สคบ.ยันคุมเช่าซื้อไม่ผลักประชาชนซบหนี้นอกระบบ

02 พ.ย. 2565 | 09:19 น.
อัปเดตล่าสุด :02 พ.ย. 2565 | 17:35 น.

สคบ.เผยคุมสัญญาเช่าซื้อ ไม่ผลักประชาชนสู่หนี้นอกระบบ แจงตัวแทนผู้บริโภคยอมจ่ายวงดาวน์เพิ่มช่วยผู้ประกอบการบริหารความเสี่ยง-ระบุผลสำรวจพบบางแห่งคิดดอกเบี้ยสูง 40-50%

นายอุฬาร  จิ๋วเจริญ  รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ “สคบ.คุมสัญญาเช่าซื้อทางออกแก้หนี้ภาคประชาชน หรือ ผลักผู้บริโภคสู่หนี้ออกระบบ”  โดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจมัลติมีเดีย จัดสัมมนา THE  BIG  ISSUE 2022 คุมสัญญาเช่าซื้อ ลีสซิ่งสะเทือน โดยระบุว่า

สคบ.ยันคุมเช่าซื้อไม่ผลักประชาชนซบหนี้นอกระบบ

ที่ผ่านมาเมื่อปี 2522 บทบาทสคบ.ต้องดูแลควบคุมการละเมิดสิทธิ  ขณะเดียวกันจะมีคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเข้ามาดูหรือต้องควบคุมสัญญาเพื่อเกิดความเป็นธรรม  เปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจเปลี่ยนธุรกิจได้บนพื้นฐาน    คณะกรรมการว่าด้วยสัญญามาควบคุมให้ธุรกิจให้เช่าซื้อเป็นธุระกิจควบคุมสัญญา เพราะถ้าไม่มีกฎหมายย่อมไม่มีอำนาจ และการออกกฎหมายต้องรอบครอบ

 

 

โดยเฉพาะประกาศฉบับใหม่ปี2565 ต้องอาศัยมาตรา35 ทวิ แห่ง พระราชบัญญัติ(พรบ.) พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา 4  มาตรา 5 กฤษฏีกาปี2542 ซึ่งการออกประกาศเช่าซื้อ3ฉบับ

 

สำหรับประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาพ.ศ.2561  ไฮไลต์คือ กำหนดให้แสดงภาระหนี้แนบท้ายสัญญา  การคิดดอกเบี้ยเช่าซื้อแบบคงที่หรือFlat Rate และต้องเทียบให้เห็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือแบบลดต้นลดดอก(Effective Rate)เพื่อสะท้อนแต่ละงวดมีการคิดดอกเบี้ยและเงินต้นเท่าไร

 

ส่วนการให้ส่วนลดกรณีปิดหนี้ทั้งหมด จะได้รับส่วนลด 50%ของดอกเบี้ยที่ยังไม่ครบกำหนด  เมื่อเกิดโควิดภารกิจแก้หนี้ภาคประชาชนรัฐบาลมอบให้สคบ.ได้มาดูสัญญาเช่าซื้อมีสิ่งใดจะแก้ไขเพื่อช่วยภาคประชาชนได้รับผลกระทบโควิดสามารถบรรเทาความเดือดร้อน  ลดความเหลื่อมล้ำและเป็นธรรม โดยรับมอบนโยบาย(จากรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ท่านอนุชา นาคาศัย)

 

ส่วนเรื่องเช่าซื้อ  การกู้ยืมเงิน   หรือจำนอง  ขายฝาก  รวมถึงการเช่าซื้อถ้าไม่ใช่ธนาคารในกำกับของธปท.สามารถที่จะคิดดอกเบี้ยอย่างเสรีตามกลไกของตลาด เมื่อพิจารณายอดผู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส1 ปี2565 ยอดกู้เงินผ่านธนาคารพาณิชย์  6.27ล้านล้านบาท  และยอดกู้เงินสินเชื่อส่วนบุคคล 1.62ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 0.55% (ตัวเลขจากธปท.)

