เปิดกำไร 10แบงก์งวด 9เดือนแรกปี66 รวมกว่า 1.8แสนล้านบาทเพิ่มขึ้น 13%

21 ต.ค. 2566 | 01:15 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ต.ค. 2566 | 16:18 น.

ธนาคารพาณิชย์ 10 แห่งฟันกำไรงวด 9เดือนปี66กว่า 1.81แสนล้านบาท หลังสำรองหนี้เพิ่มกว่า 21% ชี้โจทย์ใหญ่ท้าทายในระยะข้างหน้า

ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ 10 แห่งรายงานผลประกอบการประจำไตรมาส3และงวด 9เดือนแรกของปี2566ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่ประเทศไทย(ตลท.)พบว่า ไตรมาส3มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 10.5%จำนวน 59,473ล้านบาทจาก 53,816ล้านบาทเมื่อเทียบกับไตรมาส3ปีก่อน โดยมี 3 ธนาคารตั้งสำรองหนี้สูงกดกำไรสุทธิ “CIMBT  KKP  SCB”

ขณะที่ งวด 9เดือนแรก 10ธนาคารมีกำไรสุทธิรวม  181,392ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21,781ล้านบาทหรือ 13.65%จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 159,611ล้านบาท โดย 3แบงก์ยังแกร่ง “ BBL-LHFG-TTB”  โดยที่มาของการทำกำไรประกอบด้วย รายได้ดอกเบี้ยสุทธิจากทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย   รายได้จากการรับประกันภัย รายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการ รวมถึงการจัดการกองทุน และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น เป็นต้น 

เปิดกำไร 10แบงก์งวด 9เดือนแรกปี66 รวมกว่า 1.8แสนล้านบาทเพิ่มขึ้น 13%

เมื่อพิจารณารายละเอียดพบว่า  ธนาคารส่วนใหญ่ประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ยังเผชิญกับความท้าทายจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมไปถึงความไม่แน่นอนจากความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน เพิ่มความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุน

และผลักดันให้ราคาพลังงานในตลาดโลกปรับสูงขึ้น  ขณะที่ในประเทศมีความท้าทายจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ระดับสูง  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจกระทบผลผลิตและรายได้ในภาคเกษตร และภาคครัวเรือนที่ยังมีภาระหนี้สูง เปิดกำไร 10แบงก์งวด 9เดือนแรกปี66 รวมกว่า 1.8แสนล้านบาทเพิ่มขึ้น 13%

จึงเป็นที่มาของการพิจารณาตั้งสํารองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น( Expected credit loss : ECL)หรือ “สำรองหนี้”โดยรวมงวด 9เดือนแรกของปี2566 พบว่า  ธนาคารสำรองหนี้ฯเพิ่มขึ้น21.5%กว่า 29,485ล้านบาทเป็นจำนวนรวมกว่า 166,864ล้านบาทจากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 137,379 ล้านบาท

โดยเฉพาะธนาคารเกียรตนาคินภัทร(KKP)กันสำรองเพิ่มขึ้น 56.8%เป็น 4,653ล้านบาทจากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 2,967ล้านบาท ตามมาด้วย “ไทยพาณิชย์” กันสำรองหนี้เพิ่ม 28.1% เป็นจำนวน34,270ล้านบาทจาก26,750ล้านบาท   และ“ซีไอเอ็มบีไทย”กันสำรองเพิ่มกว่า 26,5%

อย่างไรก็ตาม ธนาคารส่วนใหญ่ยังคงรักษาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ(NIM) เห็นได้จาก ธนาคารกรุงเทพ อยู่ที่ 2,96% จากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 2.28% ธนาคารกรุงไทย 3.19%จาก 2.51%

 ธนาคารกสิกรไทยอยู่ที่  3.62% จาก 3.26%   ธนาคารไทยพาณิชย์  3.60%จาก 3.23%  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อยู่ที่ 3.70%จาก 3.45%   ธนาคารทีทีบี อยู่ที่ 3.21%จาก 2.89%  ธนาคารเกียรตินาคินภัทร(KKP) อยู่ที่ 5.2% จาก 5.3%  ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย อยู่ที่ 2.6% จาก 2.7% ส่วนธนาคารทิสโก้ อยู่ที่ 5.14%(ณ ไตรมาส3ปี2566) จาก 5.15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน