เวที “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด” ชูเเนวคิด “ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน” หนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ ประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีทำเกษตรแม่นยำและการตลาดออนไลน์ ส่งเสริมการสร้างเครือข่าย เปลี่ยนภูมิทัศน์ ภาคเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ปูทางสู่ประเทศไทย 4.0
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้การดำเนินงานโดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพ และเสริมสร้างทักษะของเกษตรกรสู่ความเป็น Smart Farmer เพื่อให้เกษตรกรมีความเชี่ยวชาญ และนำความรู้ตลอดจนข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นความปลอดภัยของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน สอดรับกับแนวโน้มการทำการเกษตรของโลก
นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด กล่าวว่า จากการดำเนินโครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด นับตั้งแต่ปี 2551 โดยดำเนินตามรอยศาสตร์ พระราชาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ภายใต้แนวคิด “พัฒนาชาติได้ ต้องพัฒนาคน” เพื่อมุ่งหวังเชิดชูเกษตรกรตัวอย่าง และขยายแนวคิดการเกษตรแบบครบวงจร
สำหรับในปีนี้ที่ โครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 จึงได้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน” โดยเป็นเกษตรกรที่มีคุณลักษณะที่ ดีสำหรับผู้นำในยุคไทยแลนด์ 4.0 เป็นเกษตรกรที่มีความเป็นผู้นำ คิดเป็นระบบ มีความรอบรู้ นำไปประยุกต์และปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม สามารถปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงและเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ได้อย่างรอบด้าน ภายใต้กรอบคิดและเป้าหมายเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน
“10 ปีของการดำเนินโครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด เราภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เชิดชูเกษตรกรต้นแบบที่มี ศักยภาพ พร้อมแบ่งปัน และเกิดการสร้างความเข้มแข็งให้ ภาคการเกษตรได้อย่างมั่นคง ยิ่งไปกว่านั้น เราได้เห็นพลังเครือข่ายเกษตรกรที่ก่อเกิดสิ่งใหม่ ในหลากหลายมิติ เห็นความเข้มแข็งในชุมชนที่เพิ่มขึ้น คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับอาชีพเกษตรกรมากยิ่งขึ้น” นายบุญชัยกล่าว
เส้นทางการพัฒนาภาคการเกษตรไทยจะยังเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง จากการสนับสนุนของกรมส่งเสริมการเกษตร และการต่อยอดพัฒนาจากภาคเอกชนอย่างดีแทคและบริษัทรักบ้านเกิด เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และการพัฒนาภาคเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนผ่านเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดต่อไป
นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า เกษตรกรเผชิญความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิ ทัศน์ภาคการเกษตร ทั้งสภาพภูมิอากาศ พฤติกรรมผู้บริโภคและกลไกการตลาด ทำให้เทคโนโลยีการสื่อสารเข้ ามามีบทบาทในภาคการเกษตรมากขึ้น
ดีแทคในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต มุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพสังคมตามวิสัยทัศน์ Empowering societies อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เอสเอ็มเอส โมบายแอปพลิเคชัน การตลาดออนไลน์ ตลอดจนเทคโนโลยีล้ำสมัยอย่าง IoT และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งดีแทคเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยี ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะช่วยให้ เกษตรกรเผชิญหน้าการความท้ าทายต่างๆ ได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น
