ถอดบทเรียน "เพชรบุรี" ปล่อยเปิด "ร้านตัดผม" แค่ 4 วัน

24 เม.ย. 2563 | 10:23 น.

"ความพร้อม" ของผู้ประกอบการ เป็นบทเรียนสำคัญของจังหวัดอื่นๆ หลังจากทำให้ชาวเพชรบุรี มีข่าวดีแค่4วัน นับตั้งแต่ผู้ว่าฯ "ผ่อนปรนมาตรการ" ให้เปิดร้านตัดผม-ร้านเสริมสวย

ถือว่าเป็นข่าวดีได้แค่ 4 วันนิดๆ ของชาวจังหวัดเพชรบุรี หลังจาก “ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี” ลงนามเมื่อ 10 เม.ย. 63 สั่ง เปิดร้านเสริมสวย –ร้านตัดผม ทั้งหญิงและชาย แต่ต้องมีมาตรการป้องกันโรคติดต่อ 5 ข้อ

ถอดบทเรียน \"เพชรบุรี\" ปล่อยเปิด \"ร้านตัดผม\" แค่ 4 วัน

ถอดบทเรียน \"เพชรบุรี\" ปล่อยเปิด \"ร้านตัดผม\" แค่ 4 วัน

 1.จัดให้มีการเว้นระยะห่างทางสังคมของผู้เข้ารับบริการ (Social Distancing) อย่างน้อย 2 เมตร และควบคุมจำนวนคนในร้น หรือสถานที่ มิให้แออัด ลดระยะเวลาการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็นโดยถือหลักการหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน

2.ให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดพื้นผิวและอุปกรณ์เสริมสวย แต่งผมและตัดผม ก่อนและหลังการให้บริการทุกครั้ง และจัดให้มีสบู่หรือเจลล้างมือ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ  3.ผู้ประกอบการ ต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือล้างมือด้วยสบู่ ก่อนหรือหลังการให้บริการทุกครั้ง รวมทั้งมีการคัดกรองอุณหภูมิ ผู้ใช้บริการก่อนเข้ารับบริการ

4. ผู้ใช้บริการต้องล้างมือด้วยสบู่หรือเจลล้างมือทั้งก่อนและหลังรับบริการ และสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาที่รับบริการ  5.ให้กำจัดขยะมูลฝอยในสถานประกอบการทุกวันทั้งนี้ 

หากจังหวัดเพชรบุรีไม่เชื่อมั่นในการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวและมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเพิ่มมากขึ้น จะสั่งปิดเป็นรายๆ ไปผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ  

แต่ต่อมา 15 เม.ย. ผู้ว่าเพชรบุรี ลงนามอีกครั้ง เรื่อง ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 เป็นการชั่วคราว ระบุว่า เนื่องจากสถานการณ์ยังมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด ให้การควบคุมมีมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ และยังไม่มีนโยบายผ่อนคลายจากส่วนกลาง จึงให้ “ปิดร้านเสริมสวยแต่งผมและตัดผม ทั้งชายและหญิง” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2563

"นางวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ได้เปิดเผยว่า จากที่จังหวัดเพชรบุรีมีคำสั่งปิดสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 โดยดำเนินการตามมาตรการป้องกันลดการแพร่ระบาด แต่ให้ยึดหลักต้องเป็นที่พึ่งให้ประชาชน รับฟังทุกข้อคิดเห็นของชาวบ้าน เพื่อป้องกันความเดือดร้อนนั้น ซึ่งกรณีร้านตัดผม, ร้านทำผม ที่ประกาศจังหวัดให้สามารถเปิดดำเนินการได้เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563 จังหวัดเพชรบุรีมีความเป็นห่วงพี่น้องประชาชนในทุกด้าน โดยมีคณะกรรมการโรคติดต่อฯ ดำเนินการตรวจสอบทุกสถานที่เสี่ยงต่างๆ ซึ่งเมื่อได้เข้าตรวจเฝ้าระวังกิจการร้านตัดผม

พบว่ามาตรฐานของร้านสุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด ทั้งจากปัญหาวิถีการให้บริการที่ต้องอยู่ใกล้ชิดกัน อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และอุปกรณ์ที่ใช้ก็ไม่สามารถใช้เฉพาะบุคคล เป็นการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน อีกทั้งช่างตัดผมไม่สามารถใส่หน้ากากอนามัยได้ตลอดเวลา และบางร้านก็ไม่มีผ้าคลุม ขาดหลักสุขอนามัย สุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 คณะกรรมการโรคติดต่อฯ จึงลงมติให้ประกาศปิด หรือหยุดให้บริการอีกครั้ง 

