ยื่นแบบภาษี เช็คเลย! เงื่อนไขค่าเบี้ยประกันหักลดหย่อนภาษีได้เท่าไร

08 มี.ค. 2565 | 02:15 น.
อัปเดตล่าสุด :08 มี.ค. 2565 | 09:24 น.

ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สรุปเงื่อนไขการใช้สิทธิเบี้ยประกันเป็นค่าลดหย่อนภาษี ต้องเป็นประกันแบบไหน และหักลดหย่อนได้เท่าไร เงื่อนไขที่ต้องรู้ รวบรวมให้แล้วที่นี่

"การยื่นแบบเสียภาษี" มนุษย์เงินเดือนเมื่อประเมินรายได้คำนวณอัตราการเสียภาษีแล้ว การใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ถือเป็นตัวช่วยที่จะช่วยประหยัดเรื่องรายจ่ายภาษี ซึ่งรวมถึงการใช้สิทธิเบี้ยประกัน นำมาเป็นค่าลดหย่อนสำหรับยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้

 

แต่ไม่ใช่ว่าเบี้ยประกันจากกรมธรรม์ทุกประเภท จะนำมาขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เสมอไป จะต้องเป็นกรมธรรม์ตรงตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นผู้เสียภาษีที่ต้องการใช้สิทธิในส่วนนี้  ต้องทำความเข้าใจถึงค่าเบี้ยประกันที่สามารถนำลดหย่อนภาษีใด้  ประเภทของเบี้ยประกัน และเงื่อนไข  

 

 

ประเภทเบี้ยประกันที่ลดหย่อนภาษีได้

 

เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป
 

- การใช้สิทธิค่าลดหย่อน

 

  • ผู้มีเงินได้ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง

      แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

  • คู่สมรส (ไม่มีเงินได้) ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง

      แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

 

-  เงื่อนไข

 

  • ทำประกันกับบริษัทประกันในประเทศไทย
  • อายุกรมธรรม์ 10 ปีขึ้นไป
  • ได้รับเงินคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันรายปี
  • ห้ามเวนคืนก่อนครบกำหนด

 

เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
 

- การใช้สิทธิค่าลดหย่อน

 

  • ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี

      แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

  • ทั้งนี้ ค่าลดหย่อนที่ใด้รับสิทธิเมื่อรวมกับ

      กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบช.)
      กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
      กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
      กองทุนสงเคราะห์ตรูโรงเรียนเอกชน
      และ RMF แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

 

-  เงื่อนไข

 

  • อายุกรมธรรม์ 10 ปีขึ้นไป
  • ทำประกันกับบริษัทประกันในประเทศไทย
  • ต้องจ่ายผลประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ
  • ช่วงอายุการจ่าย 55 - 85 ปีหรือมากกว่านั้น
  • ต้องจ่ายเบี้ยครบก่อนได้รับผลประโยชน์

 

เบี้ยประกันประกันสุขภาพ
 

- การใช้สิทธิค่าลดหย่อน

 

  • ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง

      แต่ไม่เกิน 25,000 บาท

 

- เงื่อนไข

 

  • เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป

       ต้องไม่เกิน 100,000 บาท

 

เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา

 

- การใช้สิทธิค่าลดหย่อน

 

  • ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง

      แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

 

- เงื่อนไข

 

  • บิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส

      ต้องมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี

 


ทั้งนี้การยื่นแบบภาษี 2565 สำหรับเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2564  ภ.ง.ด. 90, ภ.ง.ด. 91 สามารถยื่นแบบฯได้ถึง 31 มีนาคม 2565 (กรณีที่เป็นแบบกระดาษ)  และยื่นได้ถึง 8 เมษายน 2565 ( กรณีที่ยื่นผ่านออนไลน์)