ตามที่ธนาคารยูโอบี และ ซิตี้แบงก์กรุ๊ปประกาศบรรลุข้อตกลงเบื้องต้น ภายหลังการเข้าซื้อกิจการธุรกิจรายย่อยของซิตี้กรุ๊ปใน 4ประเทศ ประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีมูลค่าตามทรัพย์สินสุทธิของธุรกิจ และขึ้นอยู่กับรายการปรับปรุงเมื่อเสร็จสมบูรณ์ ราว 5,000ล้านดอลล์บวกค่าพรีเมียม 915 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือ 690 ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น
นายวี อี เชียง รองประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารยูโอบี เปิดเผยว่า การเข้าซื้อกิจการรายย่อยของซิตี้กรุ๊ปครั้งนี้จะมีฐานลูกค้าเพิ่ม2เท่า (ซึ่งซิตี้ใช้เวลาสร้าง 50ปี) โดยมีลูกค้าประมาณ 2.4 ล้านราย ทำให้ยูโอบีมีกลุ่มลูกค้ารายย่อยมากที่สุดในภูมิภาคถึง 5.3ล้านราย แม้จะมีฐานลูกค้าทับซ้อนกันแต่จะเสริมฐานลูกค้าที่มีคุณภาพซึ่งกันและกัน โดยการซื้อกิจการซิตี้กรุ๊ปใน 4 ประเทศครั้งนี้มีมูลค่ารวม หนึ่งแสนสองหมื่นล้านบาท โดยเป็นค่าพรีเมียมรวมอยู่ที่ สองหมื่นสองพันล้านบาท หรือคิดเป็น 1.2 เท่าของมูลค่าทางบัญชีนั้น ถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสม และเป็นโอกาสดีในช่วงโควิด และสอดคล้องกับแผนระยะ 5 ปีของธนาคารที่ต้องการวางโครงสร้างพื้นฐานไปสู่ดิจิทัลแพลตฟอร์ม และเสริมสร้างให้เกิดช่องทาง Omni Channel และพอร์ตสินเชื่อมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ทำให้ธนาคารยูโอบีมีพอร์ตโฟลิโอที่แข็งแรง โดยสิงคโปร์ยังเป็นตลาดหลักของยูโอบี โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงด้านภูมิศาสตร์ แต่ทำให้ธุรกิจธนาคารก้าวขึ้นเป็นTOP 3 ของภูมิภาคอาเซียน มีรายได้เพิ่มขึ้น 1.4เท่าหรือมากกว่า 1,000 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ และมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้นสุทธิ 1.2 เท่าจากปัจจุบันธนาคารมีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 4,000 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ อัตราส่วนของเงินกองทุนขั้นที่ 1(Common Equity Tier 1 หรือ CET1) อยู่ที่ 12.8% ผลตอบแทนต่อสินเทรัพย์เสี่ยงมากกว่า 1.7%
ขณะเดียวกันยูโอบีวางแผนจะคืนทุนและมีอัตราส่วนของCET1 มากว่า 13%ในปี 2566 ขณะที่กำไรต่อหุ้น(EPS) และตั้งเป้าอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น( ROE) เพิ่มขึ้น มากกว่า 13% จาก 10%ในไตรมาส3ของปีที่แล้ว และ RORW ประมาณ 2.0%ภายในปี 2569 ขณะเดียวกันยูโอบียังสามารถรักษาระดับของเงินปันผลในอัตราคงเดิม โดยกระบวนการซื้อกิจการในไทยและมาเลเซียคาดว่าจะแล้วเสร็จหรือสิ้นสุดในไตรมาส2ของปี2566 และที่เหลือน่าจะแล้วเสร็จประมาณไตรมาสแรกของปี 2567
"ขอย้ำว่าการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้เป็นการซื้อในราคาที่เหมะสม สามารถทำให้เราสามารถขยายขอบเขตธุรกิจและมีฐานลูกค้าเติบโตมีขีดความสามารถเข้มแข็งและเรายังมีเงินทุนที่แข็งแกร่ง คาดว่าCET1จะมีจำนวนมากกว่า 13%ในปี2566”
ในแง่ของดิจิทัลแพลตฟอร์มจะช่วยให้เดินหน้าDigital Transformation สู่ภูมิภาค สามารถเข้าถึงลุกค้าโดยพัฒนาคู่ขนานกับการขยายธุรกิจการสร้างช่องทางดิจิทัล ซึ่งลูกค้า 2.4ล้านรายจะอยู่บนช่องทางดิจิทัลแพลตฟอร์ม สำหรับประเทศไทยมีศักยภาพซึ่งการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้อยู่ที่ประเทศไทย เห็นได้จากซิตี้แบงก์มีพอร์ตที่มีวินัยมาก ส่วนมาเลเซียและเวียดนามแม้พอร์ตยังเล็กแต่ก็เป็นโอกาสสำหรับยูโอบีในการเติบโตในระยะยาวซึ่งเวียดนามจะเป็นตลาดที่สำคัญ
