ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan ระบุว่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"วัคซีน โควิด-19" หรือ การพัฒนายาใหม่
ข่าวดี "จุฬาฯ" ลุยทดลอง"วัคซีนโควิด" กับมนุษย์
เผย 7 ราย ยื่น อย.ทดสอบ วัคซีนโควิด-19
วัคซีนโควิด-19
วัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ที่แจ้งมาอยู่ในบัญชีขององค์การอนามัยโลก กลางเดือนกรกฎาคม และอยู่ในการทดลองในมนุษย์แล้ว มีถึง 23 ตัว และอยู่ระหว่างการทดสอบระยะที่ 3 มี 2 ชนิด เป็นของจีน Sinovac และของ Oxford ร่วมกับ AstraZeneca และที่เหลือส่วนใหญ่จะเป็น การทดสอบระยะที่ 1 และระยะที่ 2 มีของจีน CanSino Biological/Beijing Biological Institue of Biotechnology และของอเมริกา Modera/NIAID ที่มีการเผยแพร่ในวารสารแล้ว และยังมีหลายชนิดที่ทดลองในคน
ส่วนวัคซีนที่อยู่ระหว่างการทดลองในสัตว์ และแจ้งไปยังองค์การอนามัยโลก มีทั้งหมด 140 ชนิด ใน 140 ชนิด มีของประเทศไทย อยู่ 4 ชนิด เป็นของจุฬาฯ 2 ชนิด ภาคเอกชน Bionet Asia 1 ชนิด และมหิดลร่วมกับองค์การเภสัช อีกหนึ่งชนิด จะเห็นได้ว่า ทั่วโลก กำลังพยายามที่จะเอาชนะ โควิด-19 การศึกษาในระยะที่ 3 จะต้องใช้ประชากรกลุ่มใหญ่ และจะให้ได้ผลถึงประสิทธิภาพในการป้องกันโรคจะต้องทำการศึกษาในประเทศที่เป็นแหล่งระบาดของโรคสูง โดยแบ่งกลุ่มให้วัคซีน และให้ยาหลอกหรือวัคซีนที่ไม่ใช่โควิด แล้วติดตามการเกิดโรค
ด้วยเหตุนี้ประเทศที่ไม่มีการระบาดของโรค เช่นประเทศจีน ประเทศไทย จะมีอุปสรรคในการทดลองในประเทศ จำจะต้องไปทำการศึกษานอกประเทศที่มีการระบาดของโรค
และต่อมาถ้ามีวัคซีนตัวใดมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคแล้ว
วัคซีนตัวอื่นที่จะพัฒนาต่อไป ในการศึกษาระยะที่ 3 จะไม่สามารถแบ่งกลุ่มให้วัคซีนกับยาหลอกได้แล้ว จะต้องใช้วัคซีนที่ผลิตขึ้นมา เปรียบเทียบกับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ
ถ้าไม่เช่นนั้นจะผิดจริยธรรม ผลของวัคซีนที่ผลิตใหม่ จะต้องได้เท่าเทียมกับวัคซีนที่มีอยู่แล้ว หรือดีกว่า