รองศาสตราจารย์นายแพทย์ชาญชัยพานทองวิริยะกุลอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมกับมหาวิทยาลัยคิวชูจัดโครงการถ่ายทอดนวัตกรรมเทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเพื่อรองรับการเป็นเมดิคอลฮับของมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยในช่วง10 ปีนี้หุ่นยนต์ผ่าตัดได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วจนกระทั่งปัจจุบันการพัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัดได้ก้าวเข้าสู่ขั้นให้หุ่นยนต์ผ่าตัดตามการเคลื่อนไหวนิ้วและมือของศัลยแพทย์(da vinci model)
มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในเอเชียที่วิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด(หุ่นยนต์ผ่าตัด) เฉพาะทางนรีเวชตั้งแต่ปี2550 โดยทีมวิศวกรรมชีวการแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จและมีงานวิจัยหุ่นยนต์ผ่าตัดที่ก้าวหน้าที่สุดหวังว่าการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นประเทศไทยและมหาวิทยาลัยคิวชูประเทศญี่ปุ่นซึ่งนับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวนี้จะทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวไทยต่อไป
หนึ่งในชุดผลงานหุ่นยนต์ผ่าตัดทางนรีเวชคือหุ่นยนต์ช่วยถือและเคลื่อนกล้องผ่าตัดสำหรับการผ่าตัดในอุ้งเชิงกรานได้รับรางวัลเหรียญทองจาก The international Federation of Inventors’ Associations ในงานวันนักประดิษฐ์นานาชาติครั้งที่1 ปีพ.ศ.2551 เทคโนโลยี“หุ่นยนต์ช่วยถือกล้องผ่าตัด” ถูกพัฒนาคิดค้นโดยคณะแพทย์ไทยเพื่อช่วยให้การผ่าตัดทางนรีเวชสะดวกปลอดภัยมีความถูกต้องแม่นยำและรวดเร็วช่วยให้คนไข้ฟื้นตัวเร็วขึ้นทำให้พื้นผิวบริเวณที่ผ่าตัดได้รับความกระทบกระเทือนน้อยที่สุดหุ่นยนต์มีลักษณะเป็นแขนกลช่วยจับกล้องที่ใช้ในการผ่าตัดเคลื่อนไปในมุมต่างๆตามที่แพทย์ต้องการได้อย่างแม่นยำโดยแพทย์สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ผ่านการสัมผัสบนจอทัชสกรีนช่วยให้การผ่าตัดผ่านกล้องของแพทย์สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการอบรมเทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดโดยศาสตราจารย์นพ.โกวิท คำพิทักษ์ และรองศาสตราจารย์นพ.เกรียงศักดิ์ เจนวิถีสุขร่วมกับศาสตราจารย์จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อวางแนวทางรวมทั้งยกระดับวงการวิทยาศาสตร์สุขภาพรองรับการเป็นเมดิคอลฮับของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่อไป