จากการเฝ้าสังเกตุการความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทยในช่วงต้นสัปดาห์นี้ (9-13 ก.ย.67) เริ่มต้นวันที่ 9 ก.ย.67 เปิดสัปดาห์มา ตลาดหุ้นแกว่งตัวในกรอบแคบๆ ดัชนีปิดตลาดแดนบวกที่ระดับ 1,431.13 จุด เพิ่มขึ้น 3.49 จุด หรือเปลี่ยนแปลง 0.24% มีมูลค่าซื้อขายทั้งสิ้น 87,242.26 ล้านบาท
ถัดมาในวันที่ 10 ก.ย.67 ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดแดนลบที่ระดับ 1,428.03 จุด ลดลง 3.10 จุด หรือเปลี่ยนแปลง 0.22% มีมูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 64,242.04 ล้านบาท
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการแกว่งตัวของตลาดหุ้นไทยในช่วงต้นสัปดาห์นี้เสมือนกำลังรอปัจจัยใหม่เข้ามาหนุน ด้วยใกล้ถึงนัดวันสำคัญที่ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ในวันที่ 12 ก.ย.67 นี้
นายกิจพณ ไพรไพศาลกิจ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นดีกว่าเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ ภูมิภาค ซึ่งการการเพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุเฉพาะตัว
โดยเฉพาะด้านความชัดเจนการจับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลชุดใหม่ที่ยังคงเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับนโยบายยุคนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ทำให้ความหวังที่ในเรื่องของการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ การอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมไปถึงนโยบายผลักดันตลาดทุนไทย
แต่ด้วยการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรงในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า นอกจากความชัดเจนการเมืองที่เพิ่มขึ้น ปัจจัยสำคัญอีกประการมาจากความคาดหวังของนักลงทุนที่ประเมินเงินจากการเสนอขายหน่วยลงทุนประเภท ก. จากกองทุนวายุภักษ์ จะไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นโดยตรง และผลักดันตลาดในเชิงบวก
ทำให้มาถึงต้นสัปดาห์นี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยดูเหมือนจะเริ่มตึงตัว แกว่งตัวในกรอบแคบๆ เพื่อรอความหวังปัจจัยใหม่เข้ามาหนุน ในทางกลับกัน ทางฝ่ายกลับไม่ได้มองว่าการมาของ "กองทุนวายุภักษ์" จะเป็นผลบวกขนาดนั้น เนื่องจาก
"แม้เรามองว่าด้วยแนวทางในการลงทุนของกองทุนวายุภักษ์ ไม่ได้เป็นการลงทุนแบบทุ่มหมดหน้าตัก แต่เป็นการเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มดี และให้ผลตอบแทนที่ดี ทำให้เงินที่จะมาอยู่ในตลาดทุนไทยอาจไม่ได้เต็ม 100% และมีการกระจายไปยังสินทรัพย์อื่นๆ แต่อีกหนึ่งข้อดีของการมาของกองทุนวายุภักษ์ คือ ช่วยเป็นเกราะป้องกัน Downside ให้กับ SET Index ยามที่มีแรงกระเพื่อมเข้ามากระทบ"
ในส่วนปัจจัยต่างประเทศนั้น มองว่าสัญญาณการลดดอกเบี้ยเฟดรอบเดือนก.ย.67 ยังไม่แน่นอนในเรื่องขนาด ตัวเลขเศรษฐกิจที่ผสมผสานในช่วงที่ผ่านมา ทำให้คาดการณ์รอบประชุมในเดือนก.ย. ยังคงมีความไม่แน่นอน ล่าสุด ตลาดมองความน่าจะเป็นการลดดอกเบี้ย 0.25% ที่ 67% และการปรับลดดอกเบี้ยในระดับ 0.50% ที่ความน่าจะเป็น 33%
ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีสหรัฐฯ ปรับลดลงไปต่ำสุด 3.65% (จากสูงสุด 5.02% ในช่วงเดือน ต.ค.66) ทำให้อาจมองว่าตลาดพันธบัตร วิ่งรับข่าวการลดดอกเบี้ยไปล่วงหน้าไกลเกินไป หรือมากไปแล้ว ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เราอาจเห็นแรงขายทำกำไรในหุ้นหรือสินทรัพย์เสี่ยงในระยะสั้นได้
ภาพรวมกลยุทธ์ สำหรับ SET Index การผ่าน 1,365 จุดไปได้ทำให้กรอบการเก็งกำไร (trading range) ขยับขึ้นเป็น 1,365-1,430 จุด ซึ่งยังคล้ายพันธบัตร และได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง อาทิ ไฟฟ้า รีทส์ แกร่งกว่าตลาด และใช้จังหวะผันผวนสะสมหุ้นที่โมเมนตัมกำไรยังเป็นขาขึ้น อาทิ สื่อสาร, อาหาร และค้าปลีก นอกจากนี้กลุ่มท่องเที่ยวก็ยังมีความน่าสนใจจากการเข้าสู่ไฮซีซัน ทางฝ่ายจึงชอบ AOT, ERW, SPA
สำหรับหุ้นแนะนำ
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)
อย่างไรก็ตาม ประเมินกรอบแนวรับในระยะสั้นนี้ไว้ที่ระดับ 1,405 และกรอบแนวต้านที่ระดับ 1,437 จุด สำหรับสัดส่วนลงทุนนั้น แนะนำถือเงินสด 40% และพอร์ตหุ้น 60%
บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ (9-13 ก.ย. 67) ในส่วนของปัจจัยต่างประเทศ ได้แก่
ในขณะปัจจัยในประเทศ รัฐบาลชุดใหม่ มีกำหนดการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา วันที่ 12 ก.ย. ซึ่งคาดว่าจะยังเป็นแรงหนุนเฉพาะตัวต่อตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง แม้ว่าปัจจัยต่างประเทศอาจจะเริ่มมีความผันผวน