สำหรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ ทางกรมบัญชีกลางภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง จะโอนเงินให้กับผู้สูงอายุและคนพิการ ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน แต่ปรากฏว่าในวันที่ 10 ต.ค. เป็นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทางกรมบัญชีกลางจึงได้เลื่อนโอนเงินให้ในวันศุกร์ที่ 9 ต.ค.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
เลื่อนจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ-ความพิการ
คลังแจง อปท.ไม่มีงบจ่ายเบี้ยยังชีพคนแก่ -ผู้พิการ
เช็กด่วน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ -ความพิการ เงินเข้าบัญชีวันนี้
สำหรับวิธีตรวจสอบ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ ประจำเดือนตุลาคม สามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยมีรายละเอียดตามขั้นตอนต่อไปนี้ หรือ สอบถามข้อมูลโดยตรงติดต่อได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง 02 270 6400 ในวัน เวลาทำการ
วิธีตรวจสอบสิทธิ์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ ในเดือนตุลาคม
กรมบัญชีกลาง พร้อมในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณสำหรับการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการของเทศบาลเมืองและเทศบาลนครที่เป็นหน่วยงานรับงบประมาณโดยตรง ทั้งนี้ ขอเน้นย้ำให้ สถ. ตรวจสอบงบประมาณให้ครอบคลุมจำนวนผู้มีสิทธิ และสอดคล้องกับปฏิทินการจ่ายฯ เพื่อให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินครบถ้วนตามกำหนดเวลา นอกจากนี้ทางโฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเงินเบี้ยความพิการ ในเดือนถัดไป ยังคงจ่ายในวันที่ 10 ตามระยะเวลาเดิม ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง 02 270 6400 ในวัน เวลาทำการ
ผู้มีสิทธิ์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
คุณสมบัติผู้มีสิทธิ
- มีสัญชาติไทย
- อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 หรือผู้ที่ได้รับสวัสดิการอื่นตามมติคณะรัฐมนตรี
เอกสารหลักฐาน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ทะเบียนบ้าน
- สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนา กรณีขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร (รายชื่อธนาคารขึ้นอยู่กับดำเนินการของแต่ละพื้นที่ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง)
- เอกสารหลักฐานเพิ่มเติม (กรณีผู้สูงอายุไม่สะดวกดำเนินการด้วยตนเอง)
- หนังสือมอบอำนาจ(แบบฟอร์มมอบอำนาจขึ้นอยู่กับการดำเนินการของแต่ละพื้นที่ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
- การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (จ่ายทุกวันที่ 10 ของเดือนหากเดือนใดวันที่ 10 ตรงกับวันหยุดราชการจะจ่ายในวันทำการก่อนวันหยุดนั้น) จ่ายเป็นรายเดือนแบบขั้นบันได ดังนี้
- ผู้สูงอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท
- ผู้สูงอายุ 70-79 ปี จะได้รับ 700 บาท
- ผู้สูงอายุ 80-89 ปี จะได้รับ 800 บาท
- ผู้สูงอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท
สถานที่ลงทะเบียน
- กทม. ติดต่อที่สำนักงานเขตที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
- ต่างจังหวัด ติดต่อที่องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ เทศบาล ที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
การสิ้นสุดการได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
- ถึงแก่กรรม
- ขาดคุณสมบัติ
- แจ้งสละสิทธิการขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นลายลักษณ์อักษร
สิทธิ์เบี้ยความพิการ
เบี้ยความพิการ – คนพิการทุกคนที่มีสมุด/บัตรประจำตัวคนพิการมีสิทธิลงทะเบียนขอรับ เบี้ยความพิการ คนละ 500 บาท/เดือนได้ ซึ่งแต่เดิม เฉพาะคนพิการที่ไม่มีรายได้เท่านั้น จึงจะมีสิทธิได้รับ เบี้ยยังฃีพ เดือนละ 500 บาท นอกจากนั้น คนพิการที่สูงอายุ หรืออายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับทั้ง เบี้ยความพิการ และ เบี้ยผู้สูงอายุ รวมเดือนละ 1,000 บาท
- ผู้มีสิทธิที่มีข้อมูลจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 1,898,357 ราย
- คนพิการที่ลงทะเบียนในกรุงเทพมหานคร 87,359 ราย
- คนพิการที่ลงทะเบียนในเมืองพัทยา 1,286 ราย
- สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ www.dep.go.th หรือโทร 0-2354-3388 ต่อ 307
รายละเอียดจดทะเบียนคนพิการ
- คนพิการที่ประสงค์จะจดทะเบียนคนพิการ เพื่อนำ “ สมุดประจำตัวคนพิการ ” ไปขอรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตาม พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ต้องดำเนินการ ดังนี้
สถานที่จดทะเบียนคนพิการ
- สำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กรมประชาสงเคราะห์ ถนนกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 628 2518 – 9
- สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดที่ศาลากลางจังหวัด ซึ่งเป็นภูมิลำเนา หรือจังหวัดที่คนพิการอาศัยอยู่
เอกสารที่จำเป็น
- เอกสารที่คนพิการต้องนำไปยื่นที่สถานที่จดทะเบียน ได้แก่เอกสารรับรองความพิการ – ขอได้จากสถานพยาบาลของรัฐ เช่น สถานีอนามัย โรงพยาบาลประจำอำเภอ โรงพยาบาลประจำจังหวัด และโรงพยาบาลจิตเวช เป็นต้น
- ต้นฉบับ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวต่างด้าว หรือเอกสารอื่นที่ราชการออกให้ ในกรณีเป็นเด็กที่ยังไม่มีบัตรประจำตัว ให้ใช้ใบสูติบัตรแทน
- ต้นฉบับ และสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
การจดทะเบียนแทน
- ถ้าคนพิการไม่สามารถไปจดทะเบียนด้วยตนเอง ให้มอบผู้อื่นไปจดทะเบียนแทน โดยผู้จดทะเบียนแทน ต้องนำเอกสารสำหรับต่อไปนี้ไปสถานที่จดทะเบียน
- เอกสารสำหรับจดทะเบียนของคนพิการในข้อ 2 ทั้งหมด
- เอกสารของผู้จดทะเบียนแทน ได้แก่ต้นฉบับ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวต่างด้าว หรือเอกสารอื่นที่ราชการออกให้
- ต้นฉบับ และสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ
- ใบมอบอำนาจจากคนพิการ หรือหนังสือรับรองจากทางราชการ ซึ่งขอได้จากผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และนายอำเภอ เป็นต้น
- คำสั่งศาลในกรณีที่ศาลสั่งให้คนพิการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือไร้ความสามารถ
- คำสั่งศาลเรื่องการจัดตั้งผู้ปกครองคนพิการ ในกรณีที่คนพิการไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองคนพิการ
- สมุดประจำตัวคนพิการ – คนพิการที่จดทะเบียนแล้ว จะได้รับสมุดประจำตัวคนพิการ ซึ่งต้องนำไปแสดงเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ อนึ่ง สมุดประจำตัวคนพิการมีอายุ 5 ปี เมื่อหมดกำหนดต้องไปจดทะเบียนใหม่ ถ้าสมุดประจำตัวคนพิการสูญหาย ให้แจ้งความที่สถานีตำรวจ และนำใบแจ้งความไปขอยื่นจดทะเบียนใหม่