นายโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ เลขาธิการ สมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยถึงโอกาสของของธุรกิจประกันวินาศภัยในกลุ่มอาเซียนในเขตภูมิภาคลุ่มน้ำโขงครอบคลุม ประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม(CLMV) โดยระบุว่า CLMV นับเป็นกลุ่มประเทศที่ได้รับความสนใจในการเข้าไปลงทุนของต่างประเทศ รวมถึงไทย
เนื่องจากมีขนาดตลาดที่ใหญ่โดยมีประชากรรวมกันถึง 177 ล้านคนและมี GDP รวมกัน 4.74 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขนาดเศรษฐกิจโดยรวมใกล้เคียงกับไทยแต่มีประชากรมากกว่าไทยถึง 100 ล้านคน หรือ 1.5 เท่า พร้อมกันนั้น เศรษฐกิจของ CLMV ยังมีการเติบโตที่สูงอย่างต่อเนื่อง
ช่วงก่อนการระบาดของ COVID-19 ทุกประเทศใน CLMV มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 6-7 ต่อปี และหดตัวลงในช่วงการระบาดของ COVID-19 แต่ World Bank คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของ CLMV จะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว (ไทยเติบโตเฉลี่ยในระดับที่ต่ำคือ 3% ต่อปี) มีการเติบโตที่สูงและประชากรเข้าสู่ชนชั้นกลางมากขึ้น
ส่งผลให้ในปัจจุบัน CLMV ได้เข้าสู่กลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางในระดับล่าง (Lower-middle income countries: 1,086-4,255 ดอลลาร์สหรัฐ) แล้ว และในไม่ช้า เวียดนามมีแนวโน้มที่จะเลื่อนขึ้นไปเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางในระดับสูง (Upper-middle income countries) เช่นเดียวกับไทยที่อยู่ในกลุ่มนี้ตั้งแต่ปี 2553
นายโอฬารกล่าวเพิ่มเติมว่า ยิ่งไปกว่านั้นประชากรส่วนใหญ่ของ CLMV ยังอยู่ในช่วงวัยทำงานและเยาวชนที่พร้อมจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในระยะยาว ซึ่งแตกต่างจากไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้วตั้งแต่ปี 2022 ที่ในอนาคตจะต้องมีการพึ่งพิงวัยแรงงานอย่างมาก ส่งผลให้เม็ดเงินจำนวนมากจากต่างประเทศ รวมถึงไทยได้หลั่งไหลเข้าไปลงทุนใน CLMV
ปัจจุบันธุรกิจของไทยได้เข้าไปลงทุนใน CLMV เป็นจำนวนมาก จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า มีบริษัทขนาดใหญ่จำนวน 59 รายได้เข้าไปประกอบธุรกิจใน CLMV เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
และยังคงมีธุรกิจอีกจำนวนมากที่กำลังจะเข้าไปลงทุนอย่างต่อเนื่อง ไม่เว้นแม้กระทั่งธุรกิจประกันภัย ในปัจจุบันมีบริษัทประกันภัย ประกันชีวิต และประกันภัยต่อของไทยเข้าไปประกอบธุรกิจใน CLMV รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 12 บริษัท
ธุรกิจประกันภัยของ CLMV มีมูลค่า 9,796 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 1 ใน 3 ของขนาดตลาดของไทย เมื่อวัดจากเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง โดยเวียดนามเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของ CLMV ซึ่งมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงร้อยละ 95 ของเบี้ยทั้งหมด
ถึงแม้ว่า Insurance penetration ของ CLMV จะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างน้อยโดยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.4 – 2.6 เมื่อเทียบกับไทยที่อยู่ในระดับร้อยละ 5.5 แต่เมื่อพิจารณาถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจที่สูง ความพร้อมเข้าสู่วัยแรงงานของประชากร
การมีรายได้มากขึ้นของประชากร การเข้าสู่สังคมชนชั้นกลาง และการพัฒนาเป็นเมืองมากขึ้นของ CLMV สามารถแสดงให้เห็นได้ว่า ธุรกิจประกันภัยของ CLMV มีอนาคตที่สดใส และมีศักยภาพที่จะขยายตัวได้อีกมาก
เมื่อพิจารณาจากมูลค่าเบี้ยประกันภัยต่อประชากรของประเทศ CLMV เปรียบเทียบกับไทย พบว่า ตลาดประกันภัยของไทยมีความก้าวหน้ากว่าตลาด CLMV มาก ทั้งในแง่ของผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ซึ่งเป็นโอกาสของธุรกิจประกันภัยไทยที่จะเข้าไปดำเนินธุรกิจใน CLMV เนื่องจาก