝากกระแสรายวัน  ออมทรัพย์  เงินฝากประจำ  บัตรเงินฝากหรือใบรับใบรับฝากเงินทั้งมีสมุดบัญชีและไม่มีสมุดบัญชี

 

นายทรงพลกล่าวว่า หากเทียบการลงทุน 20ปีที่ผ่านมา เช่น การฝากออทรัพย์อย่างเดียว ,เงินฝากประจำ  , ซื้อพันธบัตรรัฐบาล 3ปี,ซื้อทองคำ ,SET50โดยความเสี่ยงแต่ละประเภทการลงทุนจะไม่เท่ากัน

สถาบันคุ้มครองเงินฝาก แนะบริหารเงินฝากให้ชนะเงินเฟ้อ

อย่างไรก็ตามหากมองย้อนหลังไปเมื่อปี 2544  เปรียบเทียบผลตอบแทนต่อปีจากการลงทุนแต่ละประเภท พบว่า เงินฝากประจำ 1ปีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 1%  หากฝากไว้ 20ปีดอกเบี้ยทบต้นผลตอบแทนประมาณ 2% ถ้าเลือกซื้อพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3ปีผลอตอบแทน 2.46%ทองคำ 8%ต่อปี  หรือหากซื้อSET50 ผลตอบแทนอยู่ที่ 8.25%  เหล่านี้ สำหรับคนที่ออมและลงทุนแล้วถือครองมาตลอด 20ปีจะได้ผลตอบแทนน้อยกว่าคนที่ซื้อมาขายไป แต่ทำให้มั่นใจได้ว่าเงินออมจะสามารถเก็บไว้ใช้สอยในอนาคต

 

ในแง่ของการจัดพอร์ตหรือกระจายพอร์ตการลงทุน โดยพอร์ตแรก  เก็บเงินฝากในบัญชีออมทรัพย์100% ผลตอบแทน 1.07% , กรณีปรับสัดส่วนเป็นเงินฝากออมทรัพย์ 50% ฝากประจำ 1ปีสัดส่วน 50%ผลตอบแทนจะเริ่มดีขึ้นอยู่ประมาณ 1.54 % ,หรือจัดพอร์ตเป็นเงินฝากออมทรัพย์ 30% ฝากประจำ 25% พันธบัตรรัฐบาล 3ปี 25%ผลตอบแทนจะอยู่ที่ 1.55% อีกแนวทางคือ เลือกฝากออมทรัพย์ 25%   ฝากประจำ 25%  พันธบัตร 25%อายุ 3ปี  ลงทุนซื้อทองคำ และ SET50สัดส่วน 10%ผลตอบแทน 2.98% แทนที่จะรับผลตอบแทน 1.07% หรือเลือกเก็บเงินในออมทรัพย์ 10% ฝากประจำ25%  พันธบัตรออมทรัพย 25% ทองคำ 10%  SET50สัดส่วน  30% ผลตอบแทนจะอยู่ที่ประมาณ 4.41%

 

ดังนั้น ไม่แนะนำฝากเงิน 100% ควรจะแบ่งเป็นฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำบางส่วน หากจะคาดหวังผลตอบแทนที่ดีกว่านั้น สามารถกระจายเงินออกไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นบ้าง  ซึ่งขึ้นอยู่กับความรู้หรือเชี่ยวชาญจึงจะได้รับผลตอบแทนดีขึ้น