เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 บริษัทหลักทรัพย์ลิเบอเรเตอร์ จำกัด(บล.)(Liberator) เปิดตัวแพลตฟอร์ม "ลิเบอเรเตอร์-Liberator"อย่างเป็นทางการโดย
นายบากบั่น บุญเลิศ ประธานกรรมการ บล.ลิเบอเรเตอร์เปิดเผยว่า ลิเบอเรเตอร์ มุ่งเน้นสร้างแพลทฟอร์มเป็นชุมชนที่เปิดทางให้นักลงทุน
โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อยรายใหม่ที่ปัจจุบันเข้าสู่ตลาดประมาณ 2-3แสนรายแต่ละปีนักลงทุนดังกล่าวต้องออกจากตลาดไปราว 30-40%
สาเหตุจากต้นทุนและความไม่รู้ ซึ่งด้วยโลกดิจิทัลและพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนไป จึงพยามหาช่องทางเปิดทางให้บรรดาผู้ลงทุนที่ต้องการไปลงทุนจากเงินเก็บของตัวเอง
โดยเลือกและตัดสินใจด้วยตัวเองเพื่อเพิ่มมูลค่าของตัวเอง โดยมีต้นทุนที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เหล่านี้เป็นแนวคิดและที่มาของ “ลิเบอเรเตอร์”แพลทฟอร์มไม่มีสาขา แต่จะอยู่บนมือถือคู่กับคนไปทุกที่ และสามารถตัดสินใจด้วยตัวเอง
ลิเบอเรเตอร์ในวันนี้ สามารถเปิดตัวให้บริการอย่างเป็นทางการ หลังจากได้รับการสนับนุนจากกลต. -ตลท.-สมาคมโบรกเกอร์ให้เราเป็นทางเลือกของนักลงทุน ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกเมื่อมีความเสถียรสเต็ปสองเราจะพัฒนาและเพิ่มฟีเจอร์ที่หลากหลาย
เราอยากตอบโจทย์นักลงทุนมีต้นทุนที่เป็นธรรมเท่ากันทั้งคนตัวเล็กและคนตัวใหญ่ ลิเบอเรเตอร์ไม่ได้เพียงมีคนทำธุรกิจโบรกเกอร์ แต่เป็นหนึ่งในอุตหรรมตลาดทุนที่จะสร้างนักลงทุนในประเทศโดยเฉพาะนักลงทุนรายใหม่ให้เข้าสู่การลงทุนในหลักทรัพย์ ตราสารและตลาดทุนทำให้นักลงทุนมีศักยภาพมีองค์ความรู้ด้วยข้อมูลข่าวสาร เพื่อตัดสินใจด้วยตัวเอง”
นั่นคือเรือธงหลักที่ลิเบอเรเตอร์เดินก้าวไป ถ้าสามารถทำให้ผู้เล่นเป็นคนรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดแต่ละปีตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่จมอยู่กับจำนวนผู้เล่นเดิมๆ
สร้างคอมมูนิตี้ต่อยอดธุรกิจ
ถ้าองคาพยพของธุรกิจ นักธุรกิจและนักลงทุนในตลาดทุนมองเห็นศักยภาพในสิ่งที่ “ลิเบอเรเตอร์”กำลังปลดปล่อยอิสรภาพให้กับนักลงทุนผ่านการซื้อขายบนแพลตฟอร์มด้วยข้อมูลที่ได้เท่าเทียม รวดเร็วเท่ากับกับคนอื่นและสร้างตลาดทุนให้เข้มแข็ง
“ลิเบอเรเตอร์”มีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนที่จะทำให้ต้นทุนของทุกคนที่เข้ามาเป็นสมาชิก และเทรดด้วยต้นทุนต่ำที่สุดเท่าที่จะต่ำได้และสร้างชุมชนที่เป็นผู้ลงทุนในจำนวนมาก ยิ่งมีปริมาณมากยิ่งมีโอกาสในการธุรกิจมากขึ้น
