ทางออกนอกตำรา : 'ฐาปน' ทายาทเบียร์ช้าง ท้าชนยักษ์ ‘อาซาฮี-คิริน-ซันโตรี่’

06 ต.ค. 2560 | 14:52 น.
อัปเดตล่าสุด :06 ต.ค. 2560 | 22:02 น.
 

อ๊ายยย!!!!ขายของ

1507299840676

[caption id="attachment_216877" align="aligncenter" width="300"] ฐาปน สิริวัฒนภักดี ฐาปน สิริวัฒนภักดี[/caption]

ต้องบอกว่าฮือฮาเมื่อ “เสี่ยหนุ่ม” ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจฯ นำทีมผู้บริหารกลุ่มไทยเบฟ ประกอบด้วย ประภากร ทองเทพไพโรจน์ กรรมการอำนวยการ กลุ่มธุรกิจสุรา ลีเม็ง ตัน กรรมการผู้อำนวยการ กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ นงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้อำนวยการ ธุรกิจอาหาร ออกมาชี้แจงผลประกอบการและยุทธศาสตร์ธุรกิจของ “กลุ่มราชาเทกโอเวอร์” ในเมืองไทย

เฉพาะรายได้ของบริษัท 9 เดือน (ต.ค. 59-มิ.ย. 60) มีทั้งสิ้น 142,460 ล้านบาท ติดลบ 6% แต่มีกำไร 21,117 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1% เนื่องจากการลดต้นทุนและบริหารงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

[caption id="attachment_216879" align="aligncenter" width="503"] สัวเจริญ สิริวัฒนภักดี สัวเจริญ สิริวัฒนภักดี[/caption]

ผมตามไปตรวจสอบรายได้ของกลุ่มไทยเบฟในปี 2559 พบว่า ธุรกิจของกลุ่มซึ่งผลิตสินค้าใน 3  กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มสินค้า Spirits (กลุ่มสุรา), กลุ่มสินค้า Beer (กลุ่มเบียร์) และกลุ่มสินค้า NAB (กลุ่มธุรกิจไร้แอลกอฮอล์) มีรายได้ทั้งหมด 1.7 แสนล้านบาท มีกำไร 2.2 หมื่นล้านบาท

แต่ปีนี้เพียง 9 เดือนกลับมีกำไรไปแล้ว 21,117 ล้านบาท สะท้อนว่ากลุ่มธุรกิจนี้มีกำไรดีมากๆ แม้ว่า “เสี่ยหนุ่ม” ทายาทคนโตของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี จะบอกว่ามีอัตราการขายที่หดตัวลงถึง 6%

ปัจจุบันธุรกิจในกลุ่มไทยเบฟที่ “ฐาปน” ดูแลมีมูลค่าทรัพย์สินราว 5.5 แสนล้านบาท ถ้ากลุ่มไทยเบฟจดทะเบียนอยู่ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็จะติดอยู่ในอันดับ 1 ใน 10 ของบริษัทที่มีขนาดทรัพย์สินใหญ่ที่สุดในประเทศ ใกล้เคียงกับธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) หรือ บริษัท ท่าอากาศยานไทยฯ (AOT) ประมาณนั้น

LandingPage16_th_01

อะไรที่ทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตเหล้าเบียร์ และหมวดอาหารกำรี้กำไรงามขนาดนั้น ในเมื่อ เพจลงทุนแมน เคยทำการศึกษาต้นทุนจากงบการเงิน แล้วพบว่าธุรกิจเบียร์เป็นธุรกิจที่ผู้ผลิตมีกำไรบางมากจนน่าตกใจ โดยพบว่า ในรายได้ 100 บาท จะมีต้นทุนในการดำเนินการผลิตจนถึงการขายอยู่ประมาณ 97 บาท

ต้นทุนที่มากที่สุดคือ การจ่ายภาษีสรรพสามิตสูงถึง 58 บาท

มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าแพ็กเกจ ค่าเสื่อม ค่าแรงงาน รวมถึงค่าการตลาดรวมกันทั้งสิ้น 34-35 บาท

มีต้นทุนค่าวัตถุดิบที่ซื้อมาใช้ในการผลิตเบียร์เพียงแค่ 5 บาท ปลายทางสุดท้ายเหลือกำไรในการขายเบียร์เพียง 3 บาทเท่านั้น

แต่สามารถสร้างอาณา จักรเหล้า เบียร์ ที่ประกาศรวมกลุ่มของบริษัท สุรา และเบียร์ หลายบริษัทเข้าด้วยกัน จากนั้นก่อตั้งบริษัท ไทยเบฟฯ ขึ้นมาเมื่อปี 2546 หรือเมื่อ 14 ปีที่ผ่านมาแต่มีขนาดธุรกิจกว่า 5.5 แสนล้านบาท เพราะธุรกิจอาหารนั้นในปีที่ผ่านมากลุ่มไทยเบฟมีรายได้แค่ 6,000 ล้านบาท จึงถือว่าน่าสนใจมากๆ ในทางธุรกิจ…

นี่เป็นประเด็นหนึ่งที่ชวนติดตาม เพราะถ้าการขายเบียร์ กำไรแค่ 3 บาท แสดงว่าธุรกิจกลุ่มช้างต้องขายจำนวนเท่าไหร่จึงจะทำกำไรมากโขเป็นหมื่นล้านบาท

