เปิดกำไร 10แบงก์ปี64 โต 4.46หมื่นล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 32%

21 ม.ค. 2565 | 21:55 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ม.ค. 2565 | 12:55 น.

10แบงก์กำไรสุทธิปี 64 รวม 1.83แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.46หมื่นล้านบาทหรือ 32.27% อานิสงค์ลดกันสำรอง หลังโหมตั้งไปก่อนหน้า บวกรายได้จากการดำเนินงาน-ดอกเบี้ย-ค่าธรรมเนียมหนุน ขณะที่ค่าย “กรุงศรี -ทีทีบี” ห่วงโอมิครอนฉุด 2ปัจจัยเคลื่อนเศรษฐกิจปี65

10แบงก์กำไรสุทธิปี 64 รวม 1.83แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.46หมื่นล้านบาทหรือ 32.27%   อานิสงค์ลดกันสำรอง หลังโหมตั้งไปก่อนหน้า บวกรายได้จากการดำเนินงาน-ดอกเบี้ย-ค่าธรรมเนียมหนุน   ขณะที่ค่าย “กรุงศรี -ทีทีบี” ห่วงโอมิครอนฉุด 2ปัจจัย “การใช้จ่ายภายในประเทศ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับตัวดีขึ้น”เคลื่อนเศรษฐกิจปี65

 

“ฐานเศรษฐกิจ”  รวบรวมผลประกอบการ ไตรมาส 4ปี2564 และงวด 12 เดือนของปี 2564 ของธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์(ตลท.) 10 แห่ง   พบว่า  10ธนาคารพาณิชย์ไทย   มีกำไรสุทธิรวม 1.83แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.46หมื่นล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 32.27% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่  1.38แสนล้านบาท(ดูตารางประกอบ)  ส่วนใหญ่สะท้อนความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้น  สาเหตุหลักมาจากรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น  ภาระการตั้งสำรองที่ลดลง

 

เปิดกำไร 10แบงก์ปี64 โต 4.46หมื่นล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 32%

LHFGตั้งสำรองพร้อมลุยสินเชื่อรายย่อย

ยกเว้นบมจ.แอลเอช ไฟแนนซ์เชียลกรุ๊ปหรือLHFG   กำไรปรับลดลง   สาเหตุหลักมาจากหลักๆ มาจากการเพิ่มขึ้นของการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อ CTBC เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เมื่อเดือนกันยายนปี2564 เมื่อเดือนกันยำยน 2564

 

ทำให้ LHFG เป็นบริษัทย่อยของ CTBC ซึ่ง CTBC เห็นว่าสถานการระบาดของโควิดยังมีอยู่  จึงมีความเห็นให้ธนาคารตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นจากจำนวน 1,738.0ล้านบาทในงวด 9 เดือนของปี 2564เป็น3,283.8ล้านบาทณ สิ้นปี2564 เพื่อสร้างความมั่นใจในการดำเนินกลยุทธ์ในปี2565   ซึ่งธนาคารจะเร่งขยายธุรกิจและขยายสินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้น  

 

ดังจะเห็นได้ว่า อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ(Coverage Ratio) เพิ่มขึ้นจาก 148.4% เมื่อไตรมาสที่  3ของปี 2564 เป็น 179.1% ณ สิ้นปี2564และอัตรำสินเชื่อที่มีกำรด้อยค่ำด้ำนเครดิตต่อสินเชื่อรวม (NPLs) เท่ากับ 2.44% ของเงินให้สินเชื่อรวมที่ลดลงอยู่ในระดับต่ำ

กรุงไทยสินเชื่อโต 12.6%

เปิดกำไร 10แบงก์ปี64 โต 4.46หมื่นล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 32%

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ผลประกอบการของปี 2564 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 21,588 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.0% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