การประสานกลยุทธ์ดิจิทัลนั้น การขยายธุรกิจหรือปริมาณลูกค้าที่จะเข้ามาสูงขึ้นซึ่งต้องบริหารต้นทุนและทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงาน แม้ระบบเครือข่ายยังอยู่ในช่วงดำเนินการแต่ในการควบรวมและการบริหารจะต้องใช้ฐานลูกค้าที่มีปริมาณเติบโตและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนใหญ่ฐานลูกค้าจะเสริมซึ่งกันและกันแม้จะทับซ้อนกันบ้าง แต่ยูโอบีจะช่วยในเรื่องดิจิทัลแพลตฟอร์ม เช่น ฟีเจอร์ไหนทีลูกค้าสนใจ ในแง่ของการให้บริการพยายามจะไม่ให้หยุดชะงัก
ต่อข้อถามเกี่ยวกับพนักงานนั้น ยูโอบีเราในแง่ควบรวมและบูรณาการ และมองพนักงานเป็นสินทรัพย์ซึ่ง 60%จะเป็นเจ้าหน้าที่ด่านหน้าจากทีมงานที่จะเข้ามาจากซิตี้กรุ๊ปประมาณ 5,000คนประสบการณ์ทำงาน 20-25ปี โดยมีคณะกรรมการร่วมดูแลและสร้างประโยชน์ ทั้งซิตี้และยูโอบีโดยไม่มีการปรับลดตำแหน่ง โดยเน้นความเข็มแข็งและพื้นฐานของธนาคารเมื่อควบรวมกันแล้วให้เกิดประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ดีลนี้ก็มีการขันสูงแต่รายละเอียดต้องสอบถามทางซิตี้แบงก์ โดยในส่วนของยูโอบีมองว่าแม้ดีลนี้จะแข่งขันสูงแต่ก็จะเกิดกำไรและประโยชน์
การซื้อกิจการรายย่อยในอินโดนีเซีย แม้จะมีความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์แต่มีความหลากหลายในผลิตภัณฑ์พร้อมนำเสนอลูกค้าพร้อมจะให้คุณค่าที่ดีกับลูกค้า โดยยูโอบีมีแพลตฟอร์มไม่แตกต่างจากซิตี้และทำให้ง่ายขึ้นในเรื่องผลิตภัณฑ์ โดยคณะกรรมการและดำเนินการเป็นระยะทั้ง 4ตลาดโดยบางประเทศสามารถเดินหน้า ขณะที่ประเทศที่เหลือสามารถเรียนรู้ ซึ่งทีมไอทีได้มีการควบคุมเรื่องฟีเจอร์ แพลตฟอร์มแล้วพร้อมจะปกป้องลูกค้าทั้งยูโอบีและซิตี้แบงก์
ทั้งนี้ ภายหลังได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกำกับแล้วยังมีกระบวนการโอนถ่ายธุรกิจ , เปลี่ยนผ่านธุรกิจอย่างราบรื่น โดยเตรียมบริการไม่บกพร่อม ขณะที่ทางซิตี้แบงก์เองยังคงอยู่ให้บริการลูกค้าจนกว่าจะเปลี่ยนผ่านสู่ยูโอบีอย่างสมบูรณ์ โดยจะเริ่มเปลี่ยนผ่านจากไทยและมาเลเซียก่อน
ต่อข้อถามถึงแผนงานสนับสนุนการเติบโตของพอร์ตในไทยนั้น ตลาดในไทนมีการแข่งขันสูง จึงสร้างโอกาสบริการลูกค้า ซึ่งการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ส่วนหลักมาจากตลาดของเมืองไทย ค่าพรีเมียมที่ยูโอบีจ่ายเมืองไทยมีอัตราส่วนใหญ่ที่สุด และฐานลูกค้าในไทยใหญ่และเป็นเป้าหมายในการเพิ่มรายได้จะช่วยพัฒนาผลประกอบการยูโอบีในไทย
ในแง่รายได้ที่จะเพิ่ม 1.4เท่า คือ แนวโน้มความสำเร็จจะเกิดขึ้นเป็นระยะ โดยครึ่งปีแรกจะโฟกัสใน 2ประเทศก่อน(ไทยและมาเลเซีย) และค่อยไปจัดการพอร์ตของสองประเทศที่เหลือ โดยจะเห็นการเติบโตของรายได้ถึง 13%ในปี 2569
อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายกำกับแล้ว ยูโอบีมีแผนลงทุนในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์โดยใน 2ปีจะใช้งบ 200ล้านจากงบประมาณ 700ล้านที่เหลือจะทยอยใช้งบประมาณในปีถัดๆมารวมถึงการควบรวม รักษาคนที่มีความสามารถโดยทุกคนมีประสบการณ์มากกว่า 20-25ปี
ในแง่การให้บริการนั้น จะดูตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ แชร์ประสบการณ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ซึ่งเก็บประสบการณ์ระหว่างทางเพื่อลดความเสี่ยง พร้อมมีเทคโนโลยีมาสนับสนุนและมีฟีเจอร์มาตรฐาน ซึ่งให้ความสำคัญลูกค้าแต่ละประเทศเพื่อลดความเสี่ยงในช่วงเปลี่ยนผ่าน นอกจากนี้ยังมีแผนการเร่งระยะเวลาในสร้างลูกค้ารายย่อยแต่ไม่เน้นขยายเงินกู้มากเกินไป ซึ่งจะลดความเสี่ยงด้านเครดิต และนำบริการไม่มีหลักประกันเข้ามาอยู่ในแผนด้วย
นาย แอดดี้ คลู หัวหน้ากลุ่มธุรกิจรายย่อย ธนาคารยูโอบี กล่าวว่า แผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนธุรกิจในไทยในปี2565 โดยระบุว่า กลุ่มลูกค้ารายย่อยในไทย ธุรกิจบัตรเครดิตและ สองโปรดักส์จะช่วยขับเคลื่อนและเกิดการขายข้ามโปรดักส์หรือCross sale และฐานลูกค้าขนาดใหญ่คือ ปัจจัยที่เอื้อต่อการยกระดับดิจิทัลแพลตฟอร์ม โดยมีฐานลูกค้าประมาณ 5ล้านรายอยู่บนดิจิทัลแพลตฟอร์มและใช้AIในการวิเคราะห์ลูกค้า