ผลการลงมติโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีของรัฐสภา (13 ก.ค.66) มีคะแนนเสียงเห็นชอบ"นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์" เป็นนายกรัฐมนตรี 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง และงดออกเสียง 199 เสียง ถือว่าได้คะแนนเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภา ( ขาดอีก 52 เสียงที่จะโหวตสนับสนุนเพื่อให้เสียงถึง 376 เสียง) ทำให้ไม่ผ่านการโหวตเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทยในรอบแรก คาดว่าจะมีการนัดประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตอีกครั้งวันที่ 19 ก.ค.66
ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส หรือ ASPS ระบุว่า ภาวะที่เป็นสุญญากาศทางการเมือง หากนานเกินไปจะมีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจไทย โดยนอกจากจะทำให้ขาดนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศที่ชัดเจนแล้ว ก็จะมีผลต่อระบบงบประมาณ ซึ่งกำลังจะหมดปีงบประมาณ ในวันที่ 30 ก.ย.66 หากการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า จะทำให้การจัดทำงบประมาณแผ่นดินปี 2567 (ปกติเริ่มใช้ 1 ต.ค.66) ต้องล่าช้าออกไป
นอกจากนี้หากมีความไม่สงบนอกสภา โดยมีการนัดหมายชุมนุมกันในหลายจังหวัด อาจสร้าง Downside ต่อประมาณการ GDP ปีนี้ได้ ทั้งนี้ปัจจุบันแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยตัวหลักอยู่ที่ภาคท่องเที่ยวในภาวะปกติ อาทิ ปี2562 มีสัดส่วนรายได้ราว 12% มูลค่า GDP ทั้งหมด ซึ่งต้องจับตาว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่ภาวะที่เห็นการชะลอตัวของนักท่องเที่ยวหรือไม่ หากนักท่องเที่ยวต่ำกว่าเป้าหมายก็จะส่งผลกระทบต่อการทำกำไรของหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว – โรงแรม อาทิ CENTEL ERW MINT SHR AOT เป็นต้น
"15 หุ้น" พื้นฐานแกร่ง ราคาย่อลงมาลึก
ในช่วงที่การเมืองเกิดภาวะสุญญากาศ กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ เน้น Trading หุ้นพื้นฐานแกร่งที่ย่อลงมาลึกจากความกังวลการเปลี่ยนผ่านนโยบายทางการเมือง หรือกลัวผลกระทบนโยบายของรัฐบาลก้าวไกล ทั้ง 4 กลุ่มด้านล่าง ดังนี้
สรุป การเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งแรกไม่สำเร็จ และน่าจะมีการนัดหมายเลือกอีกรอบ19 ก.ค.66 นี้ แต่เนื่องด้วยประเด็นความเสี่ยงทั้งนอกและในสภายังมีอยู่มาก คาดทำให้มีโอกาสเปิด Downside ของ GDP Growth ไทย ที่เดิมคาดอยู่ในกรอบ 3.5-4.0% ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯคาดตลาดหุ้นไทยมีโอกาสผันผวนต่อไปในเดือนนี้ และเชื่อว่า Fund Flow ต่างชาติยังคงไม่ไหลเข้ามาสะสมในเร็ววัน แนะเลือกกลุ่มหุ้นสลับขั้วที่มีโอกาส Outperform SET ในช่วงเวลาดังกล่าว ชอบ STEC CBG TIDLOR CRC CPALL GULF PTTGC เป็นต้น