“แพลทฟอร์มลิเบอเรเตอร์เรากำลังสร้างคอมมูนิตี้ให้เกิดขึ้น ข้อมูลต่างๆเป็นศูนย์กลางความรู้ คนรุ่นใหม่ต้องการอิสรภาพในการลงทุนและตัดสินใจด้วยตัวเอง ทุกคนสามารถใช้ข้อมูลในแพลทฟอร์มนี้มาร่วมกันสร้างตลาดทุนด้วยมือของทุกคน และโจทย์ที่ท้าทายสำหรับคนรุ่นใหม่คือ จ่ายแพงทำไม”
นางสาวภาวลิน ลิมธงชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ลิเบอเรเตอร์กล่าวว่ากล่าวว่า 2เดือนที่ผ่านมาหลังจากได้รับอนุญาตจากกลต.ให้ประกอบธุรกิจเป็นวันแรกเมื่อ 21พ.ย.2565 โดยมีนักลงทุนตอบรับและเข้ามาทดลองใช้แอปพลิเคชั่น “ลิเบอเรเตอร์”แล้ว ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ทุกคนมีคำถามเข้ามา จึงขอย้ำว่า “ลิเบอเรเตอร์” เป็นโบรกเกอร์ภายใต้กลต.และตลท. ใช้เวลากันมากว่า 18เดือนที่แล้วเริ่มต้นมีทีม 5คนปัจจุบันมี 50 คนทีมงานและคณะกรรมการมากกว่า 50ปี อีกทั้งยังมีกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนกรณีเกิดความเสียหาย
ภาพอุตสาหกรรมปัจจุบันค่าคอมมิชชั่นคิดกันเฉลี่ย 0.08% สะท้อนการลงทุนซื้อขายวงเงิน 1 ล้านบาทจะเสียค่าคอมฯ800บาท สมมติมีพอร์ต 100,000บาท แค่ซื้อและขายรวมกันประมาณ 60บาท บางที่ซื้อขายแล้วยังขาดทุนยังโดนค่าคอมอีก 160บาท หรือต้องจ่ายมากขึ้นกรณีเปิดเทรดหลายตัว ซึ่งรายย่อยอาจจะมีค่าคอมหลายแบบ ถ้าส่งผ่านมาร์เก็ตติ้งวงเงิน 1ล้านบาทค่าประมาณ 2,500บาท
แต่ที่น่ากลัวคือ รายใหญ่ พอร์ตใหญ่จะมีค่าคอมแบบขั้นบันได โดยพบว่า วงเงิน 1ล้านบาทค่าคอมไม่ถึง 100บาทก็มีแล้ว ทำไมความไม่เท่าเทียมยังมีอยู่?
ปัจจุบันต้นทุนของโบรกเกอร์เป็นเรื่องของบุคลากร สาขา เป็นต้นทุนเกือบ 60% ขณะที่ “ลิเบอเรเตอร์” เทรดหุ้นฟรีไม่มีค่าคอม เราเป็นทีมที่รวมคนที่มาจากธุรกิจโบรกเกอร์ อยากทำให้เป็น “ดิจิทัล โบรกเกอร์”
พร้อมยกเคสนักลงทุนออสเตรเลียสามารถศึกษาเองได้ มีความมั่นใจควบคุมการลงทุนเองได้ และมีความหลากหลายโดยไม่ต้องฟังนักวิเคราะห์เพียงค่ายเดียว ซึ่งเทรนที่เห็นคนส่วนใหญ่เทรดออนไลน์เองกันแล้ว ส่วนออฟไลน์อาจจะเหลือไม่ถึง 10%โดยเฉพาะช่วงโควิด-19มีจำนวนบัญชีเทรดหุ้นเพิ่มขึ้นถึง 1ล้านบัญชี ขนาดช่วงนี้มีคริปโทด้วย
อย่างไรก็ดี ตอนเริ่มต้น “ลิเบอเรเตอร์”เทรดค่าคอม 0%นั้นได้ขออนุญาตสมาคมการแข่งขันทางการค้าก่อนโชว์Business Model ไม่ได้มาเพื่อฆ่าใคร
แต่อยากเปิดโอกาส เพราะเมื่อตลาดทั้งหมดมีจำนวนกว่า 3.33ล้านบัญชีแต่หากไม่นับซ้ำมีอยู่ประมาณ 2ล้านบัญชีในจำนวนนี้มีเพียง 5.49แสนบัญชี และคนที่เทรด 1ครั้งภายใน 1เดือนหรือActiveมีแค่ประมาณ 500,000บัญชี
“ ถ้าลิเบอเรเตอร์”สามารถทำให้คนเข้ามาเทรดมากขึ้นสภาพคล่องตลาดก็จะมากขึ้น เราไม่อยากจำกัดตัวเองแค่เทรดหุ้นและTFEX เรามีแอปของตัวเอง ทำให้ลูกค้าเข้ามาอยู่ในแพลทฟอร์มแล้ว เราอยากเรียกตัวเองว่าเป็น Social Investment Platform เราอยากให้แอปของเราเพิ่มพาร์ทเนอร์เพิ่มโปรดักต์อื่นๆที่มีนวตกรรมทางการเงินที่ดีเข้ามาอยู่ในแอปของเราและเพื่อสร้างความมั่นใจทุนจดทะเบียนเริ่มต้น1,000ล้านบาทจากปกติเริ่มเพียง 500ล้านบาท”
