วันที่ 27 สิงหาคม 2563 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่าโควิด 19 การติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2
มีข้อมูลการติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 จากฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และเบลเยียม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ยอดโควิดวันนี้ 27 ส.ค.63 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย มาจาก “อินเดีย”
อ่วม! ทั่วโลกติดโควิด-19 ทะลุ 24.3 ล้านราย เสียชีวิตเพิ่มกว่า 6 พันราย
ผู้ว่าฯกรุงจาการ์ตาเตรียมไฟเขียวเปิดโรงภาพยนตร์ท่ามกลางโควิด
รัฐวิกตอเรีย ออสเตรเลีย จ่อขยายภาวะฉุกเฉินคุมโควิดอีก 1 ปี
การติดเชื้อที่ฮ่องกง แสดงได้ชัดเจนว่าการติดเชื้อครั้งแรก เป็นสายพันธุ์ V
การติดเชื้อครั้งที่ 2 เป็นสายพันธุ์ G คนละสายพันธุ์กับครั้งแรก
การติดเชื้อห่างกัน 4 เดือนครึ่ง
ในการติดเชื้อครั้งแรก มีการตรวจวัดภูมิต้านทาน ไม่สามารถตรวจพบภูมิต้านทานในช่วง 10 วันแรกของการติดเชื้อครั้งแรก
มาตรวจอีกครั้งหนึ่งใน 3 วันแรก ของการติดเชื้อครั้งที่ 2 ก็ยังไม่พบภูมิต้านทาน ภูมิต้านทานเริ่มเกิดขึ้นหลังวันที่ 5 ไปแล้ว ของการติดเชื้อครั้งที่ 2
อย่างไรก็ตามทั้ง 3 รายที่ติดเชื้อในประเทศต่างๆซ้ำครั้งที่ 2 มีอาการไม่รุนแรง
ไวรัสโคโรน่าที่พบในโรคทางเดินหายใจตัวอื่น ภูมิต้านทานเกิดขึ้นไม่ได้อยู่ยาวนาน ก็พบว่าเป็นแล้วเป็นซ้ำได้อีก
ภูมิต้านทานของ โควิด 19 จากการศึกษาของศูนย์ไวรัส ในผู้ที่ติดเชื้อแล้ว หลัง 4 สัปดาห์ ตรวจไม่พบประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการน้อย ภูมิต้านทานจะสูง ในผู้ที่มีอาการมากหรือมีปอดบวม
การกลับมาติดเชื้อซ้ำไหม จึงมีความเป็นไปได้ โดยเฉพาะผู้ที่ติดเชื้อแล้วมีภูมิต้านทานต่ำ หรือตรวจไม่พบภูมิต้านทานเกิดขึ้น
ในการกลับมาเป็นซ้ำใหม่ ถ้ามีอาการน้อย หรือเป็นเพียงแค่หวัดก็น่าจะยอมรับได้ แต่ที่สำคัญจะเป็นผู้แพร่กระจายเชื้อ
ยังต้องมีการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดมากกว่านี้
ข้อมูลดังกล่าว จะมีผล ต่อการศึกษาในบทบาทของวัคซีนในการป้องกันโรค
การศึกษาระบบภูมิต้านทาน และการคงอยู่ของระบบภูมิต้านทานของ โควิด 19 จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการป้องกันโรคด้วยวัคซีนที่จะมีมาในอนาคต