ในภาวะที่ตลาดหุ้นไทยยังมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในการเลือกลงทุนในหุ้นอาจจะมีความเสี่ยงหากเล่นไปตามกระแสหรือสถานการณ์ ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาราคาหุ้นไทยหลายบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงจากการลงทุนซื้อความหวังในอนาคตไปมากแล้ว และมีความเสี่ยงที่ราคาหุ้นอาจลดลงหากความหวังที่วางไว้ไม่เป็นไปตามคาดการณ์
แต่ก็ใช่ว่าจะไร้สิ้นทางออกไปเสียทีเดียว เพราะทางเลือกของการลงทุนยังมีอยู่ การกระจายความเสี่ยงของพอร์ตไปลงทุนในหุ้นระยะกลางถึงยาว อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยได้ โดยเฉพาะในกลุ่มหุ้นที่มีการจ่าย "เงินปันผล" ที่สูงยังเป็นที่น่าสนใจ และดูเหมือนว่าจะกลับมาอยู่ในโฟกัสของนักลงทุนอีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งหนึ่งในกลุ่มที่มีอัตราการจ่ายปันผลที่สูงและมีการอย่างเติบโตที่มีเสถียรภาพมาโดยตลอด คงหนีหุ้นกลุ่มแบงก์ไปไม่ได้ แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา ราคาหุ้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาแล้วในระดับหนึ่งแล้ว แต่ในปัจจุบันราคาก็ยังไม่ได้แพงมาก และแม้ว่าผลการดำเนินงานอาจไม่ได้ขยายตัวโดดเด่นเมื่อเทียบกับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมอื่นๆ
โดย นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐาน บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด (Liberator) ให้ความคิดเห็นว่า กลุ่มแบงก์ก็ยังเป็นกลุ่มที่มีความน่าสนใจ เพราะมีการจ่ายปันผลที่ค่อนข้างสูงทั้งแบงก์เล็กและใหญ่ และจ่ายสูงกว่าตลาด ด้วยภาวะดอกเบี้ยที่เป็นขาลงคนไปหาหน้าหุ้นที่ Lock Yield สูงๆ
"แม้ว่านโยบายการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจทำให้กลุ่มแบงก์จะบาดเจ็บจากการลดลงของส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ซึ่งมีผลกระทบต่อมาร์จิ้น แต่แบงก์ก็ยังมีความน่าสนใจ อีกทั้งยังเป็นกลุ่มที่ตอบโจทย์เงื่อนไขของกองทุนรวมวายุภักษ์ ที่ต้องการหุ้นมีแนวโน้มธุรกิจที่ดีและให้ปันผลสูง"
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าด้วยนโยบายการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ของ กนง. มาสู่ 2.25% ทำให้เป็นที่กังวลว่าหลังจากนี้ทางธนาคารพาณิชย์จะได้รับผลกระทบทำให้ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ปรับตัวลดลงไปด้วย โดยนับตั้งแต่ 8 มิ.ย.65 ต่อเนื่องมาจนถึง 7 ก.พ.67 กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยมาอย่างต่อเนื่องจากระดับ 0.50% มาสู่จุดสูงสุดที่ 2.50%
ทำให้ในช่วงปี 65-66 และต่อเนื่องมาจนถึงกลางปี 67 ดอกเบี้ยไทยจึงเป็นวัฏจักรขาขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อ NIM และผลการดำเนินงานของกลุ่มแบงก์ ดังนั้น ทั้งในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ กำไรสุทธิ และกำไรสะสม จึงเป็นส่วนประกอบที่จะสะท้อนถึงผลการดำเนินงานและการจ่ายปันผลของหุ้นแบงก์