[caption id="attachment_216880" align="aligncenter" width="334"] ปภัชญา-ฐาปน สิริวัฒนภักดี ปภัชญา-ฐาปน สิริวัฒนภักดี[/caption]

ประเด็นต่อมาที่น่าสนใจคือการที่ “เสี่ยหนุ่ม” ประกาศยุทธศาสตร์ของธุรกิจว่า ภายในปี 2020 หรือปี 2563 กลุ่มไทยเบฟจะเป็นผู้นำธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มอันดับ 1 ในอาเซียน ที่มีเสถียรภาพและการเติบโตอย่างยั่งยืน นำไทยเบฟสู่ Stable & Sustainable Asean Leader เรียกว่าท้าชนยักษ์ใหญ่

ในปัจจุบัน เสี่ยหนุ่มทายาทเจ้าสัวเจริญบอกว่า ในแง่ของมูลค่าธุรกิจตามราคาตลาด (Market cap)ของบริษัทไทยเบฟฯล่าสุดอยู่ที่ 1.67 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถือเป็นเบอร์ 2 ของผู้นำตลาดเครื่องดื่มแบบครบวงจรในเอเชีย เป็นรองแค่กลุ่มอาซาฮี ที่มีมาร์เก็ตแคปประมาณ 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ขณะที่กลุ่มคิริน ที่มีเบียร์ เครื่องดื่มจำหน่ายทั่วโลกมีมาร์เก็ตแคป 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และกลุ่มซันโตรี่ ของญี่ปุ่นมีมาร์เก็ตแคป 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ถ้าเป็นเช่นนี้ กลุ่มไทยเบฟหายใจรดต้นคอกลุ่มอาซาฮีแบบจี้ติดๆ จากปัจจุบันเป็นอันดับ 2 ของ World Member Market  ที่กลุ่มอาซาฮีรักษาบัลลังก์ไว้อย่างเหนียวแน่นหลายสิบปี

51226 แผนเด็ดที่จะก้าวขึ้นเบอร์ 1 ในอาเซียนดูท่าจะไม่ไกล เมื่อฐาปน แบไต๋ว่ากำลังเดินหน้าปรับโครงสร้างในบริษัท เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟฯ (เอฟแอนด์เอ็น) ที่ปัจจุบันไทยเบฟถือหุ้นอยู่แค่ 28% ทำให้ไม่สามารถบันทึกรายได้เข้ามาในกลุ่มบริษัทได้ จนกว่าจะถือหุ้นเกิน 50% ดังนั้นในเบื้องต้นอาจจะแลกหุ้นกัน (Swap) นี่คือ เทคนิคการ “โตแบบตัดต่อ” ในทางบัญชี และการขยายช่องทางการตลาดที่น่าสนใจ

ไม่นับการนำเหล้าขาวที่มาจากภูมิปัญญาไทย “รวงข้าว ซิลเวอร์”  สุราขาว 30 ดีกรี  และ “BLEND 285” ที่มีการปรับปรุงให้พรีเมียมมากขึ้น เพื่อตีตลาดในเวียดนาม เมียนมา ฟิลิปปินส์

ทายาทเจ้าสัวเจริญประกาศชัดว่า ในเร็ววันจะสร้างอาณาจักรไทยเบฟให้กลายเป็นเบอร์ 1 ของอาเซียนคงอยู่ไม่ไกล

ยิ่งเมื่อส่งสัญญาณออกมาว่าหลังจากนี้ไป ไทยเบฟจะเพื่อความหลากหลายของตลาดและผลิตภัณฑ์ (Diversity) เพื่อขยายตลาดในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ พร้อมต่อยอดด้านธุรกิจอาหาร quick service restaurant (KFC)ที่ซื้อแฟรนไชส์กิจการร้านไก่ทอดเคเอฟซี กว่า 240 สาขา และสาขาที่กำลังสร้างขึ้นใหม่อีก 100 แห่งในประเทศไทย มูลค่า 11,300 ล้านบาท จากกลุ่มยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)

แสดงว่า ราชาแห่งการเทกโอเวอร์ยังคงรักษาแชมป์ต่อยอดไว้ในอาณาจักรต่อไป

[caption id="attachment_216882" align="aligncenter" width="503"] 559000005008803 ฐาปน สิริวัฒนภักดี[/caption]

ล่าสุดแทบไม่มีใครเชื่อ เมื่อไทยเบฟควักเงิน 110 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้น 76% ของบริษัทสไปซ์ ออฟ เอเชียฯ ผ่านบริษัทลูกชื่อ “ฟู้ด เอเชีย” เพื่อรุกธุรกิจเชนร้านอาหารไทย “สไปซ์ ออฟ เอเชีย” ที่บริหารร้านอาหาร 10 แห่ง ภายใต้ 4 แบรนด์ ได้แก่ คาเฟ่ ชิลลี่, ชิลลี่ ไทย เรสเตอรองต์, อีท พ็อต และพ็อต มินิสทรี

สัญญาณที่ส่งผ่านออกมาแบบนี้ ราชาเทกโอเวอร์เมืองไทย มิเพียงกินเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มโออิชิ หรือกินไก่เสียแล้ว ธุรกิจเล็ก ธุรกิจย่อยก็เอาหมด

เล็กๆไม่ ใหญ่ๆ ทำ อาจไม่ใช่สมญาของ “ตระกูลสิริวัฒนภักดี” เสียแล้ว...

คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา/ หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ/ ฉบับ 3303 ระหว่างวันที่ 8-11 ต.ค.2560

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว