10 แบงก์ไทยครึ่งแรกปี66 กำไรกระฉูด 1.21แสนล้าน

22 ก.ค. 2566 | 04:03 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ก.ค. 2566 | 18:24 น.

10 แบงก์ไทยกำไรกระฉูด! ครึ่งปีแรก2566 กว่า 1.21แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 16,118ล้านบาทหรือ 15.23% จากช่วงเดียวกันปีก่อน รับอานิสงก์ดอกเบี้ย “ขาขึ้น” ตั้งสำรองฯเพิ่ม 19.45%รองรับรองรับสัญญาณเศรษฐกิจไม่กระจายตัว หวั่นกระทบกลุ่มเปราะบาง -กดกำไร 3ธนาคาร

ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ 10 แห่งรายงานผลประกอบการไตรมาสสองปี 2566 และครึ่งปีแรก   พบว่า มีกำไรสุทธิรวม 61,635 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 9,031 ล้านบาทจากไตรมาสสองปีก่อน มีกำไรสุทธิรวม  52,604 ล้านบาทหรือ 17.16%   และงวดครึ่งปีแรกพบว่า กำไรสุทธิรวมกว่า 121,912ล้านบาทเติบโต 15.23%จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 105,794ล้านบาท

สำหรับ 3ธนาคารพาณิชย์ที่ทำกำไรสูงสุด ได้แก่ ธนาคารแอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป(LHFG) 1,201ล้านบาท 61.4%   ธนคารกรุงเทพ(BBL) มีกำไรสุทธิ 21,423ล้านบาท เพิ่มขึ้น 52.16% และธนาคารทหารไทยธนชาต(TTB) 8,860ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 34%  

10 แบงก์ไทยครึ่งแรกปี66 กำไรกระฉูด 1.21แสนล้าน

ตามมาด้วยธนาคาร กรุงไทย (KTB) มีกำไรสุทธิ  20,223ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.00% จากปี 2564  ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)มีกำไรสุทธิ เพิ่มขึ้น 14.00%  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY)กำไรสุทธิเพิ่ม 12.12% และธนาคารทิสโก้กำไรสุทธิเพิ่ม 0.05%

โดยความสามารถในการทำกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นนั้น มาจาก ปัจจัยหนุนทั้งรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับภาวะอตัราดอกเบี้ยขาขึ้น จากอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้  รวมถึงส่วนต่างต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ มีเพียง 3ธนาคารพาณิชย์ที่มีกำไรสุทธิปรับลดลงในครึ่งปีแรก ประกอบด้วย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย(CIMBT) มีกำไรสุทธิ 1,367ล้านบาทลดลง 35.36%จากช่วงเดียวกันปีก่อน  รองลงมาคือ ธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) มีกำไรสุทธิ 3,493ล้านบาทลดลงจากปีก่อน 14.55%  และธนาคาร กสิกรไทย(KBANK) มีกำไรสุทธิ 21,735 ล้านบาทลดลง   1.22%จากปีก่อน

สาเหตุหลักมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของผลขาดทุนด้านเครดิตที่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และบางธนาคารมีผลขาดทุนจากการขายทรัพย์สินรอการขาย(NPA)ส่งผลให้กำไรสุทธิปรับตัวลดลง 

ดังนั้น ธนาคารให้น้ำหนักกับการดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวังโดยพิจารณา ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น  (Expected credit loss : ECL) ซึ่งภาพรวมพบว่า ครึ่งปีแรก 10ธนาคารพาณิชย์ตั้งสำรองฯอยู่ที่ 107,987ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.45% จาก 90,402ล้านบาทช่วงเดียวกันปีก่อน เพื่อรองรับสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่อาจจะส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศไม่กระจายตัวและอาจส่งผลต่อลูกค้ากลุ่มเปราะบาง