“ลิเบอเรเตอร์”เชื่อในชุมชนการเทรด มีคนช่วยตัดสินใจ หรือมีคนสอนให้คนติดดอยไม่ออกจากตลาด และเมื่อเป็นแพลทฟอร์มสามารถเพิ่มโปรดักต์ที่หลากหลายหรือจะเป็นAPIเปิดให้คนเข้ามาเชื่อมต่อ ดังจะเห็นได้จาก 3คอนเซ็ปต์ของ “ลิเบอเรเตอร์”
1.นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยนวตกรรมการเทรด
2.เรื่องคอนเทนต์ซึ่งจะเปิดตัว “Personalized Content” เป็นฟีเจอร์คอนเทนต์ประมาณเดือนก.พ. รวมถึงพยายามคัดกรองพันธมิตรเข้ามา
3.เรื่องชุมชนซึ่งจะเพิ่มพันธมิตรที่ให้ความรู้/ทำการสอน ไม่ปั้นหุ้น/ไม่หลอกทุบเทรดโดยจะมีทั้งออนไลน์-ออฟไลน์เสริมเข้ามาในโปรดักต์ด้วย
สำหรับแอป “ลิเบอเรเตอร์” เริ่มจาก 0% เราตั้งใจเป็น 2หน้ากาก 1.เป็นหน้ากากที่คนคุ้นเคย แต่หน้ากากที่2.จะสวิตได้เชื่อว่ากลุ่ม “คริปโท”อยากเขามาเทรดหุ้น และอยากทำ Smart portfolio มีแบ่งโปรดักต์ต่างๆ สามารถสวิตการลงทุนได้เมื่อตลาดมีการขึ้นลง
แผนรายได้ปี2566
นางสาวภาวลินกล่าวเพิ่มเติมว่า ลิเบอเรเตอร์ยังมีแผนพัฒนาโปรดักต์ที่เกิดขึ้นมาอีกมาก เพื่อเป็นการตอบคำถามที่คนชอบถามมากที่สุดว่า 0% แล้วรายได้มาจากไหน
โดยระบุว่า ภายในเดือนม.ค.นี้จะเริ่มมีTFEX เฟส2 เทรดผ่านเว็บไซด์เพื่ออำนวยความสะดวกสมาชิกและContent Feed
แต่ P2P Lending ภายใต้ชื่อแอป “Stock Lend”จะเป็นโปรดักต์แรกที่จะสร้างรายได้กับลิเบอเรเตอร์โดย P2P Lending เป็นบริการให้สินเชื่อที่ใช้หุ้นใน SET 100ค้ำประกันสามารถได้รับเงินสดภายใน 2วัน คิดดอกเบี้ย 7-8%ต่อปีและคนที่นำเงินเข้ามาปล่อยกู้บนแพลทฟอร์มนี้ก็จะได้รับผลตอบแทน3-4% ซึ่งดีกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก
“เราเป็นแพลทฟอร์มสามารถเป็นพันธมิตรในวงกว้าง ตอนนี้ซุปเปอร์เทรดเดอร์เป็นพาร์ทเนอร์สอนคอร์สเพื่อตัดสินใจเทรด
ส่วนการรับรู้รายได้นั้น
สิ่งที่โฟกัสปีแรกคือ พัฒนาแพลทฟอร์มการลงทุนที่ตอบโจทย์ ซึ่ง 2เดือนที่ผ่านมาจะมีFeed backเข้ามาและลิเบอเรเตอร์นำมาปรับและพัฒนาให้เร็วที่สุด รวมถึงการให้บริการเปิดบัญชีสะดวกและง่ายโดยมีทีมงานพร้อมอำนวยความสะดวก
นางสาวภาวลินตอบข้อถามที่มาของรายได้ โดยระบุว่า เดือนก.พ.จะมี P2P Lending ซึ่งคัสโตเดี้ยนจะมีรายได้จากส่วนแบ่ง ที่ลูกค้าจ่ายกับดอกเบี้ย และไตรมาส2จะเปิดตัวIPOรายแรก และให้บริการสินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย์(มาร์จิ้นโลน)ในไตรมาส3 และปลายปีเป็นเรื่องลงทุนในกองทุนโดยจะเพิ่มโปรดักต์การลงทุนเข้ามาต่อเนื่อง