BJC แจ้งตลท. ยังไม่มีข้อสรุปนำ Big C กลับเข้าตลาดหุ้น

09 พ.ย. 2565 | 03:13 น.
อัปเดตล่าสุด :09 พ.ย. 2565 | 10:53 น.

บมจ.เบอรีลี่ ยุคเกอร์ (BJC) แจ้งตลาดหลักทรัพย์ ฯ หลังกระแสข่าวสะพัดเตรียมนำ Big C กลับเข้าตลาดหุ้น ยืนยันยังไม่มีข้อสรุปในขณะนี้

 

จากข่าวสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ระบุ รายงานจากแหล่งข่าวว่า บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)  (Big C) กำลังพิจารณาเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นอีกครั้ง  ผ่านการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (IPO) คาดเบื้องต้นอาจจะระดมทุนมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 18,500 ล้านบาท นั้น 

 

อ่านเพิ่ม : “เจ้าสัวเจริญ” จ่อนำ “บิ๊กซี” รีเทิร์นตลาดหุ้น ระดมทุนกว่า 1.8 หมื่นล้าน

 

ล่าสุดวันนี้ ( 9 พ.ย.65)  BJC ได้ออกมาชี้แจงผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่ายังไม่มีข้อสรุปกับประเด็นดังกล่าวแต่อย่างใด
 

 

โดยบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC เปิดเผยว่า ตามข่าวที่ปรากฎในสื่อออนไลน์ว่า บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้กับประชาชนทั่วไปของ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) "Big C" บริษัทขอเรียนชี้แจงว่า บริษัทยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว ณ ขณะนี้


ทั้งนี้ เมื่อบริษัทมีความคืบหน้าที่ชัดเจนในเรื่องดังกล่าว บริษัทจะแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพร้อมรายละเอียดต่อไป

 

"Big C"  ก่อตั้งโดยกลุ่มเซ็นทรัลของประเทศ ไทย เมื่อปี 2536 และเปิดสาขาแห่งแรก บนถนนแจ้งวัฒนะ บริษัทระดมทุนผ่านไอพีโอราว 4.2 พันล้านบาท ในปี 2555 จากนั้น เมื่อปี 2559 บริษัททีซีซี โฮลดิ้ง จำกัด (TCC) ภายใต้การบริหารของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี  ได้เข้าซื้อหุ้น Big C จากกลุ่ม Casino Guichard Perrachor SA ผู้ค้าปลีกสัญชาติฝรั่งเศส  58.6% ในราคา 3.1 พันล้านยุโร และนำ Big C ออกจากตลาดหุ้นไทยในปี 2563 หลังจากที่ TCC โดยบริษัทย่อยคือ บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์  ได้เข้าชื่อกิจการทั้งหมด

 

ปัจจุบัน  Big C ดำเนินการร้านค้าทั้งหมด 1,792 แห่ง ซึ่งรวมถึงร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็และไฮเปอร์มาร์ก็ต ในประเทศไทย เวียดนาม สปป.ลาว และกัมพูชา ในช่วงต้นปี 65 บริษัทได้เข้าซื้อร้าน 18 KiwiMart ในกัมพูชา และวางแผนที่จะรีแบรนด์ร้านเหล่านั้นให้เป็น Big C Mini