ธปท. เผยไตรมาส1/66แบงก์พาณิชย์ปล่อยสินเชื่อใหม่สู่ระบบโต2.9%

22 พ.ค. 2566 | 12:03 น.
อัปเดตล่าสุด :23 พ.ค. 2566 | 09:23 น.

ธปท.เผยสินเชื่อรายย่อยขยายตัวสะท้อนครัวเรือนต้องการใช้สินเชื่อเพื่อการดำรงชีพ ขณะรายใหญ่หันระดมทุนดันตราสารหนี้โต 14.1% จับตาSM 6.6แสนล้านบาทจี้แบงก์ช่วยลูกหนี้ก่อนไต่ระดับเป็นหนี้เสีย -แนะใช้วงเงินฟื้นฟูอีก 40,000ล้านบาทภายใน 9เม.ย.67

นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย( ธปท.) หรือแบงก์ชาติ เปิดเผยว่าภาพรวมธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 1 ปี 2566 สินเชื่อขยายตัวอัตราชะลอลง  0.51% จากการชำระคืนของภาครัฐและธุรกิจรายใหญ่ รวมทั้งซอฟท์โลนด้วยทั้งนี้ หากรวมการโอนขายพอร์ตรายย่อยของธนาคารแห่งหนึ่งไปยังบริษัทย่อยสินเชื่อรวมขยายตัวที่ 1.3%

ส่วนตลาดตราสารหนี้ขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่องในหลายไตรมาส ซึ่งไตรมาส1/66 เร่งตัวขึ้นอยู่ที่ 14.1%โดยมาจากธุรกิจรายใหญ่ต้องการล็อคเเรท ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นนอกจากเตรียมสภาพคล่องก็ใช้ในการชำระหนี้ส่วน คืบหน้ามาตรการ Soft Loanที่อนุมัติ 1.38แสนล้านบาททะยอยชำระคืนเกือบทั้งหมดแล้ว 

ธปท. เผยไตรมาส1/66แบงก์พาณิชย์ปล่อยสินเชื่อใหม่สู่ระบบโต2.9%

"ถ้ารวมการชำระคืนหนี้ของภาครัฐ  การโอนพอร์ตรายย่อย  และสินเชื่อซอฟท์โลนที่ชำระคืนหนี้ส่งให้สินเชื่อรวมเติบโต2.9%สะทัอนยังมีการปล่อยเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ระบบ"

หากพิจารณาสินเชี่อธุรกิจพบว่า หดตัว0.3% สินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้น 2.1% ส่วนสินเชื่อธุรกิจที่แยกตามขนาดใหญ่ ขยายตัว 2% สินเชื่อ SME รายย่อยหดตัว 3.5%(หักซอฟท์โลนจะหดตัว2%)

สำหรับสินเชื่ออุปโภคบริโภคนั้น  พบว่าสินเชื่อส่วนบุคคลมีอัตราขยายตัว 4.6%(หากรวมการโอนพอร์ตรายย่อยจะขยายตัว9.8%) เช่นเดียวกับบัตรเครดิตหากไม่รวมการโอนพอร์ตรายย่อย จะติดลบ 13.7%แต่หากรวมการโอนพอร์ตรายย่อยจะขยายตัว 8.1%

เหล่านี้สะท้อนความต้องการใช้สิน เชื่อครัวเรือนเพื่อการดำรงชีพ ขณะที่สินเชื่อบ้านขยายตัว 2.9% ปรับลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ขณะที่สินเชื่อรถทรงตัวอยู่ที่ระดับ 1.1%

ธปท. เผยไตรมาส1/66แบงก์พาณิชย์ปล่อยสินเชื่อใหม่สู่ระบบโต2.9%

สินเชื่อฟื้นฟูเหลืออีก 4หมื่นล.

นางสาวสุวรรณีกล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของลูกหนี้ภายใต้มาตรการช่วยเหลือภาระหนี้ลดลงเล็กน้อยเป็น 3.37 ล้านล้านบาท โดย จำนวนบัญชี 5.26 ล้านบัญชี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากกลุ่มลูกหนี้นันแบงก์

สำหรับสินเชื่อฟื้นฟูยังมีวงเงินอีก 4 หมื่นล้านบาท สามารถใช้ได้ทั้ง 2 วัตถุประสงค์คือ เพื่อธุรกิจเปิดกิจการอีกครั้ง(re open )และเพื่อการปรับตัวภายในวันที่ 9เม.ย.2567 ส่วนมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ซึ่งปิดไปแล้วเมื่อ9เม.ย.2566 มีลูกหนี้เข้าร่วมโครงการ 500 รายวงเงินอนุมัติ 74,114 ล้านบาท โดยมีวงเงินคงเหลือ 25,886ล้านบาท โดยครม.มีมติให้โอนเป็นสินเชื่อฟื้นฟูซึ่งเดิม 2.5แสนล้านบาทจะรวมเป็น 275,886ล้านบาท

