ธปท.ชี้เทรนด์เงินบาทยังผันผวน ดัน FX Ecosystem ใหม่ 3กลุ่มเป้าหมาย

27 มิ.ย. 2566 | 22:54 น.
อัปเดตล่าสุด :28 มิ.ย. 2566 | 00:31 น.

ธปท.ชี้เทรนด์เงินบาทยังผันผวน ดัน FX Ecosystem ใหม่ เจาะ 3กลุ่มเป้าหมาย “ผู้ประกอบการไทย นักลงทุนไทยและบริษัท/นักลงทุนต่างชาติ”

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ จัดงาน Media Briefing ครั้งที่ 5 เรื่องความคืบหน้าการผลักดัน FX Ecosystem ใหม่ โดยนางสาวพิมพ์พันธ์  เจริญขวัญ  ผู้อำนวยการอาวุโส  ฝ่ายตลาดการเงิน  ธปท. อัพเดตการเคลื่อนไหวเงินบาท โดยกล่าวว่า  ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ค่าเงินบาทอ่อนค่าประมาณ  1.6% ดูเหมือนไม่เคลื่อนไหวนัก แต่ระหว่างทางแข็งค่าขึ้นลงพอสมควร

โดยเฉพาะไตรมาส 1เงินบาทแข็งค่าแตะ 32 บาทต่อดอลลาร์  ก่อนจะพลิกกลับมา 35บาทต่อดอลลาร์ในไตรมาส 2  ซึ่งจะมีปัจจัยร่วมหลายสกุลเงินอื่นๆด้วย   ขณะที่ล่าสุด เงินบาทเคลื่อนไหวลดลงประมาณที่ 6.5% เมื่อ 23 มิ.ย. เทียบกับสกุลเงินประเทศเพื่อนบ้านเงินบาทยังผันผวนสูง   ยกเว้น เงินวอน และเงินเยนที่ผันผวสนสูงกว่าไทย  

ธปท.ชี้เทรนด์เงินบาทยังผันผวน ดัน FX Ecosystem ใหม่  3กลุ่มเป้าหมาย

3ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าเงินบาท ได้แก่  ปัจจัยภายนอก  เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและการดำนินนโยบายการเงินของประเทศหลัก  ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก (สัดส่วนกว่า 60%)  2.ปัจจัยภายในประเทศคือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและสถานการณ์ทางการเมือง  และ3.พฤติกรรมบางอย่างที่เป็นลักษณะพิเศษของไทย  เช่น การซื้อขายทองคำ/ การออกไปลงทุนต่างประเทศ

“ ความผันผวนของค่าเงินบาทมาจากปัจจุบันภายนอก  เกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศหลัก (สหรัฐ,จีน )  แนวโน้มยังผันผวน จากปัจจัยเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน การเมืองที่ต้องจับตาและปัจจัยพิเศษเช่น การซื้อหรือขายทองคำและการออกไปลงทุนต่างประเทศของนักลงทุนไทย  ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องป้องกันความเสี่ยงในธุรกิจ  ขณะเดียวกันแบงก์ชาติพยายามอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการดูแล FX Ecosystem เพื่อให้การทำธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยนมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น”นางสาวพิมพ์พันธ์ กล่าว

ธปท.ชี้เทรนด์เงินบาทยังผันผวน ดัน FX Ecosystem ใหม่  3กลุ่มเป้าหมาย

-หนุนใช้สกุลเงินท้องถิ่นดูแลค่าเงิน

ธปท.ชี้เทรนด์เงินบาทยังผันผวน ดัน FX Ecosystem ใหม่  3กลุ่มเป้าหมาย

 นางสาวอลิศรา มหาสันทนะ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่า  มองไปข้างหน้าค่าเงินบาทยังมีความผันผวน พร้อมย้ำให้ผู้ประกอบการบริหารจัดการและป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งธปท.ให้ความสำคัญเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องและได้ปรับปรุงดูแล FX Ecosystem มาอย่างต่อเนื่อง

" FX Ecosystem" ซึ่งเป็นแผนระยะยาวที่ธปท.ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับโครงสร้างระบบนิเวศอัตราแลกเปลี่ยนเอื้อต่อผู้ประกอบการในประเทศและนักลงทุนต่างประเทศและผู้ประกอบการไทยสามารถรองรับความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน เพราะไม่สามารถคาดเดาความผันผวนได้ เนื่องจากเกิดจากปัจจัยภายนอกเป็นส่วนใหญ่  ดังนั้นความสามารถในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนจึงมีความสำคัญ

ส่วนการลงทุนหลักทรัพย์นั้น เป็นเรื่องระยะยาวเช่นกัน และเรื่องการสนับสนุนการใช้สกุลเงินท้องถิ่นหรือLocal  Currency  ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง   เนื่องเพราะไทยมีการค้าการลงทุนกับหลายประเทศสำคัญ อาทิจีน  สหรัฐ  ญี่ปุ่น และประเทศในภูมิภาคในสัดส่วนที่สูงแต่ยังคงใช้เงินดอลลาร์ในการชำระสูงใกล้ 80%  (79.6%) โดยมีการใช้สกุลเงินท้องถิ่นเพียง 20%

จึงเป็นเหตุผล เมื่อดอลลาร์ผันผวนจะส่งผลต่อค่าเงินบาทและส่งผลต่อผู้นำเข้าและส่งออกไทย   แต่หากเทียบค่าเงินบาทกับค่าเงินภูมิภาคจะเคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับเงินบาท  ขณะเงินบาทเคลื่อนไหวสวนทางกับดอลลาร์

ดังนั้นเรื่องการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการชำระ จะเป็นทางเลือกที่ผู้ประกอบการนำไปพิจารณาเพื่อจะลดผลกระทบจากความผันผวนหรือผลกระทบดอลลาร์ในอนาคตได้  ที่ผ่านมา ธปท.ได้ดำเนินการไปแล้วใน 4สกุลหลัก (หยวน  ริงกิต  รูเปียะห์  และ เยน) 

โดยแผนงานในระยะถัดไปของ ธปท. ครอบคลุมถึงการร่วมมือกับธนาคารกลางในภูมิภาคผ่อนคลายหลักเกณฑ์เพิ่มเติม การร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์เพื่อหาแนวทางอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนในการทำธุรกรรม ตลอดจนประชาสัมพันธ์และส่งเสริมความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการ

-เดินแผนเพิ่มเติมปี66

ธปท.ชี้เทรนด์เงินบาทยังผันผวน ดัน FX Ecosystem ใหม่  3กลุ่มเป้าหมาย

ธปท.ชี้เทรนด์เงินบาทยังผันผวน ดัน FX Ecosystem ใหม่  3กลุ่มเป้าหมาย

นางสาวชนานันท์  สุภาดุล ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายและกำกับการแลกเปลี่ยนเงิน ธปท. กล่าวว่า  ระยะต่อไปปีนี้(2566) แผนดำเนินงานเพิ่มเติมอแบ่งเป็นสองเรื่อง ได้แก่ 1.ส่งเสริมสกุลเงินท้องถิ่น 2. ผ่อนเกณฑ์โอนเงินออกนอกประเทศให้คล่องตัวขึ้น โดยขยายวงเงินเพื่อวัตถุประสงค์ให้เปล่า เป็น 2แสนดอลลาร์สหรัฐต่อปีจากเดิมอยู่ที่ 50,000ดอลลาร์

และกรณีบริษัทไทยที่ต้องการจะส่งเงินไปให้บริษัทแม่ในต่างประเทศช่วยบริหารจัดการสภาพคล่อง(National Pooling) ปัจจุบันต้องขอเป็นรายกรณี ดังนั้น จึงผ่อนคลายให้เป็นการทั่วไป โดยไม่ต้องขออนุญาตกับธปท.แล้ว และขยายวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของนักลงทุนรายย่อยไม่ผ่านตัวกลางจาก 5 ล้านดอลลาร์เป็น 10 ล้านดอลลาร์

