อักษรฯติดอาวุธครูไทย ยกระดับการเรียนการสอน​"วิทยาการคำนวณ"  

13 มี.ค. 2562 | 05:30 น.
อัปเดตล่าสุด :13 มี.ค. 2562 | 13:55 น.

 "อักษรฯ" พร้อมติดอาวุธครูไทยยกระดับการเรียนการสอน​ "วิทยาการคำนวณ"  เน้นยำ้คนที่ได้เปรียบ​ คือคนที่สร้างเทคโนโลยีไ่ม่ใช่คนที่ใช้เทคโนโลยี

อักษรฯติดอาวุธครูไทย ยกระดับการเรียนการสอน​\"วิทยาการคำนวณ\"  

นายตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านนวัตกรรมและออกแบบกระบวนการเรียนการสอนครบวงจร เปิดเผยว่า​ จากความเปลี่ยนแปลงของโลกที่รวดเร็วเป็นเหตุให้ภาครัฐเร่งรัดประกาศให้ “วิชาวิทยาการคำนวณ” บรรจุไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 และเริ่มบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 เป็นครั้งแรกซึ่งอาจทำให้ผู้ปกครองและครูผู้สอนกังวลใจ​ ทั้งในแง่ของการเรียนการสอนและความพร้อมของเด็ก

อักษรฯติดอาวุธครูไทย ยกระดับการเรียนการสอน​\"วิทยาการคำนวณ\"  
“วิชาวิทยาการคำนวณ เป็นวิชาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะด้านการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นหา ประเมิน จัดการ พร้อมทั้งนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างสร้างสรรค์ 

ทั้งหมดนี้คือทักษะขั้นพื้นฐานในการนำเอาความรู้ที่ได้ไปต่อยอดกับอีกหลากหลายวิชา และถือได้ว่าเป็นทักษะสำคัญสำหรับเด็กไทยที่ก้าวเข้าสู่โลกยุค Digital Age อย่างเต็มตัว

อย่างไรก็ดี​ ผ่านมา 1 ปีแล้วที่ภาครัฐประกาศให้วิชาวิทยาการคำนวณเป็นวิชาภาคบังคับที่เด็กทุกคนจะต้องเรียน แต่การเรียนการสอนวิชานี้ยังถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับครูไทย ที่ยังกังวลเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนบางโรงเรียนยังสับสนว่า​ ครูในภาควิชาใดจะเป็นครูผู้สอนในวิชานี้ รวมไปถึงสื่อการเรียนการสอนที่จะทำให้เด็กสามารถตอบวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของวิชาวิทยาคำนวณได้ เนื่องจากวิชานี้เป็นวิชาที่ต้องเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning โดยผู้เรียนต้องได้ คิด และ ปฏิบัติ ผ่านสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ลองผิดลองถูก หาข้อผิดพลาด และแก้ไขชิ้นงานได้เป็นรูปธรรม ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนของเนื้อหา (Concept) โดยเชื่อมโยงเอาแนวคิดกับหลักการไปใช้งานและปฏิบัติได้จริง และ ส่วนของภาคปฏิบัติ (Practice) คือ การลงมือให้เห็นผลเป็นรูปธรรม และจับต้องได้ ผ่านการฝึกฝน​ แก้ปัญหาและกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สิ่งเหล่านี้ครูผู้สอนวิทยาการคำนวณเองจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและเพิ่มพูนทักษะความรู้เพื่อที่จะสามารถนำไปถ่ายทอดประสบการณ์ต่อได้ในห้องเรียน”

อักษรฯติดอาวุธครูไทย ยกระดับการเรียนการสอน​\"วิทยาการคำนวณ\"  
“อักษร เอ็ดดูเคชั่น ในฐานะผู้ออกแบบนวัตกรรมทางการศึกษา และกระบวนการเรียนการสอน ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสนับสนุนครูมาโดยตลอด ในส่วนของวิชาวิทยาการคำนวณที่ผ่านมาเราได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง โดยเปิดให้มีการอบรมสัมมนาครูทั่วประเทศเพื่อสร้างความเข้าใจและชี้ให้เห็นถึงกระบวนการเรียนการสอนผ่านสื่อการเรียนรู้ที่ช่วยเสริมให้เด็กเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ ในรูปแบบที่ครูทุกคนสามารถนำไปปรับใช้กับบริบทห้องเรียนของตนเองได้ ซึ่งการอบรมนี้จะทำให้ครูเห็นภาพและเกิดไอเดียดีๆ ในการถ่ายทอดความรู้ไปยังเด็ก 

ทั้งยังจับมือร่วมกับองค์กรระดับโลก และระดับประเทศ เป้าหมายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและยกระดับการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณให้กับครู อาทิ code.org เว็บไซต์ชื่อดังด้านการเขียนภาษา Coding จากประเทศสหรัฐอเมริกา  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมไปถึง Micro:bit Educational Foundation ซึ่งแต่งตั้งให้เราเป็นผู้จำหน่ายไมโครบิต (micro:bit) บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อการศึกษาในประเทศไทยอย่างเป็นทางการอีกด้วย​ นายตะวัน กล่าว

ทั้งนี้​ วิชาวิทยาการคำนวณไม่ได้สอนให้เด็กทุกคนที่เรียนต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ หรือ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่ต้องการให้เด็กมีทักษะการคิดที่ถูกใช้ในการทำความเข้าใจกับปัญหา และสามารถสร้างแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ​ ก่อนที่จะมีการนำมาเขียนโปรแกรมหรือโค้ดดิ้ง (Coding) ซึ่งทักษะนี้​ เราเรียกกันว่า Computational Thinking เป็นทักษะพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะกับอนาคตการทำงาน

ปัจจุบันกลุ่มประเทศชั้นนำทางการศึกษาทั่วโลก เช่น ฟินแลนด์ หรือ เกาหลีใต้ ได้บรรจุวิชานี้ไว้ในหลักสูตรระดับชาติแล้ว ซึ่งอักษรฯเองคาดหวังว่า​ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมผลักดันเรื่องนี้สู่การศึกษาไทยต่อไป

อักษรฯติดอาวุธครูไทย ยกระดับการเรียนการสอน​\"วิทยาการคำนวณ\"