พระมหาพิชัยมงกุฎเป็นหนึ่งในห้าของเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์อันเป็นเครื่องทรงในพระมหากษัตริย์แห่งพระราชอาณาจักรไทยตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันประกอบด้วยพระมหาพิชัยมงกุฏพระแสงขรรค์ชัยศรีธารพระกรชัยพฤกษ์วาลวิชนีกับแส้จามรีและฉลองพระบาทเชิงงอน
พระมหาพิชัยมงกุฎองค์แรกสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่1 ในปีพุทธศักราช2325 ทำด้วยทองคำลงยาบริสุทธิ์ประดับเพชรเฉพาะองค์พระมหามงกุฎไม่รวมพระกรรเจียกจอนสูง51 ซ.ม. ถ้ารวมพระกรรเจียกจอนสูง66 ซ.ม. มีน้ำหนักถึง7.3 กิโลกรัมที่ยอดประดับเพชรเม็ดใหญ่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระจอนและประดับเพชรแทนยอดพุ่มข้าวบิณฑ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หาเพชรเม็ดใหญ่จากเมืองกัลกัตตาประเทศอินเดียมาประดับที่ยอดพระมหามงกุฎพระราชทานนามเพชรเม็ดนั้นว่า"พระมหาวิเชียรมณี"
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎจากพราหมณ์มาทรงสวมถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญการที่พระมหาพิชัยมงกุฏมีน้ำหนักมากถึงเพียงนี้ก็เพื่อต้องการสื่อความหมายว่า. "...พระมหาพิชัยมงกุฏนี้เป็นของหนักเปรียบได้กับพระราชภาระอันใหญ่หลวงของพระมหากษัตริย์ที่ทรงได้รับหลังจากการสวมมงกุฏนี้เพราะต้องทรงแบกรับทุกข์สุขของพสกนิกรทั้งประเทศอันเป็นหน้าที่ที่มิอาจวางลงได้..."
สมัยโบราณเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎมาแล้วจะทรงวางไว้ข้างพระองค์แต่ต่อมานิยมตามราชสำนักยุโรปที่ถือว่าภาวะแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ที่การสวมมงกุฎในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4 เป็นต้นมาพระมหากษัตริย์จึงทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎมาทรงสวม
การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้ประดับเพชรบนยอดพระมหาพิชัยมงกุฏไม่ได้เพียงแต่เพื่อเพิ่มความงดงามและทรงคุณค่าเท่านั้นแต่ยังช่วยให้สยามรอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกในยุคล่าอาณานิคมอีกด้วย
เกร็ดประวัติศาสตร์อ้างอิงข้อมูลจากเนื้อหาบางตอนในเวปไซด์https://www.muangthai.co.th/news/view/MuangthaiStory7 หัวข้อเล่าเรื่อง(ของ)เมืองไทยตอนที่7 เรียบเรียงโดยอ.เผ่าทองทองเจือในบทความเรื่องเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์(ตอนที่2) : พระมหาพิชัยมงกุฎที่บอกเล่าถึงเรื่องราวของเพชรที่ประดับอยู่บนยอดสูงสุดของพระมหาพิชัยมงกุฎนั้นมีประวัติเล่าสืบกันมาปากต่อปากทำนองที่นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่เรียกว่า"ประวัติศาสตร์บอกเล่า" หรือ"Oral History" กล่าวคือพระมหาวิเชียรมณีเพชรที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำขึ้นประดับบนยอดสูงสุดของพระมหาพิชัยมงกุฎ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4 ทรงทราบข่าวว่าประเทศอังกฤษได้เพชรน้ำหนึ่งชื่อว่าโคอินัวร์(Koh I Noor) มีน้ำหนักมากถึง186.6 กะรัตมาประดับพระมหามงกุฎของกษัตริย์อังกฤษจึงมีพระบรมราชโองการให้เสนาบดีนามว่าพระราชสมบัติออกไปหาซื้อเพชรเม็ดใหญ่ๆน้ำงามๆที่ประเทศอินเดียมาถวายให้จงได้