ในฝั่งบริษัทและนักลงทุนต่างชาติได้เพิ่มความคล่องตัวผ่าน 2โครงการ

 (1) ขยายขอบเขตโครงการ Non-Resident Qualified Company (NRQC) ให้บริษัทต่างชาติที่ทำธุรกิจชำระเงินระหว่างประเทศเข้าร่วมโครงการได้ โดยโครงการ NRQC มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทต่างชาติทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินไทยได้คล่องตัวขึ้นอีกทั้งปรับขั้นตอนการสมัคร NRQC ให้สะดวกขึ้น และ

(2) ให้นักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในหลักทรัพย์ไทยป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนกับสถาบันการเงินไทยได้โดยตรง จากเดิมที่ต้องทำธุรกรรมผ่านตัวกลางที่เป็นสถาบันการเงินในต่างประเทศเท่านั้น

การดำเนินงานดังกล่าวจะช่วยให้ภาคเอกชนสามารถทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศและบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้สะดวกยิ่งขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง

“ตอนนี้มีคนเข้ามาเป็นNRQCแล้ว 63บริษัทโดยมาจากหลายภูมิภาค   ส่วนใหญ่มาจาก ยุโรป  ญี่ปุ่น อเมริกาเหนือ  แต่โครงการNRQC ยังมีบริษัทแสดงความสนใจจึงจะขยายให้ครอบคลุมด้านเพย์เม้นต์ด้วย และกระบวนการสมัครปรับขั้นตอนให้กระชับขึ้น”

ส่วนโครงการBIR ( Bond Investor  Registration: BIR) เพื่อจะติดตามข้อมูลผู้ลงทุนที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงในตลาดพันธบัตรหรือบอนด์ไทย  ซึ่งหลังจากทำโครงการ BIRพบว่ามีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทะเบียนกว่า 9,734ราย และทำให้ธปท.ได้ข้อมุลและมีความถี่เป็นรายวันช่วยให้เราสามารถติดตามพฤติกรรมของผู้ลงทุนหรือโฟลว์ของผู้ลงทุนได้ดีขึ้นอย่างมาก 

นางสาวชนานันท์  สุภาดุลกล่าวถึงความคืบหน้าของแผนงานที่ได้ดำเนินการไปก่อนหน้า  แบ่งเป็น 3กลุ่มคือ  กลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มนักลงทุนไทย, กลุ่มบริษัทและนักลงทุนต่างชาติ   สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการไทยนั้น ธปท.ผ่อนคลายเกณฑ์ FX Ecosystemเพื่อให้มีความสะดวกมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดย3ปีที่แล้ว  ธปท.เปิดเสรีบัญชีเงินฝากสกุลต่างประเทศ (FCD)ของคนไทย  โดยอนุญาตคนไทยซื้อเงินตราต่างประเทศ และเก็บเงินฝากในบัญชีFCDได้โดยไม่จำกัดจำนวน   และสามารถโอนบัญชีFCDระหว่างคนไทยได้  เป้าประสงค์ในครั้งนั้นต้องการจะให้ผู้ประกอบการและคนไทยสามารถใช้บัญชีFCDในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ บัญชีFCD มีการเติบโตต่อเนื่องหลังจากผ่อนเกณฑ์  ล่าสุดไตรมาส 1ที่ผ่านมา มีจำนวนบัญชี 4.32แสนบัญชีและผู้ใช้บริการ 6.21แสนราย  ขณะที่การผ่อนเกณฑ์ทั้ง 3หมวด คือ  1.ให้คนไทยสามารถโอนเงินออกได้สะดวกขึ้น ,หมวดที่ 2 ทำให้คนไทยป้องกันความเสี่ยง (Hedge FX)  ได้ตามความเสี่ยงที่มีเพิ่มขึ้น

และมีรายใหม่ Hedge มากขึ้นเป็น 107รายต่อเดือนจาก 83ราย และหมวดที่3.คือ ลดภาระเอกสาร ยกเว้นเอกสารหรือไม่ต้องเรียกเอกสารสำหรับลูกค้าที่ธนาคารพาณิชย์รู้จักดีแล้ว (Know Your Business) พบว่า  95%ของมูลค่าธุรกรรมทั้งหมด ธนาคารไม่ต้องเรียกเอกสารแล้ว

ธปท.ชี้เทรนด์เงินบาทยังผันผวน ดัน FX Ecosystem ใหม่  3กลุ่มเป้าหมาย