บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ทรีนีตี้ จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ดัชนี SET ล่าสุด ปรับตัวลงสู่ระดับที่ Valuation ไม่เคยถูกเท่านี้มาก่อนนับตั้งแต่ปี 2020 สะท้อนผ่านมาตรวัดForward PBV ที่อยู่ ณ ระดับ 1.42x ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำกว่า -1SD จากค่าเฉลียนับตั้งแต่ปี 2006 ไปแล้วและใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของจุดต่ำสุด ในแต่ละรอบในชวงเวลาเดียวกัน ซึ่งอยู่ที่ระดับ 1.39x
ทั้งนี้หากดูจากสถิติในอดีตจะพบว่า การลงทุนในตลาดหุ้นไทย ณ Valuation ระดับนี้ไม่เคยให้ผลตอบแทนติดลบในช่วง 3, 6,12 เดือนหลังจากนั้น โดยหากคิดกลับว่า SET ต้องลงไปที่เท่าใด จึงจะทําให้ระดับ Forward PBV เป็น 1.39x จะได้ว่าดัชนีต้องอยู่ที่ 1544 จุด จึงเป็นที่มาของการปรับลดระดับแนวรับสําคัญของ SET เดือนนี้
และเพื่อเป็นการไม่ให้เสียโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับนักลงทุนระยะยาว เรามองว่าแต้มต่อหรือ Risk-reward ในการลงทุนหุ้นไทย ณ ปัจจุบันนั้น ค่อนข้างน่าสนใจมากขึ้น โดยแนะนำให้นักลงทุนเริ่มต้นจากหุ้นที่มี Downside ในเชิงของ Valuation ค่อนข้างจำกัดแล้ว ซึ่งหากเราใช้วิธี PBV เดียวกันกับภาพของ SET Index ข้างต้น จะได้ว่าตัวหุ้นใน SET100 ที่ ณ เวลานี้ซื้อขายด้วยระดับ Forward PBV ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา จะได้แก่ MTC, OR, BAM, ONEE,TIDLOR, TIPH, BCPG, SCC, KBANK, ACE, SCB, VGI
และหากคัดเฉพาะตัวที่มี Track record ของการซื้อขายย้อนไปถึงปี 2006 จริง จะเหลือเพียง SCC, KBANK และ SCB เท่านั้น สอดคล้องกับมุมมองของเราเมื่อวานนี้ที่ว่าหากราคาหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินของไทยปรับตัวลงจากความกังวลจากเหตุการณ์ในสหรัฐฯช่วงนี้ มองเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อ (Buy on dip) เนื่องจากแทบไม่มีผลกระทบใดๆในเชิงพื้นฐาน
บทวิเคราะห์ บล.เอเซียพลัส (ASPS) ระบุว่า SET Index ถูกกดดันจากปัจจัยภายนอก อย่างการล้มละลายของ SVB Bank กระจายวงกว้าง, ความกังวลเงินเฟ้อที่ยังยืนในระดับสูงนาน รวมถึงแรงกดดันจากการปรับประมาณการลง หลังเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในงวดไตรมาส4/65ออกมาต่ำกว่าคาด
โดยวานนี้ (14 มี.ค.66) ตลาดหุ้นไทยปรับฐานลงแรงอีก - 49.18 จุด หรือ -3.13% เหลือ 1523 จุด ซึ่งเป็นการปรับลงภายในวันเดียวสูงสุดในรอบ 2 ปี 3 เดือน ด้วยมูลค่าซื้อขาย 1.03 แสนล้านบาทสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของปีนี้
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยฯ มีมุมมองว่า SET Index ลงลึกและเร็วเกินไป น่าจะดีดกลับได้บ้าง อีกทั้งยังเป็นโซนที่น่าสะสมในเชิงพื้นฐาน ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังนี้
2. ปกติวันไหน SET ลงหนักเกิน 35 จุด วันถัดมามักจะฟื้นขึ้นมากกว่า 3 ใน 10 ส่วนของที่ลง หรือเฉลี่ยฟื้นมาครึ่งหนึ่งของที่ลง สะท้อนได้จากสถิติในอดีตย้อนหลัง 5 ปี (ไม่นับช่วงเผชิญ COVID-19 หนักๆ หรือช่วง ม.ค. - มี.ค. 2563) วันที่ SET ปรับฐานลงมากกว่า 35 จุด วันถัดมามักจะมีการรีบาวน์เสมอ
รายละเอียดดังตารางทางด้าน
3. ณ ดัชนีที่ 1523 จุด ในมุม Valuation ตลาดหุ้นไทย อยู่ในโซนน่าสะสมหุ้นมากขึ้น สะท้อนได้จาก SET Index ปรับตัวลงแรงในช่วง 2 วันที่ผ่านมากว่า 80 จุด กดดันให้ Tailing PE ลดระดับลงจาก 19.6 เท่าเหลือ 18.7 เท่า ถือว่าถูกกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่ 20.4 เท่า
ในมุมมองของฝ่ายวิจัยฯ ที่ดัชนีปัจจุบันมี MEYG สูงถึง 4.52% สูงกว่าค่าเฉลี่ย 4.2% อีกทั้งดัชนีปัจุบัน Upside ยังเปิดกว้างมากขึ้น เมื่อคำนวณจาก EPS66F 91.8 บาท/หุ้น คูณกับ PE66F ที่เหมาะสม17.54 เท่า ที่ปรับลดลงมาค่อนข้างแรงในช่วงก่อนหน้า 99.2 บาท/หุ้น ได้ดัชนีเป้าหมายทีเหมาะสม 1610 จุด
ดังนั้นจึงมองว่าตลาดหุ้นไทยมีโอกาสดีดตัวกลับได้ หลังจากที่ปรับฐานแรงในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ค่าเงินสหรัฐกลับมาอ่อนค่า และค่าเงินในเอเชีย รวมถึงบาทที่พลิกกลับมาแข็งค่าต่ำกว่า 35 บาท/เหรียญ อีกครั้ง หนุนต่างชาติที่ลงทุนในไทยมีโอกาสได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และตัดสินใจย้ายเม็ดเงินจากสหรัฐบางส่วนกลับมาสะสมตลาดหุ้นไทย
กลยุทธ์การลงทุนแนะนำถือเงินสดบางส่วนราว 10 – 15% และเลือกหุ้นที่พื้นฐานแข็งแกร่ง กำไรเติบโตในอนาคตอย่าง JMT ORI GPSC รวมถึง AMATA เป็นหุ้น Top picks