จากสินเชื่อที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งถึง12.6% จากสิ้นปีที่ผ่านมา  เพิ่มระดับของ Coverage ratio ให้สูงขึ้นเป็น 168.8%เพิ่มขึ้นจาก147.3% ณ สิ้นปี 2563  เพื่อรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ  มีการบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ได้ดีอย่างต่อเนื่อง  โดยมี NPLs Ratio-Gross อยู่ที่106,809ล้านบาทจาก 107,138ล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม 3.50%  ลดลงจาก 3.81% ณ สิ้นปีที่ผ่านมา  โดยธนาคารตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 32,524 ล้านบาท  แม้ว่าจะลดลง 27.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  แต่ยังเป็นการตั้งสำรองในระดับที่สูง

แบงก์กรุงเทพรายได้ "แกร่ง"       

ธนาคารกรุงเทพ มีรายได้ดอกเบี้ย 82,156ล้านบาทเพิ่มขึ้น 6.6% จาก 77,046 ล้านบาทช่วงเดียวกันของปีก่อน รายได้ไม่ใช่ดอกเบี้ย52,385ล้านบาทเพิ่มขึ้น 25.7% ขณะมีรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ 29,209ล้านบาทเพิ่มขึ้น 18.2%จาก 24,711ล้านบาทรายได้จากการดำเนินงานอื่น 23,176ล้านบาทเพิ่มขึ้น 36.6%จาก 16,971ล้านบาท อัตราส่วน ค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานลดลง 5.6%อยู่ที่ 50.0% จาก 55.6%

 ขณะที่เงินให้สินเชื่อรวมที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต ก่อนหักค่า เผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตอยู่ที่ (Gross NPL)อยู่ที่ 101,103ล้านบาท  ลดลง 3.2% จาก 104,401ล้านบาทช่วงเดียวกันของปีก่อน  โดย อัตราส่วน เงินให้สินเชื่อรวมที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต ต่อเงินให้สินเชื่อรวม อยู่ที่ 3.2% ลดลงจาก 3.9 %ช่วงเดียวกันปีก่อน 

SCBคุมNPLปี65ต่ำกว่า 4%สินเชื่อโต3-5%

ธนาคารไทยพาณิชย์มีรายได้มิใช่ดอกเบี้ย 55,171ล้านบาทเพิ่มขึ้น 15.3%จาก47,869ล้านบาท  สินเชื่อด้อยคุณภาพ 109,114ล้านบาทอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม 3.79%เพิ่มขึ้น 7.5%จาก 101,462ล้านบาท หรืออัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม 3.68% พร้อมแจ้งเป้าหมายทางการเงินปี2565 เบื้องต้น อัตราการเติบโตของสินเชื่อ 3-5% ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ 2.9-3.0% อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ 40%ต้นๆถึงกลาง  อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่ำกว่า 4.0%

ธนาคารกสิกรไทย มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 119,390ล้านบาทเพิ่มขึ้น 9.51%จาก 109,022ล้านบาท  รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ 35,316ล้านบาทเพิ่มขึ้น 7.01%จาก33,004ล้านบาท  เงินให้สินเชื่อเพิ่ม7.88%เงินรับฝากเพิ่ม 10.82%รายได้จากเงินปันผลเพิ่ม38.81% ส่วนGross NPL104,036ล้านบาทหรืออัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม 3.76% จาก 101,007ล้านบาทหรือ 3.93%

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา รวมรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม28,075ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12,956ล้านบาทหรือ 85.7%จาก 15,119ล้านบาท รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย 44,926ล้านบาทเพิ่มขึ้น37.5%หรือ12,243ล้านบาท จาก32,683ล้านบาท อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้39.8%จาก42.5%สินเชื่อด้อยคุณภาพ 47,448ล้านบาทอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม 2.20%จาก45,672ล้านบาทหรือ2.0%

 

ธนาคารทีทีบี สินเชื่อด้อยคุณภาพ 42,121ล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม2.82%จาก 39,594ล้านบาทหรือ2.50%  ธนาคารทิสโก้   มีรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ 5,608ล้านบาทเศษ เพิ่มขึ้น9.0%จาก 5,146ล้านบาทเศษ ด้านสินเชื่อด้อยคุณภาพ ในรอบปี2564มีจำนวน 4,957.31ล้านบาทลดลง 661.18ล้านบาทหรือ 11.8%คิดเป็นอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม 2.4%จาก2.5%สิ้นปีก่อน