ในครั้งนั้นพระราชสมบัติได้เดินทางไปสืบหาเพชรเม็ดใหญ่น้ำดีๆในอินเดียหลายต่อหลายเมืองจนในที่สุดได้ไปที่เมืองกัลกัตตาณที่นั้นได้ค้นพบเพชรน้ำงามเม็ดใหญ่มีคุณลักษณะวิเศษแต่ก็เป็นเพชรที่มีน้ำหนักเพียง40 กะรัตขนาดประมาณเม็ดอัลมอนด์เท่านั้นซึ่งก็ถือว่าเป็นเพชรเม็ดใหญ่ที่สุดและดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ในขณะนั้นแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ช่างเจียระไนตัดเหลี่ยมก้นแหลมตามแบบนิยมแล้วนำขึ้นประดับบนยอดแหลมบนสุดเหนือพระมหาพิชัยมงกุฎพระราชทานนามเพชรเม็ดนี้ว่า"พระมหาวิเชียรมณี"
สำหรับเรื่องราวของเพชรโคอินัวร์ที่รัชกาลที่4 ทรงสนพระราชหฤทัยมากนั้นในอดีตเคยเป็นเพชรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกค้นพบครั้งแรกในแคว้นอานธรประเทศของอินเดียพร้อมกันกับเพชรคู่แฝดที่มีชื่อว่าดารยา-เย-นัวร์เพชรเม็ดนี้มีประวัติอันน่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งเป็นเพชรแห่งการเดินทางอย่างแท้จริงเพราะถูกครอบครองจากหลายมือหลายประเทศเคยตกเป็นของราชวงศ์ราชปุตแห่งแคว้นราชสถานของอินเดียมีชื่อว่า"ศิยมันทกามณี" ต่อมาเป็นของราชวงศ์โมกุลแห่งอินเดียเช่นกันมีชื่อใหม่ว่า"มณยัก" หรือ"ราชาแห่งอัญมณี" ต่อมาเมื่อพระเจ้าชาร์นาเดอร์ผู้สถาปนาราชวงศ์อาฟชาริยะห์แห่งเปอร์เชียหรืออิหร่านสามารถยึดครองอินเดียได้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น"โคอินัวร์" มาจนปัจจุบันหลังจากนั้นเพชรเม็ดนี้ได้ตกไปเป็นของราชวงศ์ดูร์รานีและราชวงศ์ซิกข์จนกระทั่งปัจจุบันเป็นของอังกฤษ
ยัอนกลับมาที่พระมหาวิเชียรมณีที่รัชกาลที่4 ได้มาประดับยอดพระมหาพิชัยมงกุฎของพระองค์ช่วงนั้นเป็นเวลาเดียวกับที่ประเทศต่างๆทั่วโลกรวมทั้งประเทศอังกฤษกำลังตื่นเต้นกับเพชรโคอินัวร์ดังนั้นเมื่อเซอร์จอห์นเบาว์ริ่งซึ่งเป็นเจ้าเมืองฮ่องกงระหว่างพุทธศักราช2391-2420 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นราชทูตอังกฤษเดินทางเข้ามาในพระราชอาณาจักรสยามประเทศเพื่อเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4 ในพุทธศักราช2398 เพื่อเจริญพระราชไมตรีและเจรจาทำสนธิสัญญากับราชสำนักไทยรัชกาลที่4 ทรงเล็งเห็นถึงความสามารถของบุคคลผู้นี้ว่าจะสามารถเป็นผู้นำเรื่องราวความเจริญและพัฒนาการของสยามประเทศไปเผยแพร่ต่อได้อันจะทำให้ต่างชาติเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาติบ้านเมืองของเราและมีความเกรงใจในอันที่จะก่อการเข้ายึดครองสยามประเทศได้ทั้งนี้เพราะเซอร์จอห์นเบาว์ริ่งเป็นบุคคลที่มีความสามารถพิเศษอย่างมากท่านเป็นทั้งพ่อค้านักการทูตนักเศรษฐศาสตร์การเมืองนักการศาสนานักแต่งเพลงสวดกวีนักประพันธ์บรรณาธิการและนักภาษาศาสตร์สามารถเจรจาโต้ตอบอ่านเขียนภาษาหลักๆของยุโรปได้ถึง10 ภาษารวมทั้งภาษาจีนด้วย
รัชกาลที่4 จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เซอร์จอห์นเบาว์ริ่งเข้าเฝ้าชมเพชรพระมหาวิเชียรมณีณพระมหาพิชัยมงกุฎทั้งนี้ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะประกาศพระเกียรติยศให้ทางฝั่งอังกฤษทราบว่าทางสยามประเทศเองก็สามารถที่จะมีเพชรเม็ดใหญ่น้ำงามมาประดับพระมหามงกุฎเช่นเดียวกันกับอังกฤษ
นอกจากนั้นยังได้ทรงนำพระธำมรงค์เพชรอีก2 องค์มาพระราชทานให้เซอร์จอห์นเบาว์ริ่งได้ชมด้วยคือพระธำมรงค์รัตนวราวุธที่เป็นเพชรขนาดใหญ่ขนาดประมาณ60 กะรัตคือมีขนาดย่อมกว่าเพชรที่ประดับบนยอดพระมหาเจดีย์ชเวดากองที่กรุงย่างกุ้งประเทศพม่าที่มีขนาด76 กะรัตเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและพระธรรมรงค์จินดามณีที่เป็นเพชรเม็ดเขื่องน้ำใสแวววาวขนาดประมาณ30 กะรัตพระธำมรงค์ทั้งสององค์นี้งดงามมาก
เนื่องจากเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ถือเป็นของสูงสุดสำหรับพระมหากษัตริย์จึงเป็นที่เคารพยำเกรงของบุคคลทั่วไปตามปกติแล้วบุคคลใดที่ไม่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นรายตัวจะมิอาจเอื้อมแตะต้องเลยถือกันสืบมาอย่างเคร่งครัดว่าจะเป็นอัปมงคลแก่ตนเองและครอบครัวดังนั้นเจ้าพนักงานที่รักษาและเชิญออกในงานพระราชพิธีจึงล้วนแต่เป็นบุคคลที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเจาะจงเป็นรายตัวมาแล้วทั้งสิ้น
ในอดีตจะมีพิธีสมโภชเครื่องราชูปโภคและเครื่องราชกกุธภัณฑ์เป็นประจำทุกปีโดยเจ้าพนักงานที่รักษาเครื่องราชูปโภคได้เลือกทำในช่วงเดือน6 เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีงานพระราชพิธีค่อนข้างน้อยครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4 ทรงมีพระราชดำริว่าวันพระบรมราชาภิเษกเป็นวันอันเป็นมหามงคลอย่างสูงยิ่งจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อพุทธศักราช2394 พระราชทานนามพระราชพิธีนี้ว่า"พระราชพิธีฉัตรมงคล" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เพิ่มการบำเพ็ญพระราชกุศลถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตราธิราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์เปลี่ยนเรียกชื่อพระราชพิธีว่า"พระราชกุศลทักษิณานุปทาน" และ"พระราชพิธีฉัตรมงคล"สืบมาจนปัจจุบันนี้
-----
เรียบเรียงข้อมูลและภาพประกอบจาก: วิกิพีเดีย, เพจคลังประวัติศาสตร์ไทย, สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ฯ(TK Park), เว็ปไซด์เมืองไทยประกันชีวิต
หน้า 21 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3466 วันที่ 2-4 พฤษภาคม 2562