นายไรวินทร์ วรวงษ์สถิตย์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานควบคุมงานปฏิบัติการและปฏิบัติการร้านค้า “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน)เปิดเผยว่า ในยุคที่นวัตกรรมดิจิทัลเติบโตแบบก้าวกระโดด ธุรกรรมต่างๆ ย้ายมาอยู่บนออนไลน์ ทำให้ชีวิตของผู้คนทุกกลุ่มทุกวัยได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันภัยเงียบจากอาชญากรรมออนไลน์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้บริโภคควรตระหนักรู้ คิดก่อนคลิกในการทำธุรกรรมการเงินทุกครั้ง
เคทีซีในฐานะผู้นำธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค ได้ศึกษาและพัฒนาระบบบริหารการป้องกันภัยทุจริตให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าเป็นสำคัญ เพื่อให้สมาชิกทำธุรกรรมการเงินได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัย และแน่นอนว่า การป้องกันภัยจากการทุจริตต่างๆจะเกิดประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น หากสมาชิกและผู้บริโภคได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และร่วมกันป้องกันตนเองในเบื้องต้นไปกับเคทีซี
ปัจจุบันภัยไซเบอร์ที่มิจฉาชีพหลอกขอข้อมูลสำคัญกับผู้เสียหายโดยตรง ได้แก่
สำหรับการหลอกขอข้อมูลส่วนตัวจากมิจฉาชีพเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เพราะคนส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนในการทำธุรกรรมต่างๆ มากขึ้น จึงเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพเข้าหลอกล่อได้ง่ายผ่าน SMS หรือแอปฯ โซเชียล มีเดีย โดยจะหลอกให้เพิ่ม Line Official ปลอม จากนั้นจะโทรศัพท์มาพูดคุย และให้ทำตามขั้นตอนเพื่อติดตั้งแอปฯ ปลอม ซึ่งเป็นระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์เป็นหลัก และหลอกให้เหยื่อตั้งรหัสเพื่อเข้าแอปฯ ปลอม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรหัสเดียวกันกับแอปฯ โมบาย แบ็งค์กิ้งของเหยื่อ
หลังจากมิจฉาชีพเข้าควบคุมสมาร์ทโฟนของเหยื่อสำเร็จ ระบบหน้าจอจะค้างอยู่ บางแอปฯ หน้าจอจะค้างและขึ้นว่าอยู่ระหว่างดำเนินการ จึงไม่สามารถกดปิดหรือออกจากแอปฯ นี้ได้ ระหว่างนี้มิจฉาชีพจะเข้าไปยังโมบาย แบ็งค์กิ้งของสถาบันต่างๆ โดยใช้รหัสที่หลอกให้เหยื่อตั้งรหัสตอนแรก แล้วโอนเงินออกไปยังบัญชีปลายทาง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ต้องดาวน์โหลดแอปฯ ผ่าน App store หรือ Play store เท่านั้น
นายนพรัตน์ สุริยา ผู้บริหารแผนกสืบสวนทุจริต “เคทีซี”กล่าวว่า แนวทางป้องกันให้ไกลจากมิจฉาชีพมี 4 ข้อ คือ
อีกเรื่องที่สำคัญมากคือ การตั้งค่าปิด-เปิดฟังก์ชัน และตั้งเตือนต่างๆ บนสมาร์ทโฟน เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูล กรณีที่พลาดเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพแล้ว ส่วนที่ควรปิด คือ การตั้งค่าการช่วยเหลือพิเศษ ในการเข้าถึงฟีเจอร์ช่วยเหลือจากหน้าจอใดก็ได้ กลายเป็นช่องโหว่ให้มิจฉาชีพใช้รีโมทเข้าควบคุมสมาร์ทโฟนของเหยื่อ
ส่วนที่ต้องเปิด คือ การตั้งค่าแจ้งเตือนธุรกรรมการเงินต่างๆ ของโมบาย แบงค์กิ้งผ่านอีเมลหรือแอปพลิเคชัน เพื่อให้เราได้รับรู้ทุกธุรกรรมการเงิน รวมทั้งตัดสัญญาณสมาร์ทโฟน หรือ wifi ให้เร็วที่สุด ด้วยการกดปุ่ม Force Shutdown หากยังไม่สามารถปิดเครื่องได้ ให้หาวิธีดึงซิมการ์ดโทรศัพท์ออกเพื่อตัดสัญญาน และรีบติดต่อธนาคารและแจ้งความทันที
สำหรับสมาชิกเคทีซี แนะนำให้เพิ่มความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล ด้วยการดาวน์โหลดและใช้แอปฯ “KTC Mobile” ซึ่งปลอดภัยตั้งแต่เริ่มต้นล็อคอินด้วยรหัสผ่าน 6 หลัก บนแป้นพิมพ์แบบไดนามิค เพื่อการยืนยันตัวตนเข้าสู่ระบบผ่านการสแกนลายนิ้วมือ หรือสแกนม่านตาสำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟนซัมซุง แกแลคซี่ สะดวกด้วยระบบตั้งเตือนการใช้จ่ายผ่านบัตรทุกรายการ นอกจากนี้เคทีซียังได้มีการปรับข้อความเมื่อส่งรหัสผ่านสำหรับใช้ครั้งเดียว หรือ OTP โดยย้ำเตือนให้สมาชิกระมัดระวังการแจ้งรหัสให้กับบุคคลอื่น เพื่อลดความเสี่ยงในการทุจริตเข้าถึงบัญชี
ล่าสุดราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศพระราชกำหนด มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 โดยมีประเด็นสำคัญคือ
พ.ต.ต.เทียนชัย เข็มงาม สารวัตรกลุ่มงานสนับสนุนทางไซเบอร์ กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง ซึ่งเคทีซีเป็นหน่วยงานภาคเอกชนแรกๆ ที่ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังและติดตามเหตุผิดปกติวิสัยที่อาจนำไปสู่การทุจริตของมิจฉาชีพ
ปัจจุบันปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ได้พัฒนาไปในหลายรูปแบบ และกลายเป็นปัญหาที่รบกวนและกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคประชาชนรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจากประสบการณ์ในการทำงานพบว่า ประเภทคดีที่มีจำนวนมิจฉาชีพมากที่สุดคือ หลอกลวงซื้อขายสินค้า
นอกจากนี้ยังพบเจอคดีอีกหลายรูปแบบ อาทิ หลอกให้โอนเงินเพื่อหารายได้จากการทำกิจกรรม หลอกให้หลงรักแล้วโอนเงิน (Romance scam) หลอกให้ลงทุนออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ หลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน รับจ้างเปิดบัญชีธนาคารหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ซึ่งเข้าข่ายความผิดตามพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566
สำหรับวิธีสังเกตและการดูแลตนเองเกี่ยวกับอาชญากรรมทางออนไลน์เบื้องต้นมีดังต่อไปนี้