ในยุคที่คนไทยต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลง ด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามาดิสรัป พร้อมๆ กับวิกฤติโควิด -19 ที่เขามาทำลายสภาพเศรษฐกิจจนแทบไม่เหลือชิ้นดี คนที่รู้จักปรับตัวเท่านั้น จึงจะอยู่รอด และถ้าจะให้รอดแน่ๆ ก็ต้องปรับตัวได้เร็ว พร้อมปรับตัวตลอดเวลา ซึ่งนี่คือ คุณสมบัติของ “นายแพทย์ ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร” กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม โรงพยาบาลสมิติเวช และ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
วิชั่นของซีอีโอท่านนี้ คือ การเป็น Organization of value เพื่อเป็น Man of Value หรือ องค์กรที่มีคุณค่า ไม่ใช่แค่องค์กรที่ เป็น Man of value
การสร้างโรงพยาบาลทั้งสมิติเวชและบีเอ็นเอช ให้เป็นโรงพยาบาลที่มีคุณค่า ต้องการเกดจากความร่วมมือของทุกๆ ฝ่าย ซีอีโอคนเดียวไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้สำเร็จ “นายแพทย์ ชัยรัตน์" ในงานสัมมนาหลักสูตร Digital Transformation For CEO #2 ในหัวข้อ “Hospital Digitalization: เทคโนโลยียุคดิจิทัล ฝ่าวิกฤตโควิด-19” ว่า การเปลี่ยนแแปลงต้องเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ร่วมคิดด้วย
"การเงินจะต้องไดนามิกตลอดเวลา หมุนเปลี่ยนตามสภาพการณ์ในโลก ระบบความคิดจะต้องปรับเปลี่ยน ต้องใช่ดาต้า เอไอ แมชชีนเลิร์นนิ่งเข้ามาทำข้อมูลในการคิดและตัดสินใจ"
ที่สำคัญคือ คน ต้องพร้อมปรับเปลี่ยนตลอดเวลา...จากจำนวนบุคลากรในเครือกว่า 5,000 คน การจะเปลี่ยนไม่ใช่เรื่องง่าย วิธีการของซีอีโอ คือ การโยนหินถามทาง คัดบุคลากรด้วยการให้คิดค้นอินโนเวชั่น ทำให้พบว่า 20% พร้อมเปลี่ยน 80% ไม่พร้อม
หลังจากนั้น จึงจัดวางกำลังคนที่พร้อมเปลี่ยน ให้ทำในสิ่งที่เปลี่ยน เป็น Innovation Team และคนที่ไม่พร้อมเปลี่ยน ทำในสิ่งที่ไม่เปลี่ยน เป็นฝ่ายให้บริการ ขณะเดียวกัน ก็อัพสกิล สร้างคุณค่าในการทำงานให้กับคนกลุ่มนี้ ด้วยการทำหน้าที่แนะนำ ให้ความรู้แก่ผู้รับบริการ สามารถดูแลสุขภาพตนเองก่อนจะป่วย สร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้บริการ ซึ่งนั่นคือวิธีการสร้างคุณค่าให้กับโรงพยาบาล ทำให้โรงพยาบาลสมิติเวชและบีเอ็นเอช กลายเป็นตัวเลือกแรกที่นึกถึงเวลาไม่สบาย
“นายแพทย์ ชัยรัตน์" พูดถึงการ Disruption แท้ที่จริง คือ Construction หรือการก่อสร้าง ซึ่งต้องทำในขณะที่องค์กรแข็งแรงที่สุด ดังนั้น เครือสมิติเวชและบีเอ็นเอช จึงมีการทรายสฟอร์มปรับโครงสร้างภายในมาตั้งแต่กว่า 3 ปีที่แล้ว เมื่อปรับภายในองค์กรแล้ว ก็ต้องมองภาพของอุตสาหกรรมโดยรวม ว่าเขาปรับกันไปในทิศทางไหน
แนวคิดของ ซีอีโอท่านนี้ คืออการเตรียมพร้อมตลอดเวลา โดยต้อง "บุก รุก และรับ" ไปพร้อมๆ กัน ภายใต้สูตร “4 ป้อง 1 ฉวย” ได้แก่ คือ ป้องคน (พนักงาน) ป้องครอบครัว (องค์กร) ป้องเงิน ป้องงาน และค่อย 1 ฉวย
การปรับเปลี่ยนองค์กร ไม่ใช่เรื่องของ Fashion แต่เป็นเรื่องของ Passion ทรานสฟอร์เมชั่นไม่สามารถเกิดขึ้นได้บนกองขยะ ต้องมีการคิดค้น นิ่ง มีสมาธิ การปรับเปลี่ยนนั้นจึงจะพาไปสู่ความสำเร็จ
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 หน้า 24 ฉบับที่ 3,606 วันที่ 3-5 กันยายน พ.ศ. 2563