ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)แถลงผลคืบหน้าจากการดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจ เอสเอ็มอีและรายย่อย ซึ่งระหว่างมีลูกหนี้ออกจากมาตรกรตามสถานการณ์โดยยังอยู่ในมาตรการช่วยเหลือและมาตรการแก้หนี้ระยะยาว ด้วยการรีไฟแนนซ์ (refinance) และการรวมหนี้ (debt consolidation)โดยนางสาวญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายและกำกับสถาบันการเงิน และ คุณอรมนต์ จันทพันธ์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายและกำกับสถาบันการเงิน 2 (ธปท.)
โรงแรม โรงงาน สปา พักทรัพย์พักหนี้178ราย
“สุวรรณี เจษฎาศักดิ์” เปิดเผยถึงความคืบหน้ามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ โดยระบุว่า ภาพรวมการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจและรายย่อย ตามมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด -19 ภายใต้การแก้ไขหนี้เดิมณวันที่ 30ก.ย.2564 คงเหลือลูกหนี้ที่อยู่ในความช่วยเหลือจำนวน 6.69ล้านบัญชี มูลหนี้3.82ล้านล้านบาท แบ่งเป็นลูกหนี้จากธนาคารพาณิชย์และ นันแบงก์ 2.72 ล้านบัญชีมูลนิธิ 2.24 ล้านล้านบาทที่เหลือมาจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ(SFIs) 3.97 ล้านบัญชีมูลหนี้ 1.58 ล้านล้านบาท
ส่วนมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ณวันที่ 15พฤศจิกายน 2564 มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการแล้ว 178 รายมูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอน 25,190 ล้านบาทส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมโรงงานและสปา
ทั้งนี้ หากพิจารณาการให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2564 ผู้ประกอบการในภาคการท่องเที่ยวได้รับสินเชื่อใหม่ตั้งแต่ก่อน โควิด-19 จนถึงปัจจุบันรวมจำนวนทั้งหมดประมาณ1.25แสนล้านบาทโดยสินเชื่อที่สถาบันการเงินปล่อยเองมีสัดส่วนมากถึง 84%และอีก16%มาจากสินเชื่อ soft loan และสินเชื่อฟื้นฟูรวมวงเงินประมาณ 2หมื่นล้านบาทจำนวนผู้ประกอบธุรกิจ 9,000 ราย
ปรับโครงสร้างหนี้โรงแรมที่พัก62%
ส่วนการแก้ไขหนี้เดิมธนาคารพาณิชย์ไทยยังคงให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่องเห็นได้จากมีลูกหนี้ภายใต้มาตรการช่วยเหลือ 2.92แสนล้านบาทหรือคิดเป็น 64%ของพอร์ตสินเชื่อธุรกิจโรงแรมและที่พัก 4.56แสนล้านบาทส่วนใหญ่ 62%เป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 33%เป็นการช่วยเหลืออื่นๆเช่นพักชำระหนี้และ 5% ที่เข้าโครงการพักชําระหนี้
ขณะทางด่วนแก้หนี้มียอดสะสมตั้งแต่ 1เม.ย.2563-31ตุลาคม2564จำนวน252,544บัญชีคิดเป็น 75%ของจำนวนผู้เข้าเงื่อนไขโดยให้ความช่วยเหลือผ่านเว็บไซต์และChat bot หมอหนี้เพื่อประชาชน รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ SME 1,479 ราย ส่วนคลินิกแก้หนี้มีจำนวน 68,071บัญชี คิดเป็น 88%ของจำนวนผู้เข้าเงื่อนไข นอกจากนี้มหกรรมไกล่เกลี่หนี้ ตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์ ถึง 30 กันยายน 2564ทั้งบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลได้รับช่วยเหลือสะสมจำนวน219,515บัญชี คิดเป็น 72%ของจำนวนผู้เข้าเงื่อนไข ส่วนลูกหนี้เช่าซื้อยอดช่วยเหลือสะสม(ตั้งแต่1มิ.ย.-30ก.ย64) จำนวน9,608บัญชีคิดเป็น 75%ของจำนวนผู้เข้าเงื่อนไข
