ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สภาวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)กล่าวในช่วงเสวนา แผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต.กับทิศทางเศรษฐกิจและตลาดทุนปี2565 โดยระบุว่า ภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคช่วง2ปีที่ผ่านมา(2563-2564) เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงอย่างน้อย 4ระลอกจากโควิด-19
ขณะที่เศรษฐกิจโลก และประเทศพัฒนาแล้วฟื้นตัวได้รวดเร็ว ทำให้ความไม่เท่าเทียมของการเติบโตหรือฟื้นตัวด้านเศรษฐกิจไม่เท่ากัน โดยประเทศพัฒนาแล้วสามารถเข้าถึงวัคซีนและก่อหนี้เช่นกัน ดึงการส่งออกไทยฟื้นตัวได้แล้ว แม้จะมีปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ เงินเฟ้อ โดยไทยต้องนำเข้าพลังงาน อัตราเงินเฟ้อเมื่อเศรษฐกิจต่างประเทศฟื้น ธนาคารกลางประเทศต่างๆชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ที่จะปรับลดสภาพคล่องและปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้น ส่วนเมืองไทยพบว่า ระยะหลังภาครัฐสามารถอัดฉีดวัคซีนได้เร็วขึ้น จากช่วงต้นช้ากว่าชาวบ้าน และไทยใช้เม็ดเงินทางการคลังไปค่อนข้างมาก(ปี2563 และ 2564 ไทยออกพ.ร.ก.เงินกู้ 1ล้านล้านบาท และ 5แสนล้านบาทตามลำดับ)เพื่อกระต้นุเศรษฐกิจ
สำหรับเศรษฐกิจไทยปี2565ยังไม่สามารถฟื้นกลับมา โดยต้องต้องรอการฟื้นตัวในปีหน้า เนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19 แต่ปีนี้ภาคการส่งออกยังคงเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สิ่งที่น่ากังวลคือ ภาครัฐปรับลดงบประมาณซึ่งภาคเอกชน ประชาชาต้องสู้เพื่อตัวเองพอสมควร
“ ปีนี้ทั้งเอกชน ประชาชนต้องดิ้นร้นเพื่อตัวเอง ซ้ำร้ายยังมีความเสี่ยงจากสงครามรัสเซีย และ การแพร่กระจายของสายพันธุ์โอมิครอน โดยรัสเซียเป็นนักท่องเที่ยวที่สำคัญของไทย โดยมีราคาพลังงาน ทั้งนี้ ถ้าโควิดสายพันธุ์โอมิครอนกระจายตัวเพิ่มขึ้นก็น่าเป็นห่วง เรามองจีดีพีของไทยจากที่คาดการณ์ว่าจะเติบโต3.0-3.5%ถ้าสถานการณ์สงครามไม่รุนแรงไปกว่านี้”
ด้านตลาดทุนนั้น อยากเห็นก.ล.ต.มุ่งเน้นฐานเศรษฐกิจใหม่ เช่น สินทรัพย์ดิจิทัล เข้ามาตลาดทุนมากขึ้น เพราะเมื่อมีโปรดักส์ที่ดีคนจะเข้ามาลงทุนหรือหาตัวแทนเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะการดึงคนออมเงินและเอสเอ็มอีเข้าสู่ตลาดทุน ส่วนหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และแผลเป็นทางเศรษฐกิจทั้งภาระหนี้ครัวเรือนและหนี้สาธารณะของภาครัฐ
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า ตลาดทุนไทยช่วงวิกฤติผลจากโควิดช่วงสองปีมีความไม่แน่นอนสูงแต่ผลกระทบตลาดทุนไม่มาก โดยบริษัทจดทะเบียน700-800บริษัทมีความแข็งแรงปีที่แล้วมีกำไรรวม 9แสนล้านบาทซึ่งกลับมาเท่ากับระดับเดิมแล้วของปี2562
“ ตอนนี้ทั้งตลาดแรกและตลาดรองเรามีพัมนาการที่ดีแต่ตลาดรองเราอยู่ในจุดเปลี่ยนที่สำคัญของตลาดทุนไทย คือ เติบโตเกือบเต็มที่แล้ว จากนี้ไปต้องหา Growth Engineใหม่ไปเป็นผู้เล่นในระดับภูมิภาค และมีการใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น จากตอนนี้มีขนาด120%ของจีดีพีตลาดตราสารหนี้ก็ใกล้ 100% โจทย์ต่อไปต้องทำให้ตลาดทุนเป็นแหล่งไฟแนนซ์ให้ภาคธุรกิจ เช่น ขณะที่หลายประเทศอยู่ที่ 200%สิงคโปร์ 300% ฮ่องกงบวกจีน700-800%”