ปัจจุบันอนุมัติ ไปแล้ว 236 ,218 ล้านบาท จำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ 63,187 รายวงเงินเฉลี่ยต่อราย 3.7 ล้านบาท โดยมีการกระจายตัวตัวที่ดีทั้งขนาดประเภทธุรกิจและภูมิภาค โดย 72.7% เป็นธุรกิจ Micro และ SME วงเงินเดิมต่ำกว่า 50 ล้านบาท 68.1% ประกอบธุรกิจพาณิชย์และบริการ และ 69.7% เป็นลูกหนี้ที่อยู่ใน ต่างจังหวัด และภูมิภาค

 "สินเชื่อเฟื่อการปรับตัว" ปัจจุบันมี 16ธนาคารส่ง product Programต่อธปท. และมีการปล่อยเงินกู้ให้กับ SME แล้ว 11 สถาบัน โดยการปรับตัวใน 3รูปแบบคือ Green,Digital, TechnologyและInnovation)วงเงินอนุมัติแล้ว 3,362 ล้านบาทจำนวนผู้ประกอบการ 330 รายวงเงินอนุมัติเฉลี่ย 10.2 ล้านบาทต่อราย

ซึ่งเป็นการลงทุนในรูปแบบGreen 58%จาก330ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อ65% ส่วนใหญ่เป็นการปรับตัวด้านการติดตั้งโซล่าเซลล์ รองรับภาระค่าไฟที่สูงขึ้น หรือ ติดตั้งเครื่องจักรเพื่อเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทนต่างๆ ลงทุน Charging Station กลับรถ EV หรือลงทุนอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ที่ได้รับฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง

รองลงมาเป็นการลงทุนในรูปแบบDigital Technology; โดย มีจำนวนราย 30% คิดเป็นวงเงินประมาณ 23% เห็นว่ามีการกู้ยืมเงิน เปลี่ยนเครื่องจากให้รองรับการทำงานแบบ automation หรือลงทุนระบบงานจัดซื้อและบริหารสต๊อกสินค้า หรือเพิ่มช่องทางขายผ่านออนไลน์แพลตฟอร์ม

และInnovation; มีจำนวนราย และ วงเงินสินเชื่อคิดเป็น 12% โดย ลงทุน Smart farming หรือลงทุนโรงเลี้ยงสัตว์ระบบปิดลงทุนแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มหรือส่งออกปรับเปลี่ยนสถานประกอบการในทุกเป็นธุรกิจ wellness หรือศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเป็นต้น

ล่าสุด โครงการ"คลินิกแก้หนี้" ปรับปรุงเงื่อนไขตั้งแต่วันที่ 1พ.ค.2566เพื่อให้ลูกหนี้มีสิทธิ์เข้าถึงโครงการและแก้ไขหนี้ได้อย่างทันถ้วนทียิ่งขึ้น โดย เพิ่มโอกาสให้ลูกหนี้ ด้วยการ ปรับเกณฑ์คุณสมบัติลูกหนี้

1.หนี้ค้างชำระเกินกว่า 120 วันขึ้นไปสามารถเข้าร่วมโครงการได้ จากเดิม กำหนดค้างชำระ 90วัน และแทนกาค Cut off date  2 ครั้ง (ก.พ.และก.ย.)

 

2. เพิ่มทางเลือกการปรับเงื่อนไขหลังเข้าร่วมโครงการ ตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณีเช่น ปรับโครงสร้างหนี้และจำกัดจำนวนครั้งของการปรับเงื่อนไขเพื่อไม่ให้เสียวินัยทางการเงิน จากเดิมที่มีรูปแบบจำกัดโดยให้ลูกหนี้พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยได้สูงสุดครั้งละไม่เกิน 6 เดือนเท่านั้น

 

3. สถาบันการเงินในโครงการร่วมผลักดันการสื่อสาร เพิ่มเติมจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และSAMดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะลูกหนี้ที่ตรงกับคุณสมบัติทราบถึงสิทธิของโครงการ

ธปท. เผยไตรมาส1/66แบงก์พาณิชย์ปล่อยสินเชื่อใหม่สู่ระบบโต2.9%