"บัตรคนจน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" คลังฯ เผยเดือน ก.ค เงินโอนเข้า 3,000 บาท รอรับได้เลย

18 มิ.ย. 2563 | 06:30 น.

"บัตรคนจน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" คลังฯ เผยเดือน ก.ค.เงินโอนเข้า 3,000 บาท โดยไม่ต้องลงทะเบียนรอรับได้เลย

"บัตรคนจน" หรือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือเยียวยาจากโครงการของภาครัฐ ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลังจากเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ อนุมัติเงินช่วยเหลือเยียวยา คนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน รวมเป็นเงิน 3,000 บาท ซึ่งจะได้รับตั้งแต่พฤษภาคม-กรกฎาคม 2563 (สิทธิ์ในเดือนพฤษภาคม รัฐบาลจะทำการจ่ายย้อนหลัง) โดยไม่ต้องลงทะเบียนแต่อย่างใด 
 

ส่วนผู้ที่ได้รับ เงินเยียวยา 3,000 บาท จะต้องไม่เคยได้รับสิทธิ์ช่วยเหลือเยียวยาจากโครงการอื่นของรัฐ (ผู้ที่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท จะไม่ได้รับสิทธิ์ในโครงการนี้)
แล้ว "บัตรคนจน" เริ่มจ่ายได้วันไหนนั้น "ฐานเศรษฐกิจ" มีคำตอบดังนี้


1.กระทรวงการคลัง จ่ายเดือนละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (พฤษภาคม-กรกฎาคม 2563) รวมเป็นเงิน 3,000 บาท 
2. เริ่มจ่ายได้ในเดือนกรกฎาคม2563นี้

ส่วนเงื่อนไขการรับเงินเยียวยาของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

สำหรับผู้มี บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ผ่านการตรวจสอบความซ้ำซ้อน หากได้รับสิทธิ์แล้ว ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากรัฐบาลจะจ่ายเงินเยียวยาผ่านเข้าทาง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน
กระทรวงการคลังรายงานว่า สำหรับกลุ่มเป้าหมาย ของโครงการฯ ได้ผ่านการตรวจสอบความซ้ำซ้อนกับกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดแล้ว โดยปัจจุบันผู้ถือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ยังมีชีวิตอยู่มีจํานวนทั้งสิ้น 13.4  ล้านคน ดังนี้
 

อ่านข่าวที่เกีี่ยวข้อง

“ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” รู้ยัง รับเงินเยียวยา 3,000 บาทอัตโนมัติ ไม่ต้องลงทะเบียน

"บัตรคนจน" บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 1,000 บาท เงินเข้าวันไหน

“ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” รู้ยัง รับเงินเยียวยา 3,000 บาทอัตโนมัติ ไม่ต้องลงทะเบียน

1. ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการ ช่วยเหลือเยียวยาของกระทรวงการคลังแล้ว 5.69 ล้านคน (สัดส่วน 41%) 
 2. ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการช่วยเหลือเยียวยาของกระทรวงเกษตรฯ แล้ว 3.54  ล้านคน (สัดส่วน 25%) 
3. ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการช่วยเหลือเยียวยาของกระทรวงพัฒนาสังคมฯ แล้ว 2.1 ล้านคน (สัดส่วน 16% )
4. เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม 0.76 ล้านคน (สัดส่วน 6%)
5. ไม่ผ่านเกณฑ์การคัดกรอง 0.5 ล้านคน (สัดส่วน 4% )


ส่วนที่เหลือ จํานวน 1.16  ล้านคน เป็นกลุ่มผู้ที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ จากภาครัฐ เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพ