“ให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น การติดตามการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านการคุ้มครองสิทธิแรงงานของไทย และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างใกล้ชิด เพื่อประโยชน์ต่อการทบทวนประเมินคุณสมบัติประเทศที่ได้รับสิทธิ (Country Assessment) เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับสิทธิ GSP อย่างต่อเนื่อง และการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐฯ ในอนาคต อาทิ ขยายการค้าไปยังตลาดใหม่ ๆ และส่งเสริมผู้ประกอบการไทยออกไปลงทุนในประเทศที่ได้รับสิทธิดังกล่าว เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
นี่คือ มติคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 28 พ.ค. 2561 ในรัฐบาลประยุทธ์ ยุคคสช. ที่มี “นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์” เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในขณะนั้น ขีดเส้นใต้ตัวหนาที่คำว่า “และการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐฯ ในอนาคต” นั่นเท่ากับว่ารัฐบาลไทยเริ่มไหวตัวทันกับการ “เปลี่ยนนโยบาย” ของสหรัฐ
โดยวันนั้น “กรมการค้าต่างประเทศ” กระทรวงพาณิชย์ เสนอครม.เป็นวาระเพื่อทราบ เพื่อให้ครม.รับทราบข้อมูลการต่ออายุโครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preference : GSP) ของสหรัฐฯ ซึ่งได้ประกาศต่ออายุโครงการ GSP แก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา อีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 – 31 ธันวาคม 2563
รวมทั้งจำเป็นต้องทบทวนรายชื่อประเมินคุณสมบัติประเทศที่ได้รับสิทธิด้วย โดยได้ประกาศรายชื่อประเทศที่ต้องถูกทบทวนประเมินคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย และคาซัคสถาน เป็นต้น โดยไทยไม่อยู่ในรายชื่อดังกล่าว เนื่องจากไทยมีแผนปฏิบัติการด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองสิทธิแรงงาน และการปราบปรามและการบังคับใช้กฎหมาย และการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ดี สภาผู้ผลิตสุกรสหรัฐฯ (National Pork Producers Council : NPPC) ได้ยื่นคำร้องขอให้ United States Trade Representatives (USTR) พิจารณาตัดสิทธิ GSP แก่ไทย เนื่องจากไทยไม่เปิดตลาดสินค้าให้แก่สหรัฐฯ อย่างเป็นธรรมและสมเหตุผลจากการที่ไทยห้ามนำเข้าเนื้อสุกรจากสหรัฐฯ ที่มีสารเร่งเนื้อแดง ซึ่ง USTR จะนำประเด็นดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการพิจารณาข้อเท็จจริงก่อนที่จะประกาศรับคำร้องในช่วงพฤษภาคม 2562 ต่อไป
ในวันนั้น กระทรวงพาณิชย์เล่าให้ครม. ฟังว่า สหรัฐฯประกาศต่ออายุโครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preference : GSP} ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 25623 ส่งผลให้ผู้นําเข้าสหรัฐฯ ที่จ่ายภาษีนําเข้าในอัตราปกติ (MFN) และขอสงวนสิทธิ์ GSP ไว้ ตั้งแต่โครงการเดิมหมดอายุ (วันที่ 1 มกราคม 2561) จะสามารถยื่นขอคืนภาษีอากรขาเข้าได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ คือ วันที่ 22 เมษายน 2561 เป็นต้นไป
ความจําเป็นที่เสนอคณะรัฐมนตรี เนื่องจากโครงการ GSP มีความสําคัญต่อประเทศกําลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยที่ ยังพึ่งพาการส่งออกเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การได้รับสิทธิพิเศษๆ จะเป็น ประโยชน์อย่างมากต่อการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพให้สินค้าของประเทศกําลังพัฒนา ที่ส่วนใหญ่ผลิตโดยผู้ประกอบการขนาดย่อม (SMEs) สามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ ได้ ซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้ประกอบการ และส่งผลโดยรวมต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ ได้ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียและสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้ผู้ส่งออกทราบและสามารถใช้ประโยชน์ อย่างเต็มที่กับสิทธิประโยชน์ที่จะยังคงจะได้รับต่อไป
จากนั้นกระทรวงพณิชย์ ก็ไล่เรียงให้เห็นความสําคัญของการใช้สิทธิพิเศษ GSP ว่า ปัจจุบันสหรัฐฯ ให้สิทธิพิเศษๆ GSP โดยยกเว้นภาษีนําเข้าสหรัฐฯ เหลือ 0% จากอัตราภาษีนําเข้าปกติระหว่าง 1%- 29.8% ให้แก่สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมกว่า 3,400 รายการ โดยกลุ่มสินค้าที่ใช้สิทธิพิเศษๆ สูงได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้า ยานยนต์ และอุปกรณ์ ยางและผลิตภัณฑ์ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ อาหารปรุงแต่ง และเครื่องดื่ม เป็นต้น ในปี 2560 ไทยใช้สิทธิพิเศษฯ จํานวน 2,385 รายการ มีมูลค่า 4,150.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 185.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น 4.57% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
และขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ก็รายงานถึงความคืบหน้าการรักษาสิทธิพิเศษฯ GSP ด้วยว่า ในการประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนไทย - สหรัฐฯ (Trade and Investment Framework Agreement Joint Council : “IFA IC) ประจําปี 2561 ระหว่าง วันที่ 4-10 เมษายน 2561 ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา ไทยได้ชี้แจงประเด็นที่สหรัฐฯ ใช้เป็น เงื่อนไขในการพิจารณาทบทวนการให้สิทธิ์ GSP แก่ไทย
ประเด็น การคุ้มครองสิทธิแรงงานของไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.แรงงาน สัมพันธ์ พ.ศ.... และร่าง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.... ซึ่งคาดว่าจะดําเนินการกระบวนการ ภายในผ่านร่าง พ.ร.บ. ทั้งสองฉบับได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 เพื่อช่วยยกระดับกฎหมายให้มี มาตรฐานเป็นสากล ดังนั้น สหรัฐฯ จะไม่สามารถนําประเด็นนี้มาพิจารณาระงับสิทธิพิเศษฯ GSP ประเทศ ไทยได้
ส่วนการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ไทยกําหนดแผนงานพัฒนาด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมกันนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือถึงประเด็นด้าน ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร ซึ่งไทยอยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมายให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น และแนวทางการทํางาน ร่วมกันในอนาคต
และสถานะล่าสุด(ณ ขณะนั้น) เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2561 สํานักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้ประกาศรายชื่อประเทศที่ต้องถูกทบทวนประเมินคุณสมบัติประเทศที่ได้รับสิทธิ (Country Assessment) ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย และคาซัคสถาน ซึ่งไทยไม่อยู่ในรายชื่อดังกล่าว เนื่องจากไทยมีแผนปฏิบัติการ ต้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองสิทธิแรงงานที่มีความคืบหน้าไปมาก ทั้งในส่วนของการ ปราบปรามและการบังคับใช้กฎหมายและการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง
แต่เมื่อวันที่ 16เมษายน 2561 สภาผู้ผลิตสุกรของสหรัฐฯ (National Park Producers Council : NPPC) ได้ยื่นคําร้องขอให้ USTR พิจารณาตัดสิทธิ GSP ประเทศไทยภายใต้กรณี Country Practice ในการทบทวนโครงการ GSP ประจําปี 2560 โดยกล่าวหาว่าไทยไม่เปิดตลาดสินค้า ให้แก่สหรัฐฯ อย่างเป็นธรรมและสมเหตุผล (equitable and reasonable access to its markets) จาก การที่ไทยห้ามนําเข้าเนื้อสุกรจากสหรัฐฯ ที่มีสารเร่งเนื้อแดง (Ractopamine) อย่างไรก็ตาม USTR จะนําประเด็นดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการพิจารณาข้อเท็จจริงก่อนที่จะประกาศรับคําร้องข้างต้นหรือไม่ ในช่วง กลางเดือนพฤษภาคม 2561 ทั้งนี้ต่อกรณีดังกล่าวไทยได้แจ้งในการประชุม TIFA JC ว่าการที่ไทยจะ ยอมรับค่าความปลอดภัยของสารเร่งเนื้อแดง ในเนื้อหมูและเครื่องในตามมาตรฐาน Codex ก็ต่อเมื่อมีผล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ด่วน! สหรัฐฯตัด"จีเอสพี"อาหารทะเลไทย4หมื่นล้าน
Update “ทรัมป์” สั่งตัดGSPไทย 4 หมื่นล้าน
สหรัฐต้องเคารพอธิปไตยไทย แบน3สารพิษเกษตร
ไม่ตอบสนอง ต่างชาติตั้งสหภาพแรงงาน ข้ออ้างสหรัฐฯตัด GSP ไทย
ให้เวลา 6 เดือน ประมงไทยรับมือมะกันตัด GSP
สถานทูตมะกันลั่น ป้อง‘ไกลโฟเซต’เต็มเหนี่ยว
เอกชนชี้ปมสหรัฐตัด GSP ตอบโต้ไทยแบน 3 สารพิษ
"มงคล"ชี้สหรัฐฯตัด GSP ไม่กระทบประมงไทย