ในช่วงที่ผ่านมาจะพบว่า หลายบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ถูกซื้อขายในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี (Book Value) เป็นผลทำให้หลาย บจ. มีการทยอยประกาศซื้อหุ้นคืน (Treasury Stock) เพื่อบริหารสภาพคล่องส่วนเกินกันอย่างต่อเนื่อง
โดยเหตุผลในการ "ซื้อหุ้นคืน" ของเหล่า บจ. นั้น หลักๆ เพื่อเป็นการบริหารสภาพคล่องส่วนเกินของบริษัทให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนให้แก่ส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) รวมถึงเพิ่มอัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ให้มากขึ้น
รวมยังเพื่อเป็นการตอกย้ำและแสดงให้เห็นถึงสภาพคล่องของบริษัทยังคงมีเหลืออยู่เพียงพอ ด้วยสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง ตลอดจนยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน และสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว เดิมทีนั้นเกณฑ์การซื้อหุ้นคืนของ บจ. ค่อนข้างมีกรอบที่จำกัด ทำให้ไม่เป็นที่นิยมนัก
แต่ด้วยการปลดล็อคเกณฑ์การซื้อหุ้นคืนของตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่งผลให้ บจ. ให้ความสนใจในการซื้อหุ้นคืนมากขึ้น หรืออธิบายให้เข้าใจง่ายๆว่า เมื่อความต้องการหุ้นเพิ่มขึ้น ราคาหุ้นการจะปรับตัวได้สูงขึ้น และเมื่อปริมาณหุ้นที่หมุนเวียนซื้อขายในตลาดลดลง ก็จะส่งผลให้กำไรสุทธิต่อหุ้นสูงขึ้นตามไปด้วย
ทั้งนี้ ล่าสุดทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เผยถึงจำนวน บจ. ที่ประกาศการรับซื้อหุ้นคืน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 จำนวน 30 บริษัท คิดเป็นวงเงินรวมกว่า 36,845 ล้านบาท แบ่งเป็น บจ. ใน SET จำนวน 26 บริษัท วงเงินรวม 26,590 ล้านบาท และ mai จำนวน 4 บริษัท วงเงินรวม 255 ล้านบาท
ประกอบด้วยหมวด
จากเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2567 ที่มี บจ. รับซื้อหุ้นคืนรวมทั้งสิ้น 39 บริษัท คิดเป็นวงเงินรวมกว่า 29,223 ล้านบาท แบ่งเป็น SET จำนวน 34 บริษัท วงเงินรวม 28,826 ล้านบาท และ mai 5 บริษัท วงเงินรวม 397 ล้านบาท แม้ว่าจำนวน บจ. จะลดลง แต่มูลค่ากลับเพิ่มขึ้นถึง 2,378 ล้านบาทจากสิ้นปีก่อน หรือคิดเป็นกว่า 26.08%