นายโยธิน ดำเนินชาญวนิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ NPS เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานด้านการตลาดได้ผลดีกว่าเป้าหมายที่วางไว้ โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 67 มีลูกค้าอุตสาหกรรมเข้ามา ตั้งโรงงานผลิตสินค้าในสวนอุตสาหกรรม 304 ซึ่งเพิ่มขึ้น 11 ราย ใช้เงินลงทุนสร้างโรงงานรวมประมาณ 100,000 ล้านบาท
ส่งผลให้บริษัทฯ มียอดรวมลูกค้าอุตสาหกรรมทั้งหมด ณ สิ้นไตรมาส 3/67 จำนวน 140 ราย ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น 326 เมกะวัตต์ (MW) และเมื่อโรงงานของลูกค้าอุตสาหกรรมทั้งหมดเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิตตามที่วางแผนไว้ จะทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าจาก NPS เพิ่มขึ้นเป็น 687 MW ภายในปี 70 ซึ่งจะสูงกว่ากำลังผลิตสุทธิของโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ดังนั้น บริษัทฯ จึงเร่งดำเนินการโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล (NPP 12) กำลังผลิต 115 MW แทนโรงไฟฟ้า 6 และ 11 ที่มีกำาลังผลิตรวม 70 MW โดยโรงไฟฟ้า NPP12 จะใช้ยางไม้จากการผลิตเยื่อกระดาษของ Double A ที่เคยส่งให้โรงไฟฟ้า 6 และ 11 จำนวน 3,300 ตันแห้งต่อวัน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงและด้วยเทคโนโลยีทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงกว่า จะทำให้โรงไฟฟ้า NPP12 ผลิต กระแสไฟฟ้าได้มากกว่าโรงไฟฟ้า 6 และ 11 ประมาณ 45 MW
ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างประมาณกลางปี 68 และเมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จในปี 70 จะทำให้ NPS มีกำลังผลิตไฟฟ้า (ไม่รวมการผลิตจาก โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ หรือ Floating Solar Farm) เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 700 MW เป็น 745 MW หลังจากนั้น บริษัทฯ ยังมีแผนจะปรับเปลี่ยนโรงไฟฟ้า 6 และ 11 ให้สามารถใช้ไม้สับเป็นเชื้อเพลิงแทนยางไม้ภายในปี 72 ซึ่งจะทำให้กำลังผลิต ไฟฟ้ารวมเพิ่มขึ้นเป็น 815 MW
ส่วนโครงการติดตั้ง Floating Solar Farm ระยะที่ 2 ก็แล้วเสร็จเพิ่มขึ้นอีก 30 MW ตามแผนที่วางไว้ทำให้บริษัทฯ สามารถจ่าย ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เข้าระบบเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์รวม 90 MW ในไตรมาส 3/67 ส่วนที่เหลืออีก 67 MW คาดการณ์ว่าจะ แล้วเสร็จพร้อมจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ภายในไตรมาส 2/68 และจะทำให้ NPS มีกำลังการผลิดไฟฟ้าจาก Floating Solar Farm ทั้งหมด 157 MW
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเดินหน้าเต็มที่ โครงการ Green Logistics ที่นำรถบรรทุกไฟฟ้า (EV) มาใช้ขนส่งเชื้อเพลิงแทนการใช้รถ บรรทุกเครื่องยนต์ดีเซลและ NGV เดิม โดยปัจจุบันมีรถบรรทุก EV เริ่มใช้งานแล้ว 215 คัน และมีเป้าหมายจะเพิ่มเป็น 500 คัน พร้อมกับติดตั้งสถานีสับเปลี่ยนและสถานีชาร์ตแบตเตอร์รี่ ตามจุดต่าง ๆ ระหว่างทางที่กำหนดรวม 8 แห่ง ภายในปี 70 ทั้งนี้ รถ บรรทุก EV ทั้งหมดจะใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจาก Floating Solar Farm ของบริษัทฯ เป็นหลัก ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งเชื้อ เพลิงได้กว่า 50%
ในขณะเดียวกันการดำเนินโครงการ Floating Solar Farm และโครงการ Green Logistics ของบริษัทฯ อย่างจริงจังจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ Green Houses Gas ได้อย่างยั่งยืนและสะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของ NPS ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบาย Net Zero Emission ของประเทศให้บรรลุเป้าหมาย ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Governance) หรือ ESG ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างแท้จริง