ดิจิทัลพีโลน 4รายปล่อยกู้กว่า 2,087ล้านบาท
นางสาวสุวรรณีกล่าวเพิ่มเติมว่า สินเชื่อดิจิตอลพีโลน(Digital P-Loan มีผู้ประกอบการ4รายจาก 7รายที่ได้รับอนุญาติ คือ บริษัท ซีมันนี่ (แคปปิตอล) จำกัด(SEA Money) บริษัท แอสเซนด์ นาโน จำกัด(ascend nano) บริษัท แรบบิท แคช จำกัด(AEON) และธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ปล่อยสินเชื่อแล้ว 2,087ล้านบาทผู้ได้รับสินเชื่อกว่า416,741รายเฉลี่ย 5,000บาท/ราย
สินเชื่อฟื้นฟูอนุมัติแล้ว 1.26แสนล้าน
สำหรับสินเชื่อฟื้นฟูณวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 มียอดอนุมัติแล้ว 126,881ล้านบาท จำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ39,722ราย เฉลี่ยวงเงิน 3.2ล้านบาทต่อรายโดยวงเงินสินเชื่อฟื้นฟู 67.0%กระจายอยู่ในธุรกิจพาณิชย์และบริการ และ 43.3%อยู่ในธุรกิจSMEโดยกว่า 67.8%เป็นนึกแล้วเชียวลูกหนี้ที่อยู่ในต่างจังหวัด
แบงก์ปล่อยกู้กลุ่มท่องเที่ยว84%
สำหรับกลุ่มท่องเที่ยวจากการแก้ไขหนี้เดิมนั้น เงินกู้ยืมเพิ่มขึ้น 1.25แสนล้านบาทส่วนใหญ่ 84%เป็นสินเชื่อที่สถาบันการเงินปล่อยเอง ที่เหลือ 16%เป็นสินเชื่อซอฟโลนและสินเชื่อฟื้นฟูซึ่งผู้ประกอบธุรกิจได้รับสินเชื่อ 9,000รายวงเงินประมาณ 2หมื่นล้านบาท ทั้งนี้สินเชื่อซอฟโลนและสินเชื่อฟื้นฟูกระจายตามภาคธุรกิจโรงแรมที่พัก 49% กิจการนำเที่ยวและขายของที่ระลึก 25% ร้านอาหาร 17% และอื่น 9% หากพิจารณารายธุรกิจ สัดส่วน 31%เป็นโรงแรมที่พัก,ร้านอาหาร 31% และ 28%กิจการนำเที่ยวและขายของที่ระลึก
สำหรับสินเชื่อธุรกิจและที่พักแรมมีลูกหนี้ภายใต้มาตรการช่วยเหลือ 2.92แสนล้านบาทคิดเป็น 64%หรือยอดหนี้เกือบ 3แสนล้านบาทได้รับความช่วยเหลือหลากหลายเช่น เติมสภาพคล่อง,ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 62% เช่นยืดระยะเวลาชำระหนี้ หรือปรับลดดอกเบี้ยลงด้วย , 33% ช่วยพักชำระหนี้ระยะสั้น และอีก 5%ที่เข้ามาตรการพักทรัพย์พักหนี้ โดยพักทรัพย์พักหนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของปัญหา แต่มีมาตรการหลากหลายเหมาะสมกับปัญหาของธุรกิจให้ได้มากที่สุด
สินเชื่อไทยโตกว่าภูมิภาค
ขณะเดียวกันจากมาตรการที่ดำเนินการมานั้น ธปท.ติดตามทุกมาตรการ ดูแลระบบการเงินมีความมั่นคงและยังคงทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญ โดยพบวา สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ยังเติบโตกว่าประเทศภูมิภาคเช่น อินโดนีเซียสินเชื่อเติบโต 1.2% มาเลเซีย 2.9%ฟิลิปปินส์ 1.3 %สิงคโปร์2.1 % ขณะที่สินเชื่อในไทยเติบโต 5.6%เป็นอัตราใกล้เคียงช่วงก่อนเกิดโควิด โดยสินเชื่อเอสเอ็มอีเริ่มเป็นบวกตั้งแต่ไตรมาส2ไตรมาส3ที่ผ่านมา หักสินเชื่อฟื้นฟูทรงตัว 0%
ด้านคุณภาพสินเชื่อเสื่อมค่าลงเล็กน้อยเทียบกับสถานการณ์หนัก บน 3ปัจจัยคือ เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นน้อย 2.ภายใต้มาตรการช่วยเหลือต่างๆ ทั้งสินเชื่อฟื้นฟู ,ผ่อนปรนการจัดชั้นกันสำรองและลดวงเงินนำส่งFIDF 0.23% 3.การฟ้องคดีลูกหนี้รายย่อยมีแนวโน้มลดลงและกลับมาใกล้เคียงปกติ