สิ่งที่อยากเห็นตลาดทุนจะเป็นแหล่งระดมทุนให้เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ ซึ่งพร้อมแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเอสเอ็มอีที่จะปรับตัว เช่น บัญชีเดียว หรือสตาร์ทอัพที่เติบโตขึ้นยิ่งมีความสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีรองรับการระดมทุนให้สตาร์ทอัพเติบโตและแหล่งระดมทุนระดับภูมิภาค
ที่สำคัญอนาคตผู้ประกอบการจะแข่งขันกันด้วยการให้คำแนะนำลูกค้า โดยเฉพาะการให้คำแนะนำหุ้นต่างประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการต้องขยับสถานะเพื่อรองรับระดับภูมิภาคแต่ยังต้องมีการพัฒนา และปรับปรุงตัวเองด้วย นอกจากนี้เมืองไทยยังขาดแคลนนักวิเคราะห์ ซึ่งอนาคตธุรกิจต้องแข่งกันด้วยการแนะนำการลงทุน ดังนั้นผู้ประกอบการต้องให้บริการข้อมูล หรือการวิเคราะห์ข้อมูลและงานวิจัยที่มีความสำคัญมาก”
นายศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ นายกสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทยกล่าวว่า ภาพรวมตอนนี้สินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ในตลาดหมีโดยสมบูรณ์ เห็นได้จากราคาบิทคอยน์อยู่ที่ 3-4หมื่นดอลลาร์ ส่วนนักลงทุนสนใจเข้ามาศึกษาตลาด แม้ความเสี่ยงสูงแต่ผลตอบแทนสูงเช่นกัน โดยเฉพาะนักลงทุนรุ่นใหม่อายุน้อยยังมีโอกาส แต่ขอให้นักลงทุนวัยเกษียณระมัดระวังและอาศัยเครื่องมือหรือผู้จัดการการลงทุนซึ่งมีประสบการณ์ให้คำแนะนำ
ที่สำคัญ อีกประการกิจกรรมระดมทุนสินทรัพย์ดิจิทัลยังมีข้อจำกัด แม้จะมี ICO Portal ตั้งแต่พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลออกมา ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย แม้ที่ผ่านมามีการระดมทุนออกมาแล้ว เช่น สิริฮับ นอกจากการระดมทุนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แล้วในส่วนของระบบโครงสร้างพื้นฐานของสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งจะเป็นGrowth Engineอีกตัว
อย่างไรก็ตาม การเติบโตยุคนี้ต้องมองแบบบูรณาการเพื่อให้เกิดผลอย่างจริงจัง อันดับแรกคือ ภาครัฐตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อให้แต่ละหน่วยงานหรือภาคเอกชนสานต่อนโยบายและเป้าหมาย รวมถึงภาพรวมทั้งเทคโนโลยี แรงงาน ซึ่งปัจจุบันยังต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ดังนั้นควรกำหนดหลักสูตรเพื่อจะดึงคนมีความเชี่ยวชาญเข้ามาให้ความรู้ โดยหลายภาคส่วนต้องทำร่วมกัน ไม่ใช่เฉพาะกระทรวงศึกษาและก.ล.ต.เท่านั้น
“ ความเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลขอบเขตไร้พรมแดนตลาดกว้างทั่วโลก ซึ่งสตาร์ทอัพสามารถสร้างมาเก็ตแคปให้ใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกันสินทรัพย์ดิจิทัล สามารถทำให้เกิดนิวเอสเคิร์ฟได้ หากมีการสนับสนุนผู้ประกอบการที่ดีจะดึงเงินเข้าประเทศได้”