มาตรการ Easy E-Receipt ตามมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบมาตรการ “Easy E-Receip” เพื่อสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศและสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีให้ใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์
โดยสามารถหักลดหย่อนภาษีจากค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการภายในประเทศที่เกิดขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2567 สำหรับผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล) ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท
แต่มีหลายท่ายสงสัยและสอบถามเข้ามาว่า หากซื้อสินค้า ของฝาก ของที่ระลึกผลิตภัณฑ์ชุมชน จากร้าน OTOP และร้านที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม จะสามารถใช้สิทธิ์จากมาตรการ e-Receipt ของกรมสรรพากรได้หรือไม่
ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูลพบว่าเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 เวลา 13.30 – 15.00 น. นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม อธิบดีกรมการพัมนาชุมชน มอบหมายให้นายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานเปิดโครงการ “โครงการสัมมนา “E-Tax Invoice & E-Receipt รองรับมาตรการ Easy E-Receipt”สำหรับผู้ประกอบการ OTOP ในรูปแบบออนไลน์
โดยมีผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน ผู้อำนวยการกองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมสรรพากร ผู้แทนบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัด 76 จังหวัด และผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 220 คน ผ่านระบบ Zoom Call Meeting
นายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาเป็นประธานกล่าวต้อนรับในพิธีเปิด ‘โครงการรสัมมนา “E-Tax Invoice &E-Receipt รองรับมาตรการ Easy E-Receipt” สำหรับผู้ประกอบการ OTOP เพื่อสนับสนุนการบริโภคภายใประเทศและสนับสนุนผู้ประกอบการให้มาใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้นจึงจัดงานสัมมนาครั้งนี้ขึ้นมา
เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำนำส่ง ส่งมอบ และจัดเก็บ “ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์”
รวมถึงประโยชน์ของระบบพร้อมทั้งสร้างความ เชื่อมั่นในการใช้งานระบบให้เกิดการใช้งานอย่างแพร่หลาย อันเป็นผลดีต่อภาครัฐที่จะทำให้เกิดระบบภาษีอากรดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบทั้งประเทศภายในปี 2571
ซึ่งเป็นความร่วมมือของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กับ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทยจำกัด มหาชน และบริษัท วัน อิเล็กทรอนิกส์ บิลลิ่ง จำกัด (มหาชน) ในการจัดงานครั้งนี้
ขอขอบคุณผู้ประกอบการทุกท่านที่ได้ให้การตอบรับเข้าร่วมงานสัมมนาที่จัดขึ้นในครั้งนี้ และคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการสัมมนาในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่จะได้รับความรู้ และมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับระบบ E-Tax Invoice & E-Receipt
เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ และนำระบบ E-Tax Invoice & E-Receipt ไปใช้งานภายในองค์กรของท่านให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่กิจการของท่านและทั้งนี้ต้องขอขอบคุณคณะกรรมการดำเนินงาน หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการจัดโครงการในครั้งนี้ วิทยากรที่ได้เสียสละเวลามาบรรยาย และขอขอบคุณผู้เข้าฝึกอบรมทุกท่าน
จากนั้น รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อธิบายต่อว่า มาตรการ Easy E-Receipt ตามมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบมาตรการ “Easy E-Receip” เพื่อสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศและสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีให้ใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์
โดยสามารถหักลดหย่อนภาษีจากค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการภายในประเทศที่เกิดขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2567 สำหรับผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล) ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปหรือใบรับในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น ซึ่งมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) พร้อมต้องระบุเลขประจำตัว
ผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย โดยค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จะได้รับสิทธิฯ ไม่รวมถึง
กรณีการซื้อสินค้าหรือการรับบริการจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ ที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) พร้อมต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย เฉพาะค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้
ดังนั้น ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด หากมีความประสงค์สมัครลงทะเบียน เพื่อออกใบกำกับภาษีหรือใบรับในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบของกรมสรรพากร ในช่วงระยะเวลา 45 วัน ตามมาตรการดังกล่าว จะเป็นการกระตุ้นยอดขายสินค้าหรือบริการ ในช่วงมาตรการได้