พม.เร่งช่วยเหลือ"กลุ่มเปราะบาง"

14 มิ.ย. 2563 | 07:57 น.

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เดินหน้าช่วยเหลือเยียวยา"กลุ่มเปราะบาง" ทั้งคนพิการ - ผู้สูงอายุ และเด็กแรกเกิด ยืนยันจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

แม้เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง 3,000 บาทจะยังไม่ได้ข้อสรุปแน่ชัดว่าจะจ่ายวันไหน และมีเงื่อนไขอะไรบ้างนั้น แต่มีการคาดการณ์ว่าในวันอังคารที่ 16 มิถุนายน จะมีการนำเข้าที่ประชุมครม.หลังจากนั้นเมื่อได้ข้อสรุป ทางกระทรวงการคลังและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จะมีการประกาศความคืบหน้าต่อไป 


ส่วนที่เดินหน้าต่อไป โดยไม่รอเงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง 3,000 บาท คือกิจกรรมจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  “ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน พม. จะตามไปเยี่ยม” ภายใต้โครงการ "พม. เราไม่ทิ้งกัน" 


กิจกรรมดังกล่าวเริ่มคิก-ออฟ ตั้งแต่ 3 มิถุนายน และล่าสุดวันที่ 14 มิถุนายน เวลา เวลา 09.30 น. นายปรเมธี วิมลศิริ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงานกรุงเทพมหานคร และชมรมหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน สถาบันพระปกเกล้า ลงพื้นที่ ณ ชุมชนบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เพื่อพบปะเยี่ยมให้กำลังใจและช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาความยากลำบากจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19)  

พม.เร่งช่วยเหลือ\"กลุ่มเปราะบาง\"
สำหรับ ชุมชนบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เป็นชุมชนที่ไม่ได้จดทะเบียนกับกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 177 ครอบครัว ประมาณ 443 คน โดยพบว่ามีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย คนพิการ 8 คน ผู้สูงอายุ  35 คน และเด็ก 70 คน นอกจากนี้ยังมีคนว่างงาน 46 คน
 

นายปรเมธี กล่าวว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และทั่วประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตั้งแต่เด็กแรกเกิด เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูง


"การลงพื้นที่ในวันนี้ได้รับฟังปัญหาและความต้องการของชุมชน พร้อมทั้งหารือร่วมกันถึงแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนต่อไป เนื่องจากเป็นชุมชนที่ไม่ได้จดทะเบียนกับกรุงเทพมหานคร ทำให้ไม่มีหน่วยงานเป็นเจ้าภาพในการดูแล ส่งผลให้ชุมชนเข้าถึงบริการและสวัสดิการสังคมจากภาครัฐไม่ทั่วถึง"

พม.เร่งช่วยเหลือ\"กลุ่มเปราะบาง\"
นอกจากนี้ยังได้มอบเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นและนมกล่องสำหรับเด็ก อาหารสำหรับผู้สูงอายุ รวมทั้งมอบถุงยังชีพ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า อีกทั้งได้มอบอุปกรณ์กีฬาให้กับเด็กและเยาวชนในชุมชน และมีการออกบูธจัดหาตำแหน่งงานว่างมาให้ประชาชนชนในชุมชนที่ว่างงานได้สมัครเพื่อให้มีอาชีพมีรายได้ต่อไป
 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง เกาะติด "เยียวยากลุ่มเปราะบาง" เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ รับเงิน 3,000บาท

เงินเยียวยา "กลุ่มเปราะบาง"เข้าวันไหน เช็กที่นี่ที่เดียว

ไขข้อข้องใจเงิน "เยียวยากลุ่มเปราะบาง" เมื่อไหร่จะได้

หลังจากนั้นในช่วง  11.15 น. ณ  นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมด้วย นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่พบปะเพื่อเยี่ยมให้กำลังใจและติดตามความเป็นอยู่ครอบครัวคนหูหนวก 10 ครอบครัว ที่ย้ายมาอยู่ “บ้านใหม่” ณ โครงการบ้านเอื้ออาทร ลาดหลุมแก้ว 2 จ.ปทุมธานี 


นายจุติ กล่าวว่า กระทรวงฯพร้อมดูแลพี่น้องประชาชน โดยจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เมื่อเจอกลุ่มเปราะบาง ก็จะพร้อมเข้าไปช่วยเหลือ เพื่อให้ได้ย้ายมายังที่อยู่อาศัยใหม่ที่มีความสุขและมีสุขอนามัยที่ดี ทั้งหมดนี้ทุกคนตั้งใจทำงานถวายพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระดำรัสแก่นายกรัฐมนตรีที่ไม่อยากให้ประชาชนลำบาก ซึ่งกระทรวง พม. ก็ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ 

พม.เร่งช่วยเหลือ\"กลุ่มเปราะบาง\"
เดิมทีครอบครัวคนหูหนวกทั้ง 10 ครอบครัวอาศัยใน “ชุมชนคนหูหนวก” ริมถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กทม. ซึ่งกระทรวงฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความช่วยเหลือจัดหาบ้านใหม่ พร้อมกันนี้ยังมอบแนวทางช่วยเหลือและส่งเสริมศักยภาพคนหูหนวกและครอบครัว ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมอาชีพ อาทิ การฝึกอาชีพช่างซ่อมแอร์ ฝึกอาชีพซักอบรีด ฝึกทำขนมปัง การส่งเสริมสิทธิสวัสดิการที่ควรได้รับ จัดหาโรงเรียนใกล้บ้านสำหรับเด็กวัยศึกษา การติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อความปลอดภัย การติดตั้งป้ายสัญญาณเตือนภัย และการให้บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบสนทนาวิดีโอผ่านเครื่องบริการถ่ายทอดการสื่อสารสาธารณะ (ตู้ TTRS)


ทั้งนี้ ได้ยกให้ชุมชนคนหูหนวก เป็นชุมชนต้นแบบในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างยั่งยืนต่อไป

พม.เร่งช่วยเหลือ\"กลุ่มเปราะบาง\"
นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำงานของกระทรวงฯโดยให้ข้าราชการระดับสูงได้ลงพื้นที่เองและได้เห็นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน สามารถตัดสินใจช่วยได้ทันที ลดขั้นตอนของระเบียบราชการ ทั้งนี้แก้เพื่อแก้ปัญหาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ นอกจากนั้่นแล้วยังได้หลายหน่วยงานที่มาช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นกระทรวงแรงงาน,กระทรวงสาธารณสุข,กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ,กระทรวงมหาดไทย ,กระทรวงศึกษาธิการ ,กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม 


"วันนี้ที่ได้ลงพื้นที่ติดตามความเป็นอยู่ครอบครัวคนหูหนวก 10 ครอบครัว ส่วนครอบครัวที่เหลือที่ยังไม่ย้ายมา ทางกลุ่มที่ย้ายมาแล้วจะได้ชักชวนให้มาอยู่ด้วยกัน ก็คาดหวังว่าจะเป็นชุมชนต้นแบบ และเราหวังว่านี่จะเป็นจุดเริ่มต้นของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการดูแลกลุ่มเปราะบางเฉพาะ"