“บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ดำเนินการมาแล้วกว่า 8 ปี ซึ่งขณะนี้ได้มีการเปิดลงทะเบียนรอบใหม่ เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา และยังอยู่ระหว่างการรอประกาศผลคุณสมบัติผู้ได้รับสิทธิ โดย “ฐานเศรษฐกิจ” ได้รวบรวมไทม์ไลน์จุดเริ่มต้นของโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกว่าจะดำเนินการมาถึงปัจจุบันไว้ ดังนี้
1. จุดเริ่มต้นที่สำคัญ ในปี 2559 มีผู้ได้รับสิทธิ 7.7 ล้านคน
เนื่องจากเป็นการระบุตัวตนครั้งแรกของผู้มีรายได้น้อย ผ่านการตรวจสอบข้อมูลรายได้ โดยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการปฏิรูปการดำเนินนโยบายการจัดสรรสวัสดิการของประเทศไทย
2. จัดสวัสดิการผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในปี 2560 มีผู้ได้รับสิทธิ 11.46 ล้านคน
เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการจัดสวัสดิการสังคมและการให้เงินช่วยเหลือของภาครัฐ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืน
3. จัดสวัสดิการผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (เพิ่มเติม) ปี 2561 มีผู้ได้รับสิทธิเพิ่ม 3.14 ล้านคน
เก็บตกบางส่วนยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการปี 2560 (ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วนติดเตียง หรือผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้) รวมเป็นมีผู้ได้รับสิทธิประมาณ 14.6 ล้านราย
4. และล่าสุด ปี 2565 จัดสวัสดิการผ่านบัตรประจำตัวประชาชน
มีความแตกต่างจากปี 2560 และปี 2561 โดยมีการใช้เกณฑ์ครอบครัวเข้ามาพิจารณาเพิ่มเติม จากเดิมที่พิจารณาเฉพาะเกณฑ์บุคคล และเพิ่มเติมคุณสมบัติสำหรับเกณฑ์บุคคล ซึ่งเป็นการปรับปรุงฐานข้อมูลผู้มีสิทธิใหม่ทั้งหมด และใช้บัตรประจำตัวประชาชนเป็นบัตรสวัสดิการ
โดยความคืบหน้าการดำเนินการ ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการประมวลผลของผู้ลงทะเบียนกว่า 19.63 ล้านคน และข้อมูลคู่สมรสและบุตรอีกกว่า 24.88 ล้านคน คาดว่าจะสามารถประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนในช่วงปลายเดือนม.ค.66
หากผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ ต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ (Smart Card) ยืนยันตัว ตั้งแต่วันที่ประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติเป็นต้นไป ได้ที่
หากไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ สามารถยื่นอุทธรณ์ในระยะเวลาที่กำหนด ผ่านเว็บไซต์