นายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองและครอบครัวได้ง่ายมากขึ้น ธอส. ในฐานะสถาบันการเงินของรัฐ สังกัดกระทรวงการคลัง ที่มีพันธกิจ “ทำให้คนไทยมีบ้าน” ได้เตรียมกรอบวงเงิน 37,500 ล้านบาท จัดทำ 4 ผลิตภัณฑ์สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ ให้สามารถลดภาระการผ่อนชำระเงินงวดให้ต่ำลง
ทั้งนี้ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงการคลัง ในการช่วยเหลือด้านรายได้และลดรายจ่ายให้กับลูกค้าประชาชนทุกกลุ่มสาขาอาชีพ โดยรายละเอียดของสินเชื่อทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ มีดังนี้
1. สินเชื่อบ้านอยู่เย็น เป็นสุข ปี 2567 กรอบวงเงิน 2,500 ล้านบาท สำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม ซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (เฉพาะ Solar Roof เท่านั้น) เพื่อให้เป็นบ้านประหยัดพลังงาน (ECO House) อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรก
สำหรับลูกค้าสวัสดิการ แบ่งเป็น
สำหรับลูกค้ารายย่อย แบ่งเป็น
ยื่นคำขอกู้ตั้งแต่วันนี้ – 29 มีนาคม 2567 อนุมัติและทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 เมษายน 2567
2. สินเชื่อบ้านลูกค้าสวัสดิการ ธอส. ปี 2567 กรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท สำหรับลูกค้าสวัสดิการที่หน่วยงานทำข้อตกลงโครงการสวัสดิการเงินกู้ที่อยู่อาศัยประเภทไม่มีเงินฝากกับธนาคาร และต้องการกู้เพื่อซื้อ ปลูกสร้างต่อเติม ซ่อมแซม ซื้อที่ดินเปล่าทรัพย์ NPA ของ ธอส. ไถ่ถอนจากสถาบันการเงินอื่น (รีไฟแนนซ์) และชำระหนี้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
3. โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อบุคลากรภาครัฐ ปี 2567 กรอบวงเงิน 20,000 ล้านบาท สำหรับข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานรัฐวิสากิจ และลูกจ้างประจำ ที่ต้องการกู้เพื่อซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม ไถ่ถอนจากสถาบันการเงินอื่น (รีไฟแนนซ์) ชำระหนี้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และเพื่อซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก
4. โครงการบ้าน ธอส. แสนสุข ปี 2567 กรอบวงเงิน 10,000 ล้านบาท สำหรับลูกค้าที่ต้องการกู้เพื่อซื้อ ปลูกสร้าง ไถ่ถอนจากสถาบันการเงินอื่น (รีไฟแนนซ์) ชำระหนี้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
“ธอส. พร้อมช่วยเหลือลูกค้าผู้มีรายได้น้อยและปานกลางทุกกลุ่มอาชีพ ให้มีภาระในการผ่อนชำระเงินงวดลดลง ผ่านสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำและคงที่นานสูงสุด 3 ปี เพื่อให้ลูกค้ามีเงินเหลือเพียงพอเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพได้ต่อไป ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงการคลัง ที่ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐ เข้ามามีส่วนช่วยเหลือในการลดค่าครองชีพให้กับประชาชน”