ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้ออกมาตรการแก้หนี้ระยะยาวเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564เพื่อให้มีการช่วยเหลือลูกหนี้ทุกประเภทที่ได้รับผลกระทบผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืนรวมถึงส่งเสริมให้ลูกหนี้สามารถรักษาสภาพคล่องเดิมและได้รับสภาพคล่องใหม่
ธปท.ได้ออกหนังสือเวียน (เมื่อวันที่ 16พ.ย.2564)ให้กับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่ง บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงินทุกแห่ง บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงินทุกแห่ง เรื่องแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อโควิด-19(มาตรการแก้หนี้ระยะยาวด้วยการรีไฟแนนซ์หรือrefinance และการรวมหนี้หรือDebt Consolidation)
ทั้งนี้ หนังสือฉบับดังกล่าวระบุว่า การออกหนังสือฉบับนี้เพื่อ1.กำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่เรียบเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด( pre payment fee)สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับและสินเชื่อรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพภายใต้การกำกับเป็นการชั่วคราวเพื่อลดข้อจำกัดในการทำรีไฟแนนซ์และสนับสนุนการรวมหนี้เพิ่มเติมจากปัจจุบันที่มีหลักเกณฑ์ของธปท.กำหนดห้ามเรียกเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนดสำหรับสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันและสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล
2.ปรับปรุงแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้รายย่อยด้วยวิธี Debt Consolidation ระหว่างสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นโดยขยายขอบเขตให้สามารถรวมหนี้ระหว่างสถาบันการเงินและหรือผู้ประกอบธุรกิจได้จากเดิมที่สามารถรวมหนี้ได้เฉพาะหนี้ภายในสถาบันการเงินเดียวกันตามมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยในช่วงสถานการณ์ระบาดของโควิชระยะที่ 3(เมื่อ 14พ.ค.2564)อีกทั้งยังได้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินเพิ่มเติมด้วย
การช่วยเหลือลูกหนี้ครอบคลุมทุกมิติและช่วยลดภาระดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระดีหรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ธปท.เห็นว่าการสนับสนุนให้เกิดการรีไฟแนนซ์ระหว่างสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจจะผลักดันให้เกิดการแข่งขันในธุรกิจการให้สินเชื่อซึ่งจะส่งผลให้การกำหนดอัตราดอกเบี้ยสะท้อนต้นทุนและความเสี่ยงที่แท้จริงของลูกหนี้กลุ่มลูกหนี้หรือลักษณะสินเชื่อมากยิ่งขึ้นพร้อมทั้งช่วยลดภาระดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้
ขณะเดียวกันการรวมหนี้หรือ Debt Consolidation ระหว่างสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นจะช่วยให้ลูกหนี้สามารถใช้ประโยชน์จากที่อยู่อาศัยที่เป็นหลักประกันในการบรรเทาภาระดอกเบี้ยและการผ่อนค่างวดในระยะยาวและสถาบันการเงินได้ประโยชน์จากความเสี่ยงด้านเครดิตที่ลดลง
แหล่งข่าวให้ให้ความเห็นว่า ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามออกมาตรการช่วยเหลือออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีเครื่องมือในการที่จะช่วยเหลือลูกหนี้หลากหลาย
สำหรับกฎเกณฑ์ส่งเสริมการรวมหนี้ครั้งนี้ เท่าที่ทราบธปท.เพียงประกาศไว้เป็นแนวทางแก่ธนาคารพาณิชย์/ผู้ประกอบธุรกิจนันแบงก์ โดยธปท.ไม่ได้บังคับให้ธนาคารพาณิชย์ /สถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือผู้ประกอบธุรกิจนันแบงก์ต้องรวมหนี้แต่อย่างใด
" ที่ผ่านมาเรื่องการรวมหนี้ หรือรีไฟแนนซ์หนี้ภายในแบงก์เดียวกันก็มีผลตอบรับค่อนข้างน้อย ส่วนการรวมหนี้ระหว่างสถาบันส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะต้องจดจำนองเป็นเจ้าหนี้อันดับที่2 และการเอาหลักประกันส่วนเกินมาเพื่อให้สินเชื่อนั้น ถ้าต่อไปลูกหนี้ผ่อนไม่ไหวอีกก็จะเป็นNPLทั้งคู่ เท่ากับเรารับความเสี่ยงมาอยู่ในพอร์ต ขณะที่ได้ลดดอกเบี้ยให้ลูกหนี้ไปแล้ว"
แหล่งข่าวรายเดิมกล่าวยอมรับว่า ที่ผ่านมาการรวมหนี้ภายในธนาคารก็ยังไม่เกิดผลในทางปฏิบัติมากนัก หากต้องรวมหนี้ข้ามสถาบันการเงิน เ่ท่ากับสถาบันการเงินเจ้าหนี้เดิมและสถาบันการเงินเจ้าหนี้รายใหม่ที่รับโอนส่วนตัวมองว่าวงเงินผ่อนของลูกหนี้อย่างเท่าเดิม