รวมหนี้ลดดอกเบี้ยถึง 15%
มองไปข้างหน้าแม้สถานการณ์ฟื้นตัวแต่ธปท.ยังคงมีมาตรการ ให้ลูกหนี้เบาตัวขึ้นด้วย 2กลไกคือ 1.มาตรการแก้หนี้ระยะยาวด้วยการรีไฟแนนซ์ (refinance) และ 2.การรวมหนี้ (debt consolidation) ซึ่ง “อรมนต์ จันทพันธ์” อธิบายว่า ทั้งลูกหนี้ที่มีประวัติชำระหนี้ดี หรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 สามารถเข้าสู่การรีไฟแนนซ์หนี้ เช่น หนี้บ้าน และการสนับสนุนรวมหนี้ภายในธนาคารเดียวกันและรอบนี้ธปท.ขยายขอบเขตให้รวมหนี้ระหว่างธนาคาร ระหว่างสถาบันการเงินด้วย
สำหรับการรวมหนี้ระหว่างสถาบันการเงินนั้น รูปแบบคือการเอาหนี้สินเชื่อรายยอยทั้งหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด(พีโลน) จำนำทะเบียนรถหรือสินเชื่ออื่นๆ มาใช้หลักประกันร่วมกับสินเชื่อบ้าน กำหนดเงื่อนไขคือ สินเชื่อบ้าน รวมกับสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ กำหนดให้คิดดอกเบี้ยอิงสัญญาเดิมของสินเชื่อบ้าน บวก2%ต่อปี เช่น สินเชื่อบ้านMRR6%+2%ต่อปี เท่ากับ 8%
สำหรับสถาบันการเงินที่สามารถรีไฟแนนซ์หนี้ หรือรวมหนี้ได้นั้น ธปท.กำหนดแรงจูงใจเพิ่มเติม 2 เรื่องคือ การผ่อนเกณฑ์จัดชั้นและกันสำรองอย่างยืดหยุ่น เช่นนการรวมหนี้จะเป็นลูกหนี้ปกติ(กลุ่มสีฟ้า) และผ่อนเกณฑ์คำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต เช่น น้ำหนักความเสี่ยง 35%ตลอดอายุสัญญา
นอกจากนี้ภายใต้ 3แนวทางในการผลักดันให้เกิดผลในทางปฎิบัติ ได้แก่ 1.ห้ามเรียกเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนดสัญญา(Prepayment fee)สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับและสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 2. ปรับแรงจูงใจให้เหมาะสม 3.ส่งเสริมความรู้ทางการเงินกับลูกหนี้
“ ทั้งการรีไฟแนนซ์ และรวมหนี้เป็นเป็นการสมัครใจ ไม่ได้บังคับ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย.2564-31ธ.ค.2566 ส่วนประโยชน์ที่ลูกหนี้จะได้รับจากการเข้ามาตรการทั้งสินเชื่อนาโน ดอกเบี้ย 33% พีโลน25% จำนำทะเบียน24%เครดิตการ์ด 16% ทั้งหมดนี้เมื่อนำมารวมกับสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยจะลดลงอิงตามสัญญาสินเชื่อบ้านหรือบวก 2%ปี สมมติ สินเชื่อบ้านดอกเบี้ย MRR6%+2%ต่อปี เท่ากับ 8%เทียบกับสินเชื่อพีโลนดอกเบี้ยจะเหลือ 1 ใน 3เท่านั้นก็จะช่วยให้ลูกหนี้ตัวเบาน่าจะช่วยมีสภาพคล่องในการลงทุนและประกับธุรกิจได้”
นอกจากนี้เมื่อรวมหนี้แล้วจะเหลือหนี้เพียงบิลเดียว แต่เมื่อรวมหนี้อยากให้ดำเนินการก่อนเป็นเอ็นพีแอลเพื่อไม่ต้องรายงานประวัติเครดิต ขณะเดียวกันลูกหนี้จะต้องเซ็นยินยอมเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็น หรือConsent เพื่อความสะดวกในการรรวมหนี้ระหว่างสถาบันการเงิน
อนึ่งเอกสารเผยแพร่ระบุ การรีไฟแนนซ์ สินเชื่อบ้านกับสินเชื่อไม่มีหลกประกันดอกเบี้ยลดลง 2-3% บางกรณีอาจถึง 10% ส่วนการรวมหนี้เป็นการใช้หลักประกันสินเชื่อบ้าน ทำให้สินเชื่อไม่มีหลักประกัน เช่น สินเชื่อบัตรกดเงินสด กลายเป็นสินเชื่อมีหลักประกัน ซึ่งความเสี่ยงจะลดลงและอัตราดอกเบี้ยจะลดลงตามโดยช่วยลดดอกเบี้ยลดลงได้ถึง 15%