ธปท.เผยเตรียมผ่อนเกณฑ์ช่วยลูกหนี้น้ำท่วมสัปดาห์นี้ -ระยะเวลา 1ปี

27 ส.ค. 2567 | 09:04 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ส.ค. 2567 | 09:30 น.

ธปท.เตรียมผ่อนเกณฑ์ให้สถาบันการเงินช่วยลูกหนี้น้ำท่วมภาคเหนือ-กลางตอนบน เงินทุนหมุนเวียนเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ดำรงชีพและปรับลดวงเงินผ่อนชำระขั้นต่ำลูกหนี้บัตรเครดิต ระบุครึ่งปี67 ลูกหนี้เข้ารับการช่วยเหลือสะสมรวม 4.9ล้านบัญชี มูลหนี้ 1.5ล้านบาท

นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า  จากสถานการณ์น้ำท่วมกระทันหันที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดของพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางตอบนนั้น   ภายในสัปดาห์นี้ ธปท.จะออกหนังสือเวียนผ่อนผันเพิ่มเติมเพื่อเปิดให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้เข้าช่วยเหลือลูกหนี้เพื่อลดภาระและเสริมสภาพคล่องของลูกหนี้เพิ่มเติม  

เช่น ขอให้พิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม (สินเชื่อ/สภาพคล่อง)เพื่อการซ่อมแซมทีอยู่อาศัย ,กรณีเป็นสินเชื่อบัตรเครดิตให้พิจารณาปรับลดวงเงินผ่อนชำระขั้นต่ำได้ สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งกำหนดระยะเวลาประมาณ 1ปี 

นอกจากนี้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับรวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล จะพิจารณาผ่อนผันหลักเกณฑ์  เช่น วงเงินช่วงคราว กรณีฉุกเฉิน,หรือกรณีจำเป็น เพื่อการดำรงชีพและช่วยฟื้นฟูจัดการปัญหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้น 

นางสาวสุวรรณี ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือน  โดยระบุว่า  ตัวเลขหนี้ครัวเรือนไตรมาส2ของปีนี้จะออกมาในเดือนหน้าหรือเดือนก.ย.  คาดว่าหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีน่าจะปรับลดลงเล็กน้อย  เมื่อเทียบจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเติบโตของสินเชื่อ ทั้งนี้ไตรมาส 1 หนี้ครัวเรือนล่าสุดปรับลดลงมาอยู่ที่ 90.8%

ธปท.เผยเตรียมผ่อนเกณฑ์ช่วยลูกหนี้น้ำท่วมสัปดาห์นี้ -ระยะเวลา 1ปี

อย่างไรก็ตามสำหรับหนี้ภาคธุรกิจต่อจีดีพีนั้น สะท้อนการปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาส4ปีที่แล้วอยู่ที่  87.3% เป็น 87.9%  สอดคล้องกับการก่อหนี้และการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจ  ขณะที่ความสามารถในการทำกำไร  โดยรวมปรับเพิ่มเป็น 8.01% จาก 7.07% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว หลักๆมาจากกลุ่มปิโตรเลี่ยม 

กอร์ปกับผลขาดทุนจากการสต๊อคน้ำมันทยอยลดลงแล้ว  กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ที่ต้นทุนวัตถุดิบเคยปรับสูงเมื่อปีก่อนทยอยลดลง และค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ 

นอกจากนี้ ยังต้องติดตามบางธุรกิจที่มีปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งกลุ่มที่มีความเสี่ยงจากกากรแข่งขัน อาทิ   เหล็ก   ยานยนต์   หรือสินค้าที่ถูกดันด้านราคาจากสินค้านำเข้าจากจีน  ไม่ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า  เครื่องนุ่งห่ม  เฟอร์นิเจอร์  

นางสาวสุวรรณี กล่าวเพิ่มเติมถึงความคืบหน้าภายใต้มาตรการการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม( Responsible Lending หรือ RL ตั้งแต่วันที่ 1ม.ค.2567)  โดยระบุว่า   ครึ่งปีการปรับโครงสร้างหนี้สะสมของระบบสถาบันการเงิน โดยมีลูกหนี้สะสมรวม  4.9ล้านบัญชี มูลหนี้  1.5ล้านบาท  หลักๆมาจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) 3.69 ล้านบัญชี  0.97 ล้านล้านบาท  ซึ่งเร่งให้การช่วยเหลือไตรมาส 1ที่ผ่านมา ทั้งหนี้เกษตร, หนี้รายบุคคล และในส่วนของธนาคารพาณิชย์ และนอนแบงก์การให้ความช่วยเหลือ 1.21 ล้านบัญชี มูลหนี้0.53ล้านล้านบาท

โดยเฉพาะลูกหนี้SMEs และรายย่อย พบว่า การปรับโครงสร้างหนี้ส่วนใหญ่ประมาณเกือบ 90%เป็นการปรับก่อนที่ลูกหนี้จะเป็นเอ็นพีแอล(DR) ซึ่งเฉพาะรายย่อยได้ให้ความช่วยเหลือ 1.17ล้านล้านบาท เทียบจากเอ็นพีแอลใหม่ที่สูงขึ้น พบว่าประมาณ 5.6เท่าของเอ็นพีแอลเกิดใหม่