“ดีแทคในฐานะผู้สนับสนุนโครงการฯ เล็งเห็นถึงพัฒนาการอย่างต่อเนื่องภาคเกษตรกรไทย โดยเฉพาะกลุ่ม Young Smart Farmer ที่มีการรวมกลุ่มอย่างเหนียวแน่น และขยายแนวคิดการทำเกษตรครบวงจรในวงกว้าง ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการเปลี่ยนสู่การทำการเกษตรอย่างยั่งยืน” นางอเล็กซานดรากล่าว
ผลการตัดสินเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด 2561 รางวัลชนะเลิศ นางสาวพิมพ์วรัตน์ เรืองประชา เกษตรกรผู้บุกเบิกการปลูกพืชเมืองหนาวทั้งสตรอว์เบอร์รีและหม่อนในพื้นที่เขตร้อนอย่าง จ.สุพรรณบุรี บ้านเกิดของเธอ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ แต่ด้วยเทคโนโลยีและงานวิจั ยทางการเกษตรจากสถาบันวิจัยเกษตรดอยปุยสามารถทำให้เป็นไปได้ สร้างความตื่นตาให้กับชุมชนในพื้ นที่และนักท่องเที่ยว พร้อมเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ ยวนวัตวิถี ไร่พิมพ์วรัตน์ สร้างรายได้ให้ชุมชน เป็นต้นแบบในการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดจากความคิดต่าง
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นางสาวลลิดา คำวิชัย เกษตรกรชาวสวนมะม่วงแห่ง จ.สระแก้ว ในนาม “ไร่ ณ ชายแดน” ผู้นำในการรวมกลุ่มและพั ฒนาสายพันธุ์มะม่วงแก้วขมิ้นไร้ สารเคมี ยึดหลักการตลาดนำการผลิต สร้างความเป็นเอกลักษณ์และสร้างรายได้ให้ชุมชน
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายอาญาสิทธิ์ เหล่าชัย เกษตรกรนาข้าว “อารยะฟาร์ม” จ.ร้อยเอ็ด ผู้นำความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นประยุกต์กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ พลิกฟื้นผืนนาจากเกษตรเคมีสู่เกษตรอินทรีย์ นอกจากนี้ ยังเป็นผู้นำรวมกลุ่มวิสาหกิจผลิตและแปรรูปข้าวอินทรีย์ครบวงจร
รางวัลดีเด่น นางสาวกนกวรรณ อรุณคีรีวัฒน์ เกษตรกรชาวสวนมะม่วงแห่ง จ.ราชบุรี เจ้าของไร่ “สุดปราย ที่สวนสุขจรัล” รวมกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ในชุมชน พร้อมเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน
นายชยพล สุ่ยหล้า เกษตรกรชาวสวน “ซูโม่แฟมิลี่”แห่ง จ.ร้อยเอ็ด ผู้นำความรู้ในการปลูกถั่วลิสงมาประยุกต์กับเทคโนโลยี พร้อมแปรรูปสู่ผลิตภัณฑ์ รวมกลุ่มการผลิต สร้างรายได้ให้ชาวบ้านในฤดูทำนา
นางสาวปคุณา บุญก่อเกื้อ เกษตรกรสวนเมล่อน จ.ฉะเชิงเทรา ผู้เริ่มทำเกษตรจากศูนย์ แต่มีใจรักและต้องการปลูกเมล่ อนปลอดสารพิษ โดยนำเทคโนโลยี IoT มาประยุกต์ใช้จนได้ผลผลิตคุ ณภาพสูง พร้อมกับเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ ยวที่เมื่อเวลาใครผ่าน จ.ฉะเชิงเทรา จะต้องถามหา “บ้านสวนเมล่อน” ของเธอ
นายพิทักษ์ พึ่งเดช เกษตรกรสวนมะพร้าวแห่งบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ผู้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ ในการแปรรูป รวมทั้งพัฒนาต่อยอดผลิภัณฑ์ มะพร้าวน้ำหอม สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรในพื้นที่
นางสาวศิริพร เอี่ยววงศ์เจริญ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์จาก จ.พิจิตร ในชื่อ “บุญมาฟาร์ม” ที่สามารถชูจุดเด่ นการทำเกษตรไร้สารเคมี จนสามารถส่งออกสู่ต่างประเทศ พร้อมต่อยอดปลูกสมุนไพรไทยส่ งออก
นายสุระเทพ สุระสัจจะ เกษตรกรคนรุ่นใหม่จาก จ.บุรีรัมย์ ผู้ปลูกพืช ผักและผลไม้ปลอดภัย พร้อมเป็นโมเดลต้นแบบขยายสู่ชุมชน รวมกลุ่มตั้งวิสาหกิจชุมชน เป็นผู้นำเครือข่ายสินค้าเกษตรปลอดสารพิษส่งขายตลาดพรี เมี่ยมที่ใครๆ ก็รู้จักในชื่อ “ไร่เพื่อนคุณ”
นายอดุลย์ วิเชียรชัย เกษตรกรเจ้าของ “อดุลย์ คลองหลวง ฟาร์มเห็ด” แห่ง จ.ปทุมธานี ผู้เป็นต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ การทำเกษตรครบวงจร บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ พร้อมส่งเสริมเกษตรกรในชุมชน