 

ขณะเดียวกัน ธปท.ระบุถึงหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 88-89%ต่อจีดีพี  สะท้อนว่าสูงเกินไป ซึ่งธปท.เห็นว่าไม่ควรเกิน 80%ต่อจีดีพีโดยธปท.พยายามจะรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศ  แต่ยังมีช่องว่างสำหรับผู้ที่ไม่อยู่ภายใต้กำกับของธปท.หรือผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงินหรือนันแบงก์โดยยังไม่หน่วยงานกำกับซึ่งจำเป็นที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาจะมากำหนดรูปแบบสัญญาเช่าซื้อโดยเฉพาะสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ที่ผู้บริโภคซื้อเพื่อส่วนตัวเท่านั้น  ไม่ใช่เช่าซื้อเพื่อประกอบธุรกิจ

 

ที่ผ่านมาแต่ละปีคนไทยซื้อรถจักรยานยนต์ประมาณ 1.8ล้านคันวงเงินสินเชื่อต่อปีประมาณ 60,000-80,000ล้านบาท  อัตราดอกเบี้ยที่คิดนั้น จากการศึกษาของธปท.ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)  และข้อมูลจากสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย  สมาคมเช่าซื้อรถจักรยายนต์  จากการสำรวจของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด  ซึ่งสคบ.ขอความร่วมมือพบว่า บางแห่งผู้บริโภคต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 40-50%

 

ทั้งนี้ สคบ.ศึกษาสัญญากับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)  ศาลยุติธรรม  ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค  ตัวแทนภาคประชาชน ภาคธุรกิจทั้งภาคการเงิน ซึ่งใช้เวลาศึกษา 2ปี จากนั้นส่งผลการศึกษาให้คณะอนุกรรมการว่าด้วยสัญญา

 

จากนั้น  เลขาธิการสคบ.คนปัจจุบัน (นายธสรณ์อัฑฒ์ ธนิทธิพันธ์) ตั้งผมเป็นหัวหน้าคณะทำงานเพื่อศึกษาเพิ่มเติมจากคณะอนุศึกษามาแล้ว  อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด   โดยธปท.ควบคุมดอกเบี้ยของธนาคารในกำกับ อัตราดอกเบี้ยต่างๆไม่ว่าขาเข้าหรือขาออก  ธปท.กำหนดนโยบาย

 

การกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อ รถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาพ.ศ2565 มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ย สำหรับรถยนต์ใหม่ไม่เกิน 10%ต่อปี รถยนต์ใช้แล้ว 15%ต่อปีและรถจักรยานยนต์ไม่เกิน 23%ต่อปีโดยคำนวณอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี(Effective Rate)

 

“เมื่อการควบคุมเพดานดอกเบี้ย สคบ.ได้พูดคุยผู้แทนของผู้บริโภคจะผลักภาระผู้บริโภคสู่หนี้นอกระบบหรือไม่ ผู้บริโภคบอกว่าไม่  ,ถามกลับอีกว่า หากต้องเพิ่มเงินดาวน์เพื่อผุ้ประกอบการต้องบริหารความเสี่ยงเพิ่มขึ้นนั้นทางผู้บริโภคก็ยินดี และปรับตัวเก็บเงินก่อนซื้อรถ ผู้ประกอบการลดความเสี่ยงจะเสียเงินต้นหรือยึดรถขายทอดตลาด ไม่ต้องนคดีสู่ศาล หรือเรียกผู้ค้ำประกันและหนี้นอกระบบปัจจุบันถูกควบคุมทั้งอัตราดอกเบี้ยห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินกำหนดหรือกฎหมายห้ามทวงถามหนี้ล้วนเป็นความผิดทางอาญา จึงคิดว่าผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์และไม่ต้องอออกไปสู่หนี้นอกระบบ”