นายคณาวุฒิ วรรทนธีรัช ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ OTO เปิดเผยว่า บริษัทวางแผนธุรกิจที่จะก้าวเข้าสู่ Tech Company เต็มรูปแบบ หลังจากเปิดตัว Social Bureau ซึ่ง OTO ถือหุ้น 20% เป็นแพลตฟอร์มการตรวจสอบเครดิตบนโลกไซ ซึ่งบริษัทจะมีรายได้จากค่าบริการตรวจสอบเครดิตดังกล่าว
บริษัทเตรียมเปิดตัวอีก 2 แพลตฟอร์มใหม่ ประกอบด้วย แพลตฟอร์ม E-Sport ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก โดยในเฟสแรกคาดว่าสามารถสร้างรายได้จาก Sponsorship ในการจัดแข่งขันต่างๆ และเตรียมเปิดตัวแพลตฟอร์มทางการแพทย์ ต่อยอด Tele Medicine โดยให้คำปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ (Tele Pharmacy) ซึ่งเจาะกลุ่มเภสัชกรไม่ต้องการลงทุนเปิดร้านขายยาเอง ซึ่งบริษัทจะมีรายได้จากค่าบริการต่างๆนี้
"บริษัทมั่นใจว่าเทคโนโลยีจะเข้ามามีส่วนสำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น และการขยายธุรกิจเข้าสู่ Tech Company ถือเป็นการต่อยอดธุรกิจเดิมของบริษัทฯที่มีความแข็งแกร่งอยู่ในแล้ว ในฐานะผู้นำตลาด Contact Center และ Call Center ของเมืองไทย ผลักดันธุรกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคต สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น" นายคณาวุฒิ กล่าว
โบรกฯมองโอกาสสร้างกำไรจากธุรกิจใหม่
ด้านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง เผยแพร่บทวิเคราะห์ บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์ จํากัด (มหาชน) หรือ OTO โดยระบุว่าได้ให้ราคาเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่ 16.20 – 21.00 บาท ประเมินว่านอกเหนือจากธุรกิจบริการ Call Center ที่มั่นคง OTO ได้ขยายฐานรายได้จากการลงทุนเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจโลกใหม่ ที่จะสร้างกำไรเติบโตก้าวกระโดดในอีกหลายปีข้างหน้าทั้ง Blockchain Technology , E-sport และ Platform ด้านสุขภาพ เปิดโอกาสสร้างรายได้จากลูกค้าทั่วโลก
“OTO วางเสาหลักของธุรกิจ ที่จะมาผลักดันแนวโน้มกำไรและราคาหุ้น โดยธุรกิจที่ 1 คือธุรกิจ Call center ที่สร้างพื้นฐานกำไรไว้อย่างมั่นคง ธุรกิจที่ 2 คือ Blockchain Technology แบ่งเป็น 2.1 มีการสร้างรายได้บนการ รับ , แจ้ง , จัดเก็บ ข้อมูลอาชญกรรมไชเบอร์ โดยจะมีค่าใช้จ่ายขอตรวจสอบต่อครั้งประมาณ $3 (หรือราว 100 บาท) คาดเปิดบริการช่วงไตรมาส 2 – ไตรมาส 3 ปี 65 และ 2.2 Platform E-Sport ซึ่งในส่วนนี้จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กิจการผ่าน Crypto Currency, NFT ในอนาคต ส่วนธุรกิจที่ 3 คือ Platform ทางการแพทย์ ที่ตอบโจทย์ทั้ง Tele-Pharmacy และ Tele-Medicine”
ดังนั้น จึงประเมินมูลค่าหุ้น OTO สำหรับปี 2566 ที่ 16.20 – 21.00 บาท โดยได้รวมมูลค่าของธุรกิจใหม่ที่บริษัทเข้าลงทุนไปด้วย เพื่อสะท้อนความคาดหวังที่แท้จริงของตลาด และมูลค่าที่ซ่อนอยู่ในอนาคต โดยได้ทำ sensitivity analysis สำหรับธุรกิจใหม่ กรณีที่มีความอนุรักษ์นิยมเป็นไปได้มากสุดจนถึงกรณีดีสุด ทั้งนี้ให้ส่วนลด-พลาดเป้าหมายเริ่มตั้งแต่ 0%-20% ทั้งนี้ Tactical target price ข้างต้นเทียบการเดิบโตของกำไรเฉลี่ย 75% CAGR ปี 2023-26 อิง PEG เทียบ implied EPS (รวมธุรกิจใหม่) ปี 2566 เพียง 0.5-0.7 เท่า
บล.กรุงศรีให้ราคาเป้าหมาย 17 บาท
ด้าน บล. กรุงศรี เริ่มการ coverage ด้วยคำแนะนำซื้อโดยให้ราคาเป้าหมายที่ 17 บาท จากการเปลี่ยนธุรกิจจากที่เน้นบริการคอลเซ็นเตอร์เป็นบริษัทเทคโนโลยี โดยคาด OTO จะสามารถสร้างกำไรปกติเติบโต 78% ต่อปี CAGR ในช่วง FY22-23F จากทั้งการดำเนินงานธุรกิจเดิมและส่วนแบ่งกำไรจากธุรกิจใหม่ที่จะสร้าง S-curve ใหม่
OTO เป็นผู้นำในการให้บริการเอาท์ซอร์ส คอลเซ็นเตอร์หรือศูนย์บริการข้อมูล แบ่งธุรกิจเป็น
โดยบริษัทได้ลงทุนในธุรกิจใหม่ 4 ธุรกิจด้วยกันได้แก่ : (1) 20% ใน Social Bureau, (2) 20% ในGaming Platform, (3) ธุรกิ จ Tele Pharmacy, แ ล ะ (4) 10% ใน Hinsitsu (ร่วมกับ SIMAT)
เราคาดว่ากำไรต่อหุ้น ( EPS) OTO จะเติบโต 78% CAGR ในช่วงสองปีข้างหน้า ในกรณีฐานคาด OTO จะมีกำไรปกติเติบโต 78% ต่อปี CAGR ในช่วงปี FY22- 23F จากรายได้ธุรกิจเดิมเติบโต 15% ต่อปี CAGR ในช่วงปี FY21-23F โดยมีอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มเป็น 18.5% ใน FY23F จาก 16.5% ใน FY21
โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักจาก: (1) การฟื้นตัวของธุรกิจเดิมหลังการระบาด, และ (2) การใช้ เทคโนโลยีใหม่กับธุรกิจเดิม (คอลเซ็นเตอร์) รวมถึงเงินลงทุนที่จะสร้างส่วนแบ่งกำไร 37ล้านบาท ใน FY22F และ 107ลบ. ใน FY23F
"เราเชื่อว่ากลยุทธ์ของ OTO ในการปรับเป็นบริษัทเทคฯ จะหนุนกำไรให้เติบโตแข็งแกร่งในช่วงปี FY22-23F จากทั้งธุรกิจเดิมและส่วนแบ่งกำไรจากธุรกิจ S-curve ใหม่ ประเมินมูลค่า OTO ที่ 17.0บาทต่อหุ้น อ้างอิง 78x FY22F PE (1.0x PEG, 78% ต่อปี CAGR)" บทวิเคราะห์ บล.กรุงศรี ระบุ