จากการเก็บสถิติผลประกอบการหุ้นกลุ่มแบงก์ ที่แบ่งตามการประเมินของ Consensus จำนวน 7 แบงก์หลักที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ประกอบด้วย KBANK SCB KTB BBL KKP TTB และ BAY โดยเรียงลำดับจากขนาดมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap.) ดังนี้
บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB
ผลงาน 6 เดือนแรกปี 67
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK
ผลงาน 6 เดือนแรกปี 67
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB
ผลงาน 6 เดือนแรกปี 67
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL
ผลงาน 6 เดือนแรกปี 67
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY
ผลงาน 6 เดือนแรกปี 67
ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB
ผลงาน 6 เดือนแรกปี 67
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP
ผลงาน 6 เดือนแรกปี 67
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลการจ่ายเงินปันผลของหุ้นกลุ่มแบงก์ 7 บริษัท อิงตามผลสำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ (Consensus) พบว่า หุ้นแบงก์ที่มีการจ่ายเงินปันผลสูงที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 67 จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ SCB ซึ่งมีการจ่ายเงินปันผลไปแล้ว 2 ครั้ง รวมจำนวน 9.84 บาท เพิ่มขึ้น 2.15 บาท หรือเปลี่ยนแปลง 27.95% จากปีก่อนที่จ่ายเงินปันผลที่ 7.69 บาท
รองลงมา คือ KBANK โดยในปีนี้มีการจ่ายเงินปันผลแล้ว 2 ครั้ง จำนวนรวม 7.50 บาท เพิ่มขึ้น 3.50 บาท หรือเปลี่ยนแปลง 87.5% จากปีก่อนที่มีการจ่ายปันผลรวมที่ 4.00 บาท และ BBL ที่ปีนี้จ่ายปันผลไปทั้งหมด 2 ครั้ง จำนวนรวม 7.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาท หรือเปลี่ยนแปลง 40% จากปีก่อนที่จ่ายปันผลไป 5.00 บาท
ในขณะที่ TTB มีการจ่ายปันผลที่น้อยที่สุดในบรรดา 7 แบงก์ โดยในปีนี้มีการจ่ายเงินปันผลไปแล้ว 2 ครั้ง จำนวนรวม 0.12 บาท เพิ่มขึ้น 0.017 บาท หรือเปลี่ยนแปลง 16.50% จากปีก่อนที่มีการจ่ายปันผลไปทั้งสิ้น 0.103 บาท
SCB
เงินปันผล : 9.84 บาท
รอบผลประกอบการ : 1 ม.ค.-31ธ.ค.66 (7.84 บาท)
ที่มาของเงินปันผล : ปันผลจากกำไรสุทธิ และปันผลจากกำไรสะสม (2.00 บาท)
ราคาหุ้น : 110.00 บาท
P/E : 8.79 เท่า
KBANK
เงินปันผล : 7.50 บาท
รอบผลประกอบการ : -
ที่มาของเงินปันผล : ปันผลจากกำไรสะสม
ราคาหุ้น : 151.50 บาท
P/E : 7.64 เท่า
BBL
เงินปันผล : 7.00 บาท
รอบผลประกอบการ : -
ที่มาของเงินปันผล : ปันผลจากกำไรสะสม
ราคาหุ้น : 154.00 บาท
P/E : 6.89 เท่า
KKP
เงินปันผล : 3.00 บาท
รอบผลประกอบการ : 1 ม.ค.-31 ธ.ค.66 (1.75 บาท) และ 1 ม.ค.-30 มิ.ย.67 (1.25 บาท)
ที่มาของเงินปันผล : ปันผลจากกำไรสุทธิ
ราคาหุ้น : 52.50 บาท
P/E : 10.58 เท่า
KTB
เงินปันผล : 0.868 บาท
รอบผลประกอบการ : -
ที่มาของเงินปันผล : ปันผลจากกำไรสะสม
ราคาหุ้น : 21.50 บาท
P/E : 7.85 เท่า
BAY
เงินปันผล : 0.85 บาท
รอบผลประกอบการ : -
ที่มาของเงินปันผล : ปันผลจากกำไรสะสม
ราคาหุ้น : 26.25 บาท
P/E : 6.29 เท่า
TTB
เงินปันผล : 0.12 บาท
รอบผลประกอบการ : 1 ม.ค.-31ธ.ค.66 (0.055 บาท) และ 1 ม.ค.-30 มิ.ย.67 (0.065 บาท)
ที่มาของเงินปันผล : ปันผลจากกำไรสุทธิ
ราคาหุ้น : 1.83 บาท
P/E : 9.07 เท่า