ทันทีที่มีประโยค “มัน เป็นเรื่องของอนาคต เป็นเรื่องของประชาชนกําหนด " หลุดออก จากปาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หลังถูกสื่อมวลชนขอทราบความชัดเจนในการประกาศลงเล่นการเมือง ส่งผลให้ปรอทการเมืองพุ่งพรวดไม่ต่างจาก อากาศที่ร้อนอบอ้าวเดือนเมษาฯ
ยิ่งเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ บอกใบ้ให้รอคําตอบในเดือน มิถุนายนนี้ จะรู้ว่าตนเองจะอยู่ หรือไม่ ยิ่งเติมสีสันทางการเมือง ให้ฉดฉาดขึ้น เพราะเป็นจังหวะ เดียวกับที่การเคลื่อนไหวในการ จัดตั้งพรรคของ คสช. โฟกัสไป ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล หลัง นายสนธยา คุณปลื้ม หัว หน้าพรรคพลังชลได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นที่ปรึกษานายกฯฝ่ายการ เมือง และนายอิทธิพล คุณปลื้ม อดีตนายกเทศมนตรีเมืองพัทยา เป็นผู้ช่วยรมว.การท่องเที่ยว และกีฬา
ความเคลื่อนไหวดังกล่าว สอดรับกับการเตรียมตั้งพรรค การเมืองใหม่ ของกลุ่ม นาย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายก รัฐมนตรี ที่ประกาศหนุน พล.อ ประยุทธ์ เป็นนายกฯ อีกสมัย โดยมีแนวคิดดึงคนรุ่นใหม่นับ 100 คน ผสานกับอดีตนักการเมือง เพื่อเป็น
“ขั้วกลาง” ใน การเปลี่ยนผ่านประเทศให้พ้น จากวังวนความขัดแย้งทางการเมืองแบบเดิม ปรากฏการณ์ ทางการเมืองที่เกิดขึ้นมีมุมมอง จากนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ วิเคราะห์กลยุทธ์ทางการเมืองขั้วใหม่และขั้วเดิมไว้อย่างน่าสนใจ
“สนธยา”ร่วมส่งผลดีนายกฯ
นายยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจําสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) วิเคราะห์การถึง 2 พี่น้อง
“คุณปลื้ม” ช่วยงานรัฐบาลว่า มองในแง่บวกจะส่งผลดีต่อนา ยกฯ เพราะนายกฯ เคยบอกไม่มี ประสบการณ์ทางการเมือง นอกจากนี้เป็นเรื่องการมีเครือข่าย ทางการเมือง โดยเฉพาะพรรค การเมืองขนาดกลาง และขนาด เล็ก จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ครม. ประชุมสัญจร ส่วนใหญ่นายกฯ มักจะเลือกจังหวัดที่มีฐานเสียง ของพรรคขนาดกลางและขนาด เล็ก ขณะเดียวกันรัฐบาลอาจถูก วิจารณ์เรื่องที่เข้ามาเพื่อปฏิรูป การเมือง แต่หนีไม่พ้นนักการ เมืองหน้าเดิมๆ สุดท้ายอาจถูก มองว่า คสช.ก็หนีไม่พ้นการเป็น กลุ่มการเมืองอยู่ดี
ส่วนที่นายสมคิด มีแนว คิดตั้งพรรคการเมืองเพื่อเป็น ขั้วกลางทางการเมืองนั้น คิดว่า มีโอกาสเป็นไปได้ จะเห็นได้ว่า เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญเอื้อ อํานวย เช่น ระบบการเลือกตั้ง แบบจัดสรรปันส่วนผสม แม้ กระทั้งกฎหมายพรรคการเมือง จะทําให้พรรคขนาดกลางและ ขนาดเล็ก มีพื้นที่มากขึ้น
รวมไปถึงกติกาในการจัด ตั้งรัฐบาล ซึ่งการเลือกนายกฯ ในครั้งนี้กําหนดให้ ส.ว.เข้ามามี ส่วนร่วมในการโหวตด้วย ซึ่งส.ว. ชุดแรกมาจากการสรรหา แต่ง ตั้งโดย คสช.ทั้งหมด ถ้าหาก 250 เสียงมีความเป็นเอกภาพสูงมาก
ในขณะที่รัฐธรรมนูญกําหนดให้ การโหวตเลือกนายกฯต้องได้ เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง หรือ 375 เสียง รวมคนเสนออีก 1 เสียง รวมเป็น 376 เสียง ซึ่งหมาย ความว่า 376 เสียง ถ้าได้ ส.ว. 250 คน การมาหาส.ส. อีก 126 คน ในขณะที่เป็นพรรคขนาด กลางและพรรคขนาดเล็กคิดว่า ไม่ใช่เรื่องยาก
พรรคคสช.เอาคนรุ่นใหม่ มาเพื่อหาแนวคิดใหม่ๆ มาผสม ผสานกับนักการเมืองเก่าจะช่วย ได้หรือไม่นั้น นักวิชาการผู้นี้ เห็น ว่า ช่วยได้แค่ระดับหนึ่ง การ เมืองในรัฐสภา หรือการเมืองใน สนามเลือกตั้ง เป็นแค่มิติหนึ่ง ของความขัดแย้ง แก้ได้เฉพาะ คนกลุ่มหนึ่ง แต่ความขัดแย้ง ในเชิงสังคม ไม่ได้ช่วยอะไรได้ มากนัก เราอาจจะเห็นภาพความ ประนีประนอมมากขึ้น อาจจะมี พรรคขนาดกลางมากขึ้นในการ เลือกตั้งสมัยนี้ เพราะต้องรวม กันจัดตั้งรัฐบาล หรือพรรคใหญ่ บางพรรคเข้าร่วมด้วย แต่ความ ขัดแย้งทั้งหมดยังไม่ได้รับการ แก้ไข
อาจารย์รัฐศาสตร์ มสธ. ชี้ด้วยว่า โอกาสที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะขึ้นมาเป็นนายกฯ คนนอก มีความเป็นไปได้ เพราะด้วย เงื่อนไขจากกติการัฐธรรมนูญ การจัดตั้งรัฐบาล ระบบการเลือก ตั้งต่างก็เอื้ออํานวย และวันนี้ พรรคขนาดกลางและขนาดเล็ก ดูมีทีท่าและแนวโน้มสนับสนุน หลายพรรค
เปิดเกมกระชับพื้นที่
นายวีระศักดิ์ เครื่อเทพ อาจารย์ประจําคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อน ความเห็นเรื่องการดึงนายสนธยา และนายอิทธิพล เป็นกุนซือใน รัฐบาลว่า เป็นเกมกระชับพื้นที่ ทางการเมือง เป็นมาตรการที่ เรียกว่าประโยชน์ต่างตอบแทน ถึงเวลามีการเลือกตั้งก็หวังว่าจะ
สนับสนุน เข้าใจว่าเป็นมุมการเมือง ของ คสช. คงมองด้วยเหตุผลนี้ เป็นหลัก ขณะที่แนวทางการสร้าง การเมืองใหม่ของนายสมคิด หรือพรรค คสช.นั้น ไม่มั่นใจว่า คสช.จะมีเสียงสนับสนุนมากพอ หรือไม่ ทั้งส.ส.แบบเขต หรือ ส.ส.แบบสัดส่วน แม้จะมีฐาน เสียงจาก ส.ว.เชื่อว่ายังไม่มาก พอ ตอนนี้เลยอาศัยพรรคเล็กๆ และพรรคขนาดกลาง เป็นตัวแปร ขณะนี้ได้พรรคพลังชลแล้ว ต่อ ไปก็จะทยอยมาอีก 3-4 กลุ่ม ซึ่งมั่นใจว่าเสียงไม่พออยู่ดี
ส่วนที่พรรคคสช.มีแนว คิดระดมคนรุ่นใหม่ มาเป็นขั้ว กลางในการเปลี่ยนประเทศ มอง ว่ายาก พลังคนรุ่นใหม่ไม่ได้มี ความเคลื่อนไหว มีการจัดการ ที่เข้มแข็งมากนัก
นายวีระศักดิ์ ระบุว่า การ เมืองจะออกในลักษณะ มีประชาธิปัตย์ เพื่อไทย และพรรดขนาด เล็กและขนาดกลาง ซึ่งก็จะเกิด ความอึมครึมต่อไป เพราะวันนี้ ก็มีการเจรจาต่อรองกันลับๆ ถ้า เจรจาแล้วดูเป็นคุณกับรัฐบาล
“รัฐบาลคงไม่ยอมให้เพื่อ ไทยกลับมาแน่ จะสกัดทุกวิธี การ ซึ่งมีมาตรการทางกฎหมาย อีกหลายตัวที่ยังไม่นํามาใช้กับ เพื่อไทย ส่วนประชาธิปัตย์คงไม่ ได้สกัดโดยตรง เพราะรู้ว่าพลัง เสียงไม่พอที่จะคัดค้านกลุ่ม รัฐบาล”
.....................
รายงาน |'พรรค คสช.' กระชับพื้นที่ ดึง 'รุ่นใหม่- อดีต ส.ส.' ลดขัดแย้ง |เซกชั่นเศรษฐกิจมหภาค หน้า 16 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3355 ระหว่าง วันที่ 6-8 เมษายน 2561