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ทั้ง รายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น 7.0%เป็น15,701ล้านบาทจาก14,679ล้านบาทสิ้นปีก่อน และ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่ม30.4%เป็น8,545ล้านบาทจาก 6,554ล้านบาท   รวมรายได้จากการดำเนินงานเพิ่ม14.2%โดยมีผลขาดทุน1,504ล้านบาทเพิ่มขึ้น 68.2%จาก 894ล้านบาทสิ้นปีก่อน

 

ประกอบกับผลขาดทุนจากการขายรถยึดที่เพิ่มขึ้นในปี2564 แต่มีผลกำไร จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2564 เพิ่มขึ้น41%ส่วนสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต 9,498ล้านบาทหรือ 3.0%ของสินเชื่อรวม จาก 7,751ล้านบาทหรือ 2.9%ของสินเชื่อรวม

 

ธนาคารLHFG  มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 5,439.1ล้านบาทเพิ่มขึ้น 15.1%จาก 4,725.7ล้านบาท รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ 855.5ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.6%จาก 727.6ล้านบาท สินเชื่อด้อยคุณภาพ 5,109.7ล้านบาท ลดลง จำนวน258.3ล้านบาทหรือลดลง4.8% อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม2.44%จาก 2.77%สิ้นปีก่อน 

 

และซีไอเอ็มบีไทย มีกำไรสุทธิจำนวน 2,440.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 89.1% จำนวน 1,150 ล้านบาท จาก 1,291ล้านบาทสิ้นปีก่อน  สาเหตุหลักเกิดจากการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง 8.1% และผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลง 25.7% ในขณะที่รายได้จากการดำเนินงานลดลง 3.9% สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) อยู่ที่ 7.9 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ต่อเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้นอยู่ที่ 3.7% ลดลงเมื่อเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธ.ค.2563 อยู่ที่ 4.6% สาเหตุหลักจากการขายสินเชื่อด้อยคุณภาพในปี 2564 การบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ การปรับปรุงการบริหารคุณภาพสินทรัพย์และกระบวนการในการเก็บหนี้

ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิยังเหนียวแน่น

  • บมจ.กรุงเทพ อยู่ที่ 2.10% จากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 2.24%  
  • บมจ.กรุงไทย 2.49%จาก 2.76% 
  • บมจ.ไทยพาณิชย์  3.00%จาก 3.23%
  • บมจ.กสิกรไทย 3.21%จาก 3.27%
  • บมจ.กรุงศรีอยุธยา 3.24%จาก 3.47%
  • บมจ.ทีทีบี 2.97%จาก 3.00%  
  • บมจ. 4.84% จาก 4.62%  
  • บมจ.เกียรตินาคินภัทร 5.3% จาก 5.5%
  • แอลเอชฯ 2.21% จาก 2.17%ช่วงเดียวกันปีก่อน และ
  • บมจ.ซีไอเอ็มบีไทย 3.1%  จาก 3.2%

-กรุงศรี-ทีทีบี ห่วงโอมิครอนฉุด 2ปัจจัย  

แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไทย ธนาคารกรุงศรีฯระบุว่า ปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับปี 2565ได้แก่ การใช้จ่ายภายในประเทศ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับตัวดีขึ้น และการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ทั้งนี้ การส่งออกคาดว่าจะขยายตัวด้วยอัตราที่ชะลอลงตามการเติบโตของประเทศคู่ค้า

อนึ่ง เศรษฐกิจไทยอาจเติบโตได้ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้(คาดว่า ปี 2564เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 1.2%และจะขยายตัว 3.7% ในปี 2565) หากผลกระทบของการกลายพันธุ์ของไวรัสรุนแรงและยาวนานกว่าที่คาดไว้

ขณะที่ ttb analytics คาดภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวต่อเนื่องที่ 3.9% ด้วยปัจจัยหนุนทั้งจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้้นตัวต่อเนื่อง การส่งออกที่เติบโตดี และการทยอยฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปี หลัง อย่างไรก็ดี การระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่เริ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2564 คาดว่าจะกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกปี 2565