ก่อนที่เราจะตัดสินใจลงทุนในตลาดหุ้น นอกจากจะต้องวิเคราะห์พื้นฐานของหุ้นที่เราจะลงทุนแล้ว การวิเคราะห์ทิศทางการลงทุนหรือภาพรวมของตลาด ก็เป็นอีก 1 ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการลงทุนเป็นอย่างมาก ซึ่งวิธีดังกล่าว ต้องมองทั้งปัจจัยภายในและภายนอก
โดยหนึ่งในนั้นคือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นจริงในอดีตของโลกการลงทุน จะมีเหตุการณ์อะไรบ้าง ซึ่งทาง ตลาดหลักทรัพย์ ฯ (ตลท.) ได้รวบรวมมาให้เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนลงทุน
สรุปปรากฎการณ์ตลาดหุ้นในอดีต
January Effect
เป็นเหตุการณ์ที่นักลงทุนเชื่อกันว่าราคาของหุ้นในเดือนมกราคมจะปรับตัวสูงเป็นพิเศษ โดยมีปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ คือ
สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าว ถึงแม้ว่าในบางปี เหตุการณ์นี้จะไม่ได้เกิดขึ้น แต่เมื่อเราส่องสถิติของดัชนีหุ้นไทยในเดือนมกราคมของแต่ละปีย้อนหลัง 10 ปี (2555 - 2564) จะพบว่าผลตอบแทนเป็นบวกถึง 8 ครั้ง และผลตอบแทนเป็นลบเพียง 2 ครั้ง
Sell in May and Go Away
เป็น 1 ในเหตุการณ์ที่ถูกพูดถึงทุกปี ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่นักลงทุนขายหุ้นในเดือนพฤษภาคม เพราะเชื่อกันว่าเป็นเดือนที่ตลาดให้ผลตอบแทนน้อยที่สุด โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ข้างต้น คือ
สำหรับเหตุการณ์นี้ หากส่องสถิติดัชนีหุ้นไทยย้อนหลังกลับไป 10 ปี (2555 - 2564) จะพบว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น 6 ครั้ง
December Effect
เป็นปรากฎการณ์ที่ราคาหุ้นในช่วงต้นเดือนและปลายเดือนธันวาคม มีความผันผวน โดยครึ่งเดือนแรกจะเป็นการพักฐาน แต่ครึ่งเดือนหลัง ตลาดหุ้นจะมีการปรับตัวขึ้น ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ข้างต้น คือ
Santa Claus Rally
เป็นความเชื่อของนักลงทุนที่เชื่อกันว่า ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของปี ตลาดหุ้นมีการวิ่งขึ้นตั้งแต่วันคริสมาสต์จนถึงสัปดาห์สุดท้ายของปี ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว คือ
อย่างไรก็ตาม สำหรับเหตุการณ์ที่ยกมาข้างต้น ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกปี ซึ่งอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในปีนั้น ๆ เข้ามากระทบ
Black Swan
เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแบบไม่คาดฝัน ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นอย่างรุนแรง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีอยู่ด้วยกันหลายเหตุการณ์ ดังนี้
สรุป 5 เหตุการณ์ Black Swan
ต้มยำกุ้ง
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2540 โดยในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ประเทศไทยได้เปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนจากการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนเป็นการลอยตัวค่าเงินบาท ซึ่งสาเหตุที่เกิดขึ้น นอกจากนโยบายการตรึงค่าเงินแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์กู้เงินจากต่างประเทศเพื่อปล่อยกู้ในประเทศ เกณฑ์ปล่อยกู้ที่ไม่เข้มงวดมากพอ ทำให้เกิดการเก็งกำไรกันอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งหมุนเงินที่กู้ให้เจ้าหนี้ไม่ทัน ทำให้เกิดการเลิกกิจการ คนตกงานเป็นจำนวนมาก กระทบไปถึงดัชนีหุ้นไทยตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปี 2541 ได้ปรับตัวลงอย่างรุนแรงเกือบ 90%
ฟองสบู่ดอทคอม
วิกฤตนี้เกิดขึ้นในช่วงปี 2540 - 2543 โดยมีจุดเริ่มต้นจากการที่บริษัทกลุ่มเทคโนโลยีต่างจดทะเบียนเพื่อเข้าตลาดสหรัฐฯ ซึ่งหุ้นเหล่านี้หลายตัวทำผลตอบแทนแตะ 100% ในวันแรกตั้งแต่เข้าตลาด แม้จะยังทำกำไรไม่ได้ก็ตาม เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้ต้องการให้มีลูกค้าอยู่ในมือ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว จึงทำให้เกิดการเก็งกำไร โดยไม่สนปัจจัยพื้นฐานเลยแม้แต่น้อย และจุดเริ่มต้นของวิกฤตก็เริ่มขึ้น เมื่อหลาย ๆ บริษัทเริ่มล้มละลาย ทำให้ดัชนีของสหรัฐฯ อย่าง NASDAQ ปรับตัวลงเกือบ 80% ซึ่งก็กระทบถึงตลาดหุ้นไทยที่ได้ปรับตัวลง แต่ไม่หนักเท่าวิกฤตต้มยำกุ้ง โดยปรับตัวจากจุดสูงสุดในปี 2542 จนถึงจุดต่ำสุดในปี 2543 เกือบ 55%
วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ หรือ วิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ เกิดขึ้นเมื่อปี 2551 มีสาเหตุจากการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ โดยนโยบายของธนาคารในขณะนั้น ให้ผู้กู้สามารถนำหลักทรัพย์ด้อยคุณภาพมาค้ำประกันแลกกับสินเชื่อได้ จึงทำให้ประชาชนที่ยังไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ก็สามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนผู้กู้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำมากจนเกินไป ต่อมา เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED มีมติปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นทำให้มีการผิดนัดชำระหนี้ และเกิดการยึดทรัพย์ทั่วประเทศสหรัฐฯในเวลาต่อมา ซึ่งตลาดหุ้นไทยในขณะนั้นก็มีการปรับฐานที่รุนแรงจากปี 2550 เช่นเดียวกัน แต่ก็ยังไม่รุนแรงเท่ากับวิกฤตต้มยำกุ้ง โดยปรับตัวลงจากจุดสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2550 จนถึงเดือนเดียวกันในปีถัดมา ซึ่งลดลงเกือบ 60%
COVID-19
เป็นอีกวิกฤตที่ส่งผลกระทบในหลากหลายมุม และเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของใครหลาย ๆ คนไปตลอดกาล ซึ่งCOVID-19 เป็นโรคที่พบครั้งแรกในประเทศจีนเมื่อปลายปี 2562 และในหลาย ๆ ประเทศมีการ Lockdown เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง ซึ่งต้องแลกด้วยเศรษฐกิจที่ถดถอย เป็นอีกวิกฤตที่ทำให้ดัชนี SET Index ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง โดยลดลง 40% แต่ใช้ระยะฟื้นตัวเร็ว เพียง 1 ปีกว่า ๆ เท่านั้น
สงครามระหว่างรัสเซีย - ยูเครน
วิกฤตล่าสุดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 2565 คือสงครามระหว่างรัสเซีย - ยูเครน ซึ่งเริ่มต้นจากเดิมที่ NATO ให้สัญญากับประธานาธิบดีของรัสเซียว่าจะไม่ขยายดินแดนไปทางรัสเซียในปี 2540 ซึ่งในขณะนั้นเป็นสหภาพโซเวียต เมื่อสหภาพดังกล่าวล่มสลาย ทำให้ NATO ขยับเข้าใกล้รัสเซียมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยสาเหตุหนึ่ง เกิดจากการที่ยูเครนต้องการเข้าร่วมกับ NATO จึงทำให้วลาดิเมียร์ ปูตินไม่พอใจ และกดดันยูเครนด้วยการเคลื่อนทัพ แต่อย่างไรก็ตาม ทางรัสเซียได้ยื่นเงื่อนไขให้ NATO ปฏิเสธไม่ให้ยูเครนเข้าร่วมและถอนกำลังทหารจากสมาชิกที่เข้าร่วมองค์กร แต่ถูกทั้งยุโรปและสหรัฐฯ ปฏิเสธ จึงทำให้เกิดสงคราม และหลังจากนั้น สหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย จึงทำให้ราคาสินค้าต่าง ๆ ทั้งราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกด้วย โดย SET Index ในปี 2565 มีการปรับตัวจากจุดสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนมิถุนายน 10% ซึ่งยังคงต้องติดตามกันต่อไปว่าวิกฤตนี้ จะสิ้นสุดในช่วงไหน และ SET Index จะทำจุดต่ำสุดในช่วงใด
ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อหุ้นที่เราลงทุนทั้งในเชิงลบหรือบวก แต่อย่างไรก็ตาม วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับผันผวนจากปัจจัยต่าง ๆ ที่คาดเดาได้ยากเหล่านี้ คือ การใช้พลังของการลงทุนอย่างต่อเนื่อง หรือลงทุนตลอดเวลา (Time in the Market) ซึ่งจะเป็นการฝึกวินัยในการลงทุน เข้าใจธรรมชาติของตลาดหุ้นที่ไม่ได้มีเพียงแค่เทรนด์ขาลงเพียงอย่างเดียว และสามารถรับมือกับเหตุการณ์ได้อย่างเหมาะสม
สำหรับใครที่ต้องการศึกษาหุ้นหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม พร้อมรับมุมมองจากนักวิเคราะห์หลากหลายบริษัทหลักทรัพย์ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากโครงการจัดทำบทวิเคราะห์สำหรับผู้ลงทุน คลิกที่นี่
บทความโดย : SET