คล้ายๆกับ “ผู้ว่าฯนนทบุรี” 13 เม.ย. ลงนามในคำสั่ง ยกเลิกคำสั่งเริ่มมาตรการผ่อนปรนให้ ร้านทำผม แผงค้าสลาก ร้านขาย-ซ่อมโทรศัพท์มือถือเปิดบริการได้ในวันที่ 15 เมษายน แต่ทว่า 14 เม.ย. ต้องออกคำสั่งใหม่ขอยกเลิกคำสั่ง ผ่อนปรนในช่วงเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง 

ปัจจัยหนึ่งที่ “ฐานเศรษฐกิจ” ตรวจสอบพบปัญหาคือ “ความไม่พร้อม” ของผู้ประกอบการในการจะกลับมาเปิดทำการ 

หลังจากผู้ว่าฯจังหวัดเพชรบุรี  มีคำสั่ง 10 เม.ย. ให้เปิดร้านเสริมสวย-ร้านตัดผมได้ แต่อีกด้านหนึ่งมีเอกสารกำหนดมาตรการที่เข้มงวด ระบุว่า เป็น “แบบสํารวจมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อโรคโควิด 19 ร้านเสริมสวย ทําผม ตัดผม (ทั้งชายและหญิง)” โดยให้ระบุชื่อร้าน สถานที่ตั้ง ตําบล อําเภอ เบอร์โทร รายการตรวจแนะนํา

ถอดบทเรียน \"เพชรบุรี\" ปล่อยเปิด \"ร้านตัดผม\" แค่ 4 วัน

ที่สอบถามถึงมาตรการควบคุมการระบาดภายในร้าน จำนวน 15 ข้อ ว่าร้านของคุณมีมาตรการเหล่านี้หรือไม่

1. มีการแยกระยะนั่งเก้าอี้ ที่นั่ง ม้านั่งรอ 2.มีการวัดอุณหภูมิผู้ใช้บริการ มีสบู่หรือเจลล้างมือให้ผู้ใช้บริการล้างก่อนและหลังทุกครั้ง 3.การทําความสะอาดอุปกรณ์ทําผมตัดผม ก่อนบริการทุกราย 4.ผู้ให้บริการ สวมหน้ากากอนามัย หรือ Face Shield 5.ผู้ให้บริการสวมถุงมือ 

6.ผู้ให้บริการมีการสวมเสื้อคลุมขณะปฏิบัติงาน 7.มีการเปลี่ยนผ้าคลุมผู้ใช้บริการ ทุกราย 8.เมื่อให้บริการเสร็จ มีการทําความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์ทันที 9.มีการกําจัดขยะมูลฝอยภายในร้านทุกวัน  10.แต่ละวันเมื่อจะปิดร้าน มีการฉีดพ่นฆ่าเชื้อทําความสะอาด 

11.ผู้ใช้บริการ สวมหน้ากากอนามัย 12.ผู้ใช้บริการล้างสบู่หรือเจลล้างมือ ทั้งก่อนและหลังบริการ 13.มีการทําบัญชีรายชื่อ และหมายเลขโทรศัพท์ ผู้รับบริการทุกราย 15.อื่นๆ

ซึ่งพบว่าร้านเสริมสวย ร้านตัดผมส่วนใหญ่กรอกแบบสอบถามในช่อง “มีการดำเนินการ” ไม่ครบทุกช่อง จนบางร้านต้องตัดใจไม่เปิดบริการ พร้อมกับสารภาพกับลูกค้าว่า ไม่มีความพร้อมในการดูแลลูกค้า

ถอดบทเรียน \"เพชรบุรี\" ปล่อยเปิด \"ร้านตัดผม\" แค่ 4 วัน

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด19 ของจังหวัดเพชรบุรี ถือว่าอยู่ในกลุ่มผลงานดี “จังหวัดสีส้มอ่อน” คือ เป็นกลุ่มจังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยช่วง 14 วันที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งหมด 35 จังหวัด  ณ วันที่ 24 เม.ย. 

ถอดบทเรียน \"เพชรบุรี\" ปล่อยเปิด \"ร้านตัดผม\" แค่ 4 วัน

นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ที่ปรึกษาด้านวิชาการ รมว.สาธารณสุข ได้อธิบายถึงการ “ผ่อนปรนมาตรการว่า” จะไม่เดินพร้อมกันหมด 77 จังหวัด จะแบ่งเป็นพื้นที่ตามข้อมูลของ สธ. ที่จัดกลุ่มจังหวัด คือ กลุ่ม 32 จังหวัดที่ไม่มีผู้ป่วยในรอบ 2 สัปดาห์ ถือว่ามีการติดเชื้ออยู่ในระดับต่ำ กลุ่มนี้ก็จะเป็นกลุ่มที่สามารถเปลี่ยนผ่านได้ในช่วงต้นเดือน พ.ค. แต่อาจทดลอง 3-4 จังหวัดช่วงปลายเดือน เม.ย.ก่อน ขึ้นกับความพร้อม

ถอดบทเรียน \"เพชรบุรี\" ปล่อยเปิด \"ร้านตัดผม\" แค่ 4 วัน

จากนั้น 2 สัปดาห์ถ้าสถานการณ์เรียบร้อยดี ก็จะเป็นกลุ่ม 38 จังหวัดที่มีการติดเชื้อประปราย คือ กลาง พ.ค. เพราะถึงเวลานั้นจังหวัดเหล่านี้คงมีผู้ป่วยน้อย และจะเป็นกลุ่ม 7 จังหวัดที่มีการติดเชื้อต่อเนื่อง แต่ไม่มีการระบาดใหญ่ ก็จะเป็น 2 สัปดาห์ถัดไป คือ ต้น มิ.ย.

“หากทำแบบนี้ก็เปลี่ยนผ่านแบบระมัดระวัง ไม่ฉับไว ไม่พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดในระลอกที่ 2-3 แบบต่างประเทศ ทำแบบนี้ได้จะเกิดสมดุลเรื่องความปลอดภัย การใช้ชีวิตที่จำเป็น ธุรกิจก็เดินหน้าได้ แต่เราไม่สามารถกลับไปเหมือนเดิมทุกอย่าง ต่อไปเวลาไปตัดผม ไม่ได้นั่งรอกัน อาจโทรศัพท์นัดมา เพราะไม่อยากให้มาต่อกัน หรือไปกินข้าว ก็อาจต้องนั่งแค่จำนวนน้อย และห่างกัน ภาคธุรกิจกำลังดำเนินการ ซึ่งทางสธ.คณะแพทย์ก็เห็นตรงกันว่าน่าจะเดินทางไปในทางนี้” นพ.คำนวณ กล่าว

ขณะที่ นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. ระบุว่า สำหรับกรณีแนวโน้มการคลายล็อกของแต่ละจังหวัด ที่เริ่มมีการประกาศให้สถานประกอบการ หรือสถานที่บางประเภทกลับมาเปิดให้บริการได้ โดยแต่ละจังหวัดสามารถประกาศได้เอง หรือต้องประสานกับทาง ศบค. ก่อน หรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศูนย์ฯ ศบค. จะเป็นผู้ที่ตัดสินใจในระดับสูงสุด และนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก่อนจึงมีการประกาศออกมาเป็นกฎใหญ่ของทั้งประเทศ  

ถอดบทเรียน \"เพชรบุรี\" ปล่อยเปิด \"ร้านตัดผม\" แค่ 4 วัน

ส่วนเรื่องการผ่อนคลายของแต่ละจังหวัด จะเกิดขึ้นตามมาหลังจากนั้น ซึ่งคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่มีเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธาน มีภาคเอกชนเป็นที่ปรึกษา กำลังทำงานกันอยู่ โดยขณะนี้การควบคุมโรคเป็นรูปแบบควบคุมพฤติกรรมของคน ทำให้ระบบของงานต่าง ๆ ถูกกระทบจากการควบคุมคน เกิดผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจตามมา 

ฉะนั้นถ้าจะต้องผ่อนปรนหรือคลายมาตรการต่าง ๆ จะต้องมีการประชุมปรึกษากัน โดยคณะที่ปรึกษาฯ จะนำเสนอให้ ศบค. ตัดสินใจ และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ กิจการกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำได้หรือไม่ได้ก็จะค่อย ๆ ทยอยแจ้งออกมา สิ่งต่าง ๆ จะถูกคิดตรองอย่างรอบด้าน เมื่อออกมาแล้วคนส่วนใหญ่ต้องเห็นด้วย มาตรการทั้งหลายต้องไม่กระทบต่อการแพร่ระบาดของโรค เพราะจะให้เกิดการแพร่รอบ 2 หรือรอบ 3 ตามมาอีกไม่ได้  

“เนื่องจากจะเกิดการสูญเสียทั้งเรื่องของการเจ็บไข้ได้ป่วย เสียชีวิต รวมถึงงบประมาณ แม้ตอนนี้การเสียเงินเรื่องของการรักษาลดลง แต่ก็ยังมีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ จึงต้องมีการตัดสินใจร่วมกันอย่างรอบคอบ”