ท่ามกลางผลตอบแทนจากการลงทุนในดัชนีหุ้นโลกที่เป็นบวกถึง 12% แต่การลงทุนในตลาดหุ้นไทยติดลบถึง 10% จากดัชนี SET ตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2565 และยังพบว่า ผลตอบแทนที่แย่ที่สุด 10 อันดับ มีหุ้นไทยรวมถึง 4 กลุ่มเลยทีเดียว
ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ หัวหน้านักกลยุทธ์การลงทุน ฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัดหรือ CGSCIMB ให้สัมภาษณ์ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ที่ทุกคนวิ่งไปเทรดหุ้นกลุ่มเทครับการกลับมาของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ส่งผลให้ตลาดสหรัฐทำนิวไฮในรอบ 52 สัปดาห์
เช่นเดียวกับตลาดฝั่งยุโรปช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาที่ทำได้ดีและไปได้หลังจีนเปิดเมือง เพราะมีกำลังซื้อของฟุ่มเฟือยฟื้นตัวกลับมาได้ ส่วนญี่ปุ่นหุ้นฟื้นกลับมา เพราะใช้นโยบายปรับโครงสร้างตลาดเงินตลาดทุน ให้บริษัทจ่ายปันผลหรือซื้อหุ้นคืนมากขึ้นกว่าเดิม และส่วนหนึ่งเพราะคนต้องการกระจายความเสี่ยงออกจากจีน
ส่วนตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงพร้อมตลาดหุ้นจีน ส่วนหนึ่งเพราะจีนไม่เน้นใช้จ่ายหรือเดินทางทันทีเมื่อเปิดเมืองและไทยไม่มีสินค้าที่จีนอยากซื้อ นอกจากนี้ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงจากกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาเรลเหลือกว่า 70 ดอลลาร์ต่อบาเรลในปัจจุบัน ทำให้บริษัทธุรกิจที่เกี่ยวกับน้ำมันค่อนข้างซึม เพราะผลกระทบด้านราคา และหุ้นยังได้รับผลกระทบจากการเมือง ทำให้เม็ดเงินต่างชาติิไม่เข้าแถมยังออกอีกด้วยจากความไม่แน่ใจ
“ครึ่งแรกของปีนี้ ในแง่การลงทุนนั้น นับเป็นปีที่แต่ละประเทศมีความแตกต่างกันสูงมาก ทำให้แนวโน้มครึ่งปีหลัง หากไม่มีอะไรทำให้เทรนด์ความสัมพันธ์ของตลาดหุ้นเข้าหากันได้ จะยิ่งห่างจากกันเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นดาวเด่นครึ่งแรกของปี ถ้าไม่มีจุดกลับตัวก็จะเด่นต่อไป ส่วนที่ไม่เด่นต้องหาจุดกลับตัวให้ได้ ไม่เช่นนี้จะโดนทิ้งต่อไป” ดร.จิติพลกล่าว
ทั้งนี้สิ่งที่จะเห็นในครึ่งหลังของปี อย่างแรกคือ เทรนด์ของเศรษฐกิจ โดยจุดกลับตัวของสหรัฐจะอยู่ที่ภาคเศรษฐกิจ ซึ่งมีโอกาสที่เศรษฐกิจจะถดถอย โดยปัญหาของภาคธนาคารจะเริ่มเห็นมากขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 และมีโอกาสเห็นการเลิกจ้างจากครึ่งแรกที่การจ้างงานสูงผิดปกติ จุดนี้น่าจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หยุดขึ้นดอกเบี้ย ตลาดยุโรปอาจจะได้รับประโยชน์ ถ้าเงินดอลลาร์อ่านค่า แต่ญี่ปุ่นค่าเงินอ่อนค่าอาจจะเลือกกลุ่ม Domestic
ขณะที่ฝั่งเอเชียตลาดเวียดนามน่าสนใจ เหตุธีมลงทุนเปลี่ยนจากจีนไปยังประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตดี ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซียและเวียดนาม ซึ่งถ้าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดี จะเลือกเวียดนามก่อน ถ้าเศรษฐกิจโลกฟื้นแบบกลางๆ เน้นธีมพวกยานยนต์สมัยใหม่ ก็จะไปอินโดนีเซีย แต่หากเศรษฐกิจไม่ดีและคนไม่ค่อยมีเงินซื้อรถไฟฟ้าจะไปอินเดีย เพราะเน้นปริมาณคน
เพราะฉะนั้นครึ่งหลังของปีอินเดียจึงน่าสนใจมากที่สุด เพราะ 1.เป็นตัวแทนของจีนได้สมน้ำสมเนื้อ 2.โครงสร้างของเศรษฐกิจเน้นเติบโตจากการบริโภคของคนอายุน้อยและมีปริมาณคนมาก และ 3.อินเดียวางตัวเป็นกลางในภูมิรัฐศาสตร์ เห็นได้จากเป็นประเทศที่สามารถนำเทคโนโลยีทั้งจีนและสหรัฐไปใช้ได้ จึงเป็นจุดแข็ง ถ้านักลงทุนต้องการกระจายการลงทุน ซึ่งเศรษฐกิจจะโต 6-7%
อย่างไรก็ตาม จุดที่ต้องระวังคือ
ส่วนตลาดหุ้นไทยภาพการลงทุนในครึ่งปีหลัง ยังมองโอกาสใน 3 กลุ่มคือ
“ธีมลงทุนครึ่งปีหลัง ส่วนตัวผมชอบญี่ปุ่น อินเดีย เพราะเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่สามารถนำ AI มาใช้ หุ้นไทยกลุ่ม เฮลธ์แคร์ บริการสาธารณะสุข ซึ่งราคาไม่แพง ขณะที่ทองคำก็น่าสนใจ ถ้าดอลลาร์อ่อนค่าและดอกเบี้ยปรับลด”ดร.จิติพลกล่าว
หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,900 วันที่ 29 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566