“สินทรัพย์ดิจิทัล” มีพัฒนาการรูปแบบการใช้งานตามลำดับเพื่อการลงทุน การซื้อขาย ล่าสุดเริ่มเห็นการนำไปใช้ในรูปแบบอื่นโดยเฉพาะการเอานำมาชำระค่าสินค้าและค่าบริการที่นอกเหนือจากการซื้อขายและแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ติดตามพัฒนาการมาโดยตลอดเเละได้มีการศึกษามาเป็นระยะ
ล่าสุดพบว่ามีการนำสินทรัพย์ดิจิตอลไปใช้ในวงที่กว้างมากขึ้นเช่นการชักชวนให้บริการแก่ร้านค้าหรือผู้ประกอบกิจการในร้านค้าต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกในการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น จัดทำระบบเชิญชวนให้ร้านค้า
ความกังวลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คือ ถ้ามีการใช้แบบนี้ก็อาจจะส่งผลกระทบได้ในหลายด้าน เช่น เกิดการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลแทนเงินบาท ทั้งที่ผ่านผู้ให้บริการที่เป็นตัวกลาง กระทบกับเศรษฐกิจการเงินในหลายมิติและจะเสี่ยงในหลายด้าน
ทั้งความผันผวนสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น มูลค่าบิทคอยน์ในปัจจุบันซึ่งก็มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงแตกต่างกันมาก ความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ ความเสี่ยงข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล หรือการถูกใช้เป็นเครื่องมือของการฟอกเงิน
ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกระทรวงการคลัง (กค.) ได้หารือร่วมกันถึงประโยชน์และความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัล และเห็นความจำเป็นในการกำกับดูแลและควบคุมการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment)
จึงพิจารณาใช้อำนาจตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าหรือบริการในวงกว้าง และจะมีแนวทางกำกับดูแลที่เหมาะสม สำหรับบริการที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลบางประเภทที่เป็นประโยชน์ต่อนวัตกรรมทางการเงินและไม่สร้างความเสี่ยงเชิงระบบที่กล่าวถึงข้างต้น โดยคำนึงถึงทั้งการเพิ่มศักยภาพของระบบการเงินของประเทศ และประโยชน์ของผู้ใช้บริการ ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแลจะรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องและประชาชนต่อไป
ร่างหลักเกณฑ์ห้ามมิให้ผู้ประกอบการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการนำทรัพย์สินดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า การนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาเป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการอย่างแพร่หลาย จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศ จึงควรมีการกำกับดูแลที่ชัดเจน ขณะที่เทคโนโลยีและสินทรัพย์ดิจิทัลบางประเภทที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงควรได้รับการสนับสนุน
นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า จากการหารือร่วมกันกับ ธปท. ก.ล.ต.และคลัง จะเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ต่อไป
อย่างไรก็ตามการเปิดรับฟังความคิดเห็นมีไปจนถึงจนถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565
ก.ล.ต. เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ตามมติคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2565 ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. ผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทาง e-mail: [email protected